บ้านดินรักษ์โลก  :   5 In 1 (วิจัย การเรียน บริการวิชาการ ทำนุบำรุง และค่ายอาสาพัฒนา)


เกิดกระบวนการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ที่มุ่งเน้นผู้เรียน (Learner-centered) ใช้ชุมชนเป็นห้องเรียน (Community-based learning) และเรียนรู้ผ่านกิจกรรม หรือการลงมือทำ ( Project base learning & Activity Based Learning) ตามหลักคิดของการเรียนรู้คู่บริการแบบมีส่วนร่วมระหว่างมหาวิทยาลัยกับชุมชน

ภาพรวมการขับเคลื่อน

การศึกษาวิจัยประเด็น “บ้านดินรักษ์โลก” ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ ถูกนำมาต่อยอดในโครงการหนึ่งหลักสูตรหนึ่งชุมชน หรือการบริการวิชาการแก่สังคมผ่านกิจกรรมหลัก คือการสร้าง “อาคารดิน” (บ้านดิน) ต่อเนื่องอย่างน้อย 3 ปี อันเป็นส่วนหนึ่งของงานวิชาการเพื่อสังคม กล่าวคือ

  • โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการสร้างอาคารดินอบสมุนไพรเพื่อความยั่งยืนของชุมชนบ้านท่าขอนยาง (ต.ท่าขอนยาง อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม)
  • โครงการพัฒนาอาคารดินสำหรับใช้เป็นสถานบำบัดผู้ป่วยในชุมชน ณ พุทธสถานสวนธรรมโชติปัญญาราม ต.เขาพระนอน อ.ยางตลาด จ.กาฬสินธุ์
  • โครงการพัฒนาอาคารดินสำหรับเป็นกุฏิกรรมาฐานของพระสงฆ์/สถานที่ สำนักสงฆ์พุทธโธภควา บ้านมาบกราด ต.โคกพระชาย อ.ครบุรี จ.นครราชสีมา

ภาพรวมวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการขับเคลื่อนเรื่องบ้านดินประกอบด้วยวัตถุประสงค์หลักสำคัญๆ 3 ประการ คือ (1) พัฒนาบ้านดินโดยใช้วัสดุในท้องถิ่น (2) ศึกษาความเป็นไปได้ในการนำวัสดุทางชีวภาพสำหรับใช้เป็นส่วนผสมในการก่อสร้างอาคาร (3) สร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชนภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงและความยั่งยืนโดยใช้วัสดุชีวภาพ




บ้านดิน : ชุมชนท่าขอนยาง (มหาสารคาม)



บ้านดิน : พุทธสถานสวนธรรมโชติปัญญาราม (กาฬสินธุ์)



ภาพรวมของกิจกรรม

การเรียนรู้คู่บริการผ่านกิจกรรมการสร้างอาคารดิน มุ่งขับเคลื่อนอย่างมีส่วนร่วมระหว่าง “มหาวิทยาลัยกับชุมชน” ผสมผสานระหว่างภูมิปัญญาท้องถิ่นกับเทคโนโลยีใหม่ๆ จากมหาวิทยาลัย มีกระบวนการพัฒนาโจทย์อันเป็น “ความต้องการของชุมชมชน” อย่างจริงจัง เพื่อวางฐานรากการมีส่วนร่วมของชุมชนและภาคีของชุมชนตั้งแต่ต้นให้ได้มากที่สุดอันเป็นกระบวนการหนึ่งในแนวทางของการศึกษาเพื่อรับใช้สังคม

การสร้างอาคารดินที่ชุมชนท่าขอนยางนั้น ตอบโจทย์ความต้องการของชุมชน เนื่องเพราะอดีตเมื่อ 20 ปีที่ผ่านมาชุมชนเคยมีอาคารอบสมุนไพรมาก่อน เป็นอาคารที่มุงหลังคาและกั้นผนังอาคารด้วยสังกะสี เมื่อชาวบ้านประสงค์จะอบสมุนไพรก็จะขนท่อนฟืนมาเป็นเชื้อเพลิงเอง

ส่วนกรณีบ้านดินบำบัดผู้ป่วยนั้น เป็นความต้องการของชุมชนที่ต้องการสร้างทางเลือกของการบำบัดผู้ป่วยในสถานปฏิบัติธรรม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยที่ยากจน ไร้ที่พักพิง




บ้านดิน : สำนักสงฆ์พุทธโธภควา (นครราชสีมา)

กระบวนการขับเคลื่อนเรื่องบ้านดิน ไม่ใช่กระบวนการขับเคลื่อนเชิงเดี่ยว หรือแยกส่วน แต่มีกิจกรรมบูรณาการหลากหลาย เช่น

  • เรียนรู้ประวัติศาสตร์ หรือบริบทท้องถิ่น (Local Context)
  • สืบค้นภูมิปัญญาเกี่ยวกับการจัดทำอิฐดิน และบ้านดิน
  • สืบค้นภูมิปัญญาที่เกี่ยวกับการสร้างอาคารและที่พักด้วยวัสดุธรรมชาติ หรือการลดพลังงาน
  • ประติมากรรมภาพนูนต่ำบนอาคารดินเพื่อบันทึกประวัติศาสตร์ชุมชน
  • การสร้าบ้านดินอบสมุนไพร และการอบและนึ่งสมุนไพรด้วยหม้อไอน้ำ
  • การสร้างบ้านดินบำบัดผู้ป่วยและฉาบผนังยางพารา

ภาพรวมการดำเนินการเป็นการขับเคลื่อนร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัย (อาจารย์ นิสิต) กับชุมชน ที่ประกอบด้วยปราชญ์ชาวบ้านและแกนนำชาวบ้าน ตลอดจนผู้ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ รวมถึงการทำงานในแบบ “ข้ามศาสตร์” อันหมายถึงการทำงานแบบบูรณาการร่วมกันระหว่าง “หลักสูตรต่างๆ ในคณะวิศวกรรมศาสตร์” และระหว่าง “คณะวิศวกรรมศาสตร์กับคณะศิลปกรรมศาสตร์” ที่เกี่ยวกับการปั้นรูป (ประติมากรรม) บนผนังอาคารบ้านดิน




การเกิดประโยชน์ร่วมกันแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย

1.ระดับมหาวิทยาลัย

1.1 เกิดการบูรณาการงานวิจัยกับการเรียนการสอนในรายวิชาต่างๆ เช่น รายวิชาการอนุรักษ์และจัดการพลังงาน 0303341 (Energy Conservation Management)

1.2 เกิดการเรียนการสอนควบคู่การวิจัยในชั้นเรียนของนิสิต

  • การศึกษาผลของหลังคาสีเขียวที่มีต่อความร้อนภายในอาคารของบ้านดิน
  • การทดสอบอิฐดินดิบผสมชันยาเรือ
  • การประยุกต์ใช้ชีวมวลเป็นวัสดุทางเลือกสำหรับการก่อสร้างหลักนำทาง
  • การรักษาสภาพบรรยากาศของบ้านดินและบ้านคอนกรีตบล็อก

1.3 เกิดกระบวนการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ที่มุ่งเน้นผู้เรียน (Learner-centered) ใช้ชุมชนเป็นห้องเรียน (Community-based learning) และเรียนรู้ผ่านกิจกรรม หรือการลงมือทำ ( Project base learning & Activity Based Learning) ตามหลักคิดของการเรียนรู้คู่บริการแบบมีส่วนร่วมระหว่างมหาวิทยาลัยกับชุมชน

1.4 เกิดพื้นที่การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมระหว่างมหาวิทยาลัยกับชุมชน และชุมชนเป็นสถานที่ปฎิบัติการทางวิชาชีพร่วมกับมหาวิทยาลัย ทั้งในมิติการเรียนการสอน การวิจัย การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

1.5 เกิดพื้นที่การบริการสังคมผ่านกิจกรรมนอกชั้นเรียนของนิสิต (ค่ายอาสาพัฒนา) โดยสโมสรนิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ และชมรมถนนผู้สร้าง



2.ระดับชุมชน

2.1 ชุมชนเกิดองค์ความรู้ใหม่เกี่ยวกับการสร้างบ้านดิน เช่น การวิจัยเนื้อดินและองค์ประกอบของดินที่เหมาะสมต่อการทำบ้านดินในแต่ละพื้นที่

2.2 ชุมชนเกิดกระบวนการทบทวนทุนทางสังคมที่เกี่ยวกับการสร้างบ้านดิน หรือการลดพลังงานโลกร้อน

2.3 ชุมชนเกิดกระบวนการชำระประวัติศาสตร์ท้องถิ่นตนเอง และนำเรื่องราวมาจารึกเป็นประติมากรรมนูนต่ำบนผนังอาคารดิน

2.4 เกิดฐานการเรียนรู้เรื่องบ้านดินลดโลกร้อนในชุมชน

2.5 เกิดวิทยากรชุมชนในเรื่องของการสร้างบ้านดิน

2.6 เกิดเครือข่ายชุมชนการสร้างบ้านดินในพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม กาฬสินธุ์ และนครราชสีมา

2.7 เกิดกระบวนการเรียนรู้ระหว่างชุมชนกับมหาวิทยาลัยผ่านกิจกรรมการสร้างบ้านดิน เช่น ภูมิปัญญาและเทคโนโลยีเรื่องการทำอิฐดินดิบ การใช้วัสดุธรรมชาติในท้องถิ่นมาทำโครงสร้างอาคารและอิฐดินดิบ




การเกิดการเรียนรู้ร่วมกันและเกิดผลงานวิชาการ

1.เกิดชุดความรู้เรื่องการจัดทำอิฐดินดิบ และการสร้างบ้านดินบนบริบทของแต่ละพื้นที่

2.เกิดชุดความรู้เรื่องการอบสมุนไพรและการนึ่งสมุนไพรด้วยหม้อไอน้ำ

3.เกิดชุดความรู้เรื่องการอนุรักษ์บ้านดินอบรมสมุนไพร และหม้อไอน้ำ

4.เกิดชุดความรู้ว่าด้วยการบูรณาการศาสตร์ของการสร้างประติมากรรมภาพนูนต่ำระหว่างหลักสูตรวิศวกรรมชีวภาพและหลักสูตรทัศนศิลป์ (ประติมากรรม) ในเรื่องตำนานจระเข้กับลูกเจ้าเมือง และตำนานชุมชนเขาพระนอน

5.เกิดชุดความรู้เรื่องการทำอาคารดิน (บ้านดิน) ในแบบการบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่นกับเทคโนโลยีสมัยใหม่

6.เกิดชุดความรู้ว่าด้วยการต่อยอดและทดสอบประสิทธิภาพของการฉาบผังอาคารดินด้วยยางพารา ทั้งในมิติความคงทนและการลดภาวะโลกร้อน

7.เกิดกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาชุมชนในวิถีวัฒนธรรมดั้งเดิม คือ การ “ลงแขก” (งานบุญ) ระหว่างมหาวิทยาลัยกับชุมชน และชุมชนกับชุมชน บนฐานคิดของการเรียนรู้คู่บริการ การจัดกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม การจัดการความรู้ร่วมกัน และการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม

8.เกิดบทความวิจัยเรื่อง บทความวิจัยเรื่อง "บ้านดิน... ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ควรอนุรักษ์"

9.เกิดงานวิจัยจากการศึกษาวิจัยของนิสิต ไม่น้อยกว่า 5 เรื่อง





การเกิดผลกระทบกับสังคมที่ประเมินได้

1.ปัจจุบันชุมชนชุมชนบ้านท่าขอนยาง (ต.ท่าขอนยาง อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม) และพุทธสถานสวนธรรมโชติปัญญาราม (ต.เขาพระนอน อ.ยางตลาด จ. กาฬสินธุ์) กลายเป็นแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องภูมิปัญญาบ้านดินกับการลดภาวะโลกร้อนและการบำบัดชีวิต

2.เกิดกระบวนการ “ชีววิถี” เชื่อมโยงเข้าสู่ที่ตั้งของอาคารดิน เพื่อบูรณาการการเรียนรู้และการใช้ประโยชน์ เช่น สมุนไพร ผักปลอดสาร การปลูกและอนุรักษ์ต้นไม้

3.เกิดการบูรณาการแหล่งเรียนรู้อาคารดินสู่สถานที่ หรือแหล่งเรียนรู้สำคัญๆ ในชุมชนในมิติของ “บวร”

4.เกิดการนำชุดความรู้ไปขยายผลในมิติการเรียนรู้คู่บริการจากชุมชนในจังหวัดมหาสารคาม (บ้านท่าขอนยาง) ไปยังชุมชนในจังหวัดกาฬสินธุ์ (พุทธสถานสวนธรรมโชติปัญญาราม) และจังหวัดนครราชสีมา (สำนักสงฆ์พุทธโธภควา บ้านมาบกราด)

5.เกิดกระบวนการต่อยอดวิจัย การเรียนการสอน การบริการวิชาการ การทำนุบำรุง สู่กิจกรรมนอกชั้นเรียน (ค่ายอาสาพัฒนา) หรือที่เรียกว่า 5 In 1

6.ได้รับการยกย่องและเชิดชูเป็นหลักสูตรและชุมชนต้นแบบโครงการหนึ่งหลักสูตรหนึ่งชุมชน ปี 2555 และปี 2557 ตลอดจนเป็นกรณีศึกษาในเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเครือข่ายสถาบันการศึกษาต่าง รวมถึงโครงการรากแก้ว-มูลนิธิปิดทองหลังพระ



ต้นเรื่อง : ดร.รัตนา หอมวิเชียร ผศ.ดร.จินดาพร จำรัสเลิศลักษณ์ และชุมชน
เรียบเรียง : พนัส ปรีวาสนา
ภาพ : พนัส ปรีวาสนา / ปรีชา ศรีบุญเศษ / คณะวิศวกรรมศาสตร์

หมายเลขบันทึก: 593315เขียนเมื่อ 10 สิงหาคม 2015 21:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 สิงหาคม 2015 00:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ชอบใจบ้านดิน

นิสิตชุมชนและมหาวิทยาลัยได้เรียนรู้ร่วมกัน

ชุมชนได้ใช้ประโยชน์จากบ้านดิน

ดีใจที่ได้ร่วมเวทีตอนงานนี้

ต้องขอบคุณมากๆเลยครับ

ภาพบนบ้านดินสีสวยมากๆ

Thank you for sharing.

I have been thinking about building with "earth" (in my case "sand" of less than 10% clay) for some time but have not got round to it yet. Many I enlist a few volunteers ;-)

I like the art work in the last picture. A new medium for arts?


อยากได้ไว้ที่ ศพด.สักหลัง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท