หมอเจ๊ คนสวย แซ่เฮ
พ.ญ. ศิริรัตน์ เอกศิลป์ สุวันทโรจน์

เรื่องนี้เกือบลืม


การดูดซึมธาตุอาหารแต่ละชนิดของพืชมีค่าพีเอชที่จำเพาะอยู่ช่วงหนึ่ง หากค่าออกห่างจากค่าจำเพาะนั้นไป ธาตุอาหารในดินจะแปรไปอยู่ในรูปที่พืชดูดซึมไปใช้ยากขึ้น ปุ๋ยที่เติมลงไปในดินไม่ว่าจะเป็นรูปปุ๋ยคอก ปุ๋ยน้ำ หรือปุ๋ยเคมีจะเกิดประโยชน์ช้ามาก และอาจแถมด้วยธาตุอาหารบางธาตุกลายเป็นพิษต่อพืชได้ด้วย มีคนบอกว่าเมื่อไรที่ปลูกต้นไม้แล้วไม่เจริญเติบโต ไม่งอกงามเท่าที่ควร ให้นึกไว้ว่าดินตรงนั้นอาจจะเป็นกรดในระดับรุนแรงถึงรุนแรงมาก ดินที่ต้นไม้ส่วนใหญ่ขึ้นได้งอกงามดีจะเป็นดินที่มีตัวที่ทำให้เป็นกรดมากกว่าตัวที่ทำให้เป็นด่าง​เล็กน้อย สำหรับพืชค่าพีเอชดินที่เปลี่ยนไปจึงมีความหมายไม่น้อย​

มีวันหนึ่งเข้าไปเที่ยวเมืองกรุง รอกินข้าวเย็นแล้วได้ยินเสียงหมอกลุ่มหนึ่งนั่งคุยกัน แว่วๆว่าเป็นเรื่องของการเปลี่ยนสถานะของเหลวให้เพิ่มความเป็นด่างด้วยน้ำเกลือ พอเปลี่ยนก็ใช้เครื่องมือมาวัดค่าพีเอชเพื่อยืนยันสถานภาพน้ำที่เปลี่ยนไป

มีคนตั้งคำถามขึ้นมาว่าแล้วตัวเลขที่เปลี่ยนไปจาก ๔ เป็น ๗ กับจาก ๖.๕ เป็น ๗ นั้นต่างกันอย่างไร ไหนๆเสียงก็ดังเข้าหูแล้ว ก็เลยลองคิดตาม เออนะ จะตอบคำถามให้ง่ายๆยังไงดีนะ ก็เวลาพูดถึงค่าพีเอชมักสรุปบอกใครๆว่าเป็นกรดหรือเป็นด่าง หรือไม่ก็เป็นด่างมากขึ้นบ้าง เป็นกรดมากขึ้นบ้างทุกทีไป

ไม่เคยใช้ความหมายของตัวเลขที่เปลี่ยนไปสักที แม้แต่คำแปลก็เกือบลืมไปแล้วว่าพีเอช pH ย่อมาจากคำว่า positive potential of the hydrogen ions ค่าความเข้มข้นของไฮโดรเจนไอออน (H +) หรือไฮโดรเนียมไอออน (H 3O+) ที่ถูกนำมาใช้บอกความเป็นกรดหรือเบสของสารละลาย โดยนำความเข้มข้นของไฮโดรเจนไออนไปคำนวณด้วยวิธีทางคณิตศาสตร์จนได้ตัวเลขออกมาใช้และพัฒนาออกมาเป็นเครื่องมือวัด เขาใช้น้ำกลั่นเป็นตัวแทนความเป็นกลาง ค่ากลางเท่ากับ ๗ น้อยกว่าเป็นกรด มากกว่าเป็นด่าง

รู้มาว่าดินเองก็มีค่าพีเอช พีเอชดินมีผลต่อการดูดซึมธาตุอาหารไปใช้งานของพืชและการทำงานที่เป็นประโยชน์ของจุลินทรีย์ต่างๆในการย่อยสลายสารอินทรีย์ปลดปล่อยธาตุอาหารสู่ดิน

การดูดซึมธาตุอาหารแต่ละชนิดของพืชมีค่าพีเอชที่จำเพาะอยู่ช่วงหนึ่ง หากค่าออกห่างจากค่าจำเพาะนั้นไป ธาตุอาหารในดินจะแปรไปอยู่ในรูปที่พืชดูดซึมไปใช้ยากขึ้น ปุ๋ยที่เติมลงไปในดินไม่ว่าจะเป็นรูปปุ๋ยคอก ปุ๋ยน้ำ หรือปุ๋ยเคมีจะเกิดประโยชน์ช้ามาก และอาจแถมด้วยธาตุอาหารบางธาตุกลายเป็นพิษต่อพืชได้ด้วย

มีคนบอกว่าเมื่อไรที่ปลูกต้นไม้แล้วไม่เจริญเติบโต ไม่งอกงามเท่าที่ควร ให้นึกไว้ว่าดินตรงนั้นอาจจะเป็นกรดในระดับรุนแรงถึงรุนแรงมาก ดินที่ต้นไม้ส่วนใหญ่ขึ้นได้งอกงามดีจะเป็นดินที่มีตัวที่ทำให้เป็นกรดมากกว่าตัวที่ทำให้เป็นด่างเล็กน้อย สำหรับพืชค่าพีเอชดินที่เปลี่ยนไปจึงมีความหมายไม่น้อย

ที่จริงความต่างของตัวเลขพีเอชก็มีความหมายในแง่ของการใช้บอกความรุนแรงอยู่แหละ เพียงแต่ไม่ใคร่ได้หยิบมาใช้งานกัน ก็ตัวเลขของพีเอชที่ต่างไปแค่หนึ่งค่านั้นบอกความเปลี่ยนแปลงเป็น ๑๐ เท่า ๑๐๐ เท่าได้ ขึ้นอยู่กับการเปรียบเทียบความต่างของค่า เช่น พีเอช ๖ กลายเป็น ๕ หมายความว่าความเป็นกรดเพิ่มขึ้น ๑๐ เท่าจากเดิม แต่พอนำไปเทียบกับพีเอช ๗ แล้ว ความเป็นกรดก็เพิ่มขึ้น เป็น ๑๐๐ เท่า ใช้หลักการเปรียบเทียบคล้ายๆกับการบอกความรุนแรงของแผ่นดินไหวเลยนิ

ดินที่เป็นกรดรุนแรง จะมีธาตุอาหารของพืชกลุ่ม อะลูมิเนียม แมงกานีส และเหล็ก ละลายออกมาอยู่ในน้ำ ในดินมากเกินไปจนเกิดเป็นพิษขึ้นแก่พืชที่ปลูกได้ แม้ว่าจะเป็นธุาตอาหารพืชที่สำคัญ ดินที่มีค่าพีเอชต่ำกว่า ๔.๕ ลงไปมักจะพบปัญหาเรื่องนี้

กรมพัฒนาที่ดินรายงานไว้เมื่อปี ๒๕๔๑ ว่า หญ้าแฝกขึ้นได้ในดินที่มีพีเอช ๓.๓ เชียวแหละ และทนต่อความเป็นพิษของอลูมิเนียมได้ที่ดินพีเอช ๓.๘ ทนแมงกานีสและเกลือได้ที่ดินพีเอช ๙.๕ ขึ้นได้ในดินที่มีโลหะหนักเหล่านี้ปนเปื้อนสูง : สารหนู (๑๐๐-๒๕๐ พีพีเอ็ม) แคดเมียม (๑๐-๒๐ พีพีเอ็ม) โครเมียม (๒๐๐-๖๐๐ พีพีเอ็ม) ทองแดงและนิเกิล (๕๐-๑๐๐ พีพีเอ็ม)และดินที่มีความเค็มจัด (๑๗.๕ dS/m)

โชคดีจังที่หญ้าแฝกทนสภาพแวดล้อมที่เป็นกรดแรงได้ ดูดซึมโลหะหนักได้ มิน่าจึงเป็นพืชที่ใช้จัดการสิ่งแวดล้อมเน่าๆได้ดีชนิดหนึ่ง

หมายเลขบันทึก: 593312เขียนเมื่อ 10 สิงหาคม 2015 20:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 สิงหาคม 2015 00:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

Howdi ;-)

Good to see you back in G2K again!

Yes, there is so much to learn about land and lives that live on land. I have been learning (and developing a utopia) for many decades and I have to admit "I now know less than what I thought I knew when I started". I also come to realize thet there are millions solutions (or paths/methods/ways) to solve one problem. And that many times I would choose solutions that create more problems and need many more solutions and so on and so on (like the the law of kamma or interconnectedness of things).

But this is not about letting go of things. It is more about expanding our vision field to match the complexity of the world we live in. You found enjoyment in learning and sharing. I found enjoyment in learning and living. We are going the same way (in different parts of the world ;-)

ห่างหายไปด้วยภารกิจที่พึงมีกับตนเอง จัดระเบียบชีวิตที่อยู่กับครอบครัวหลังเกษียณแหละค่ะ ให้เวลาตัวเองใคร่ครวญว่าควรใช้ชีวิตอย่างไรต่อไปเมื่อได้เวลาคืนกลับมาจากงานประจำให้กับครอบครัว ชีวิตเป็นอะไรที่ซับซ้อน มีเวลาก็แบ่งปันให้ตัวเองได้มีโอกาสสัมผัสเส้นทางธรรมเพื่อการอยู่ เตรียมพร้อมกับการกลับบ้านที่ไม่เบียดเบียนผู้อยู่ข้างหลังแหละค่ะ ได้เขียนก็ได้เรียนรู้ตัวเองไปด้วยค่ะว่าพลังชีวิตในส่วนหนึ่งของตัวนั้นมีบ่อเกิดจากการค้นหาคำตอบของสิ่งที่ไม่รู้จากของจริง ได้สัมผัสโลกภายในของตัวจากประสบการณ์ของการฝึกตนในสิ่งที่ทำไม่ได้จนทำได้ ดีใจเช่นกันค่ะที่มีจุดเชื่อมให้กลับมาเขียนไปพร้อมกับการเรียนรู้หลักธรรมผ่านธรรมชาติของดิน น้ำ ลม แดด

มีดอกไม้งามชื่อรักเร่..มาฝากเจ้าค่ะ..

คุณ ยายธี ขอบคุณสำหรับภาพดอกรักเร่ที่มาช่วยเตือนความจำลงตัวกับวันแม่ น้องเคยปลูกมันกับแม่เมื่อยังเป็นเด็กค่ะ ได้เป็นเห็นมันอีกทีในครั้งหนึ่งที่มีโอกาสเยือนสวนสวยในเยอรมัน ตื่นตาตื่นใจมาก ดอกไม้ชนิดนี้หาพันธุยากแล้วค่ะในชนบทไทย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท