AQ : Adversity Quotient ความสามารถในการเผชิญกับอุปสรรค


AQ : Adversity Quotient ความสามารถในการเผชิญกับอุปสรรค

ในช่วงไม่กี่สิบปีที่ผ่านมา ได้เกิดแนวคิดอีกมุมมอง หนึ่ง มองว่า คนหลายคนมีระดับเชาวน์ปัญญาดี อารมณ์หนักแน่น แต่ไม่ได้ชื่อ ว่าเป็นผู้ที่ประสบความสำเร็จอยู่ในแนวหน้า นักสู้ชีวิตหลายคน ไม่ได้เป็นคน ที่มีการศึกษาสูง และไม่ได้มีเส้นสายมากมาย แต่ประสบความสำเร็จขึ้นมาได้ หลายคนรู้ในหลาย เรื่อง ยิ่งรู้มาก ยิ่งกลัวจนไม่กล้าจะทำอะไร หลายคนมีเพื่อนฝูงมากมาย แต่ทำอะไรก็ล้มเหลวหรือเลิกล้มได้ง่าย เมื่อพบกับปัญหาหรืออุปสรรค ต่างๆ อาทิ ปัญหาส่วนตัว ปัญหาการเรียน ปัญหาการทำงาน ปัญหาความ สัมพันธ์ หรือปัญหาครอบครัว คนเหล่านี้กลับหมดแรงที่จะเดินหน้าทั้งที่สามารถก้าวต่อไปสู่ความสำเร็จได้

ผู้ที่ให้คำตอบในเรื่องนี้ คือ พอล สตอลท์ (Paul G. Stoltz) เขาเปรียบชีวิตเหมือนกับการไต่ปีนขึ้นสู่ภูเขาสูง เขาบอกว่า “ผู้ประสบความสำเร็จในชีวิต โดยเฉพาะด้านการงานนั้น จะต้องอุทิศตนเพื่อก้าวไปสู่เบื้องหน้าที่ไกลและสูงอย่างไม่หยุดหย่อนโดยไม่ เหนื่อยล้ากันได้ ซึ่งบางก้าวอาจช้า บางจังหวะก็ไปได้เร็ว ล้มเหลวบ้าง ล้มลุกบ้าง เจ็บปวดบ้าง บอบช้ำบ้าง ก็เป็นเรื่องธรรมดาของชีวิต และความสำเร็จในแต่ละเรื่องแต่ละครั้งนั้น มันก็เป็นเพียงจุดๆ หนึ่งของชีวิต ณ เวลานั้นเท่านั้น ชีวิตจึงต้องก้าวเดินต่อไปตลอดชีวิต แม้จะมีอุปสรรค สิ่งกีดขวางทางเดินของเรา มันยิ่งช่วยทำให้เราเกิดประสบการณ์กว้างขึ้น และชีวิตแข็งแกร่งขึ้น”

สตอลท์ได้บัญญัติศัพท์ AQ. ขึ้นมา ซึ่งมาจากคำว่า Adversity Quotient หมาย ถึง ความสามารถในการเผชิญกับอุปสรรค ” โดยเขาได้ให้ความหมายของคำนี้ว่า เป็นความสามารถของบุคคลในการฝ่าฟันกับปัญหา และหรือความยากลำบากต่างๆ ที่เป็นอุปสรรคขวางกั้นในการดำเนินชีวิตด้านต่างๆ ด้วยความกระตือรือร้นอย่างแรงกล้า และการกล้าที่จะทำตามสิ่งที่ตนได้ตั้ง เป้าหมายไว้ และก้าวไปสู่จุดหมายนั้น เพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศอย่างมุ่งมั่น เขากล่าวว่า ความท้อถอย ท้อแท้ เป็นตัวทำลายพลังและศักยภาพที่บุคคลนั้นมีอยู่ และยังให้ข้อคิดว่า แม้แต่คน ที่เก่งหรือคิดว่าตนเองประสบความสำเร็จแล้ว ก็อย่าได้หลงตัวเองเป็นอันขาด ว่าสิ่งที่ตนเองกำลังทำอยู่นั้นมันสุดยอดแล้ว และคิดแต่ว่าตัวเองเก่ง แน่ อยู่คนเดียว ไม่มีใครอีกแล้วที่จะทำงานอย่างที่ตนทำได้ ดังคำเปรียบเปรยที่ว่า “อย่าเพิ่งวัดความสูงของยอดเขาที่เราจะไต่ขึ้น จนกว่าคุณจะปีนขึ้นไปถึงยอดเขานั้นแล้ว และเมื่อนั้น คุณจะรู้ว่า เพราะอะไรจึงไม่ต้องเสียเวลาไปคอยวัด เพราะเมื่อขึ้นยอดเขานั้นแล้ว คุณจะเห็นว่า ยังมีที่ยอดเขาที่สูงกว่าที่คุณปีนขึ้นไปอีกตั้งมากมาย”

สตอลท์แบ่งบุคคลออกมาเป็น 3 กลุ่ม เหมือนลักษณะของนักปีนเขา ไว้ดังนี้

พวกล้มเหลว (Quitter)จะถอยห่าง ยอมแพ้ตั้งแต่เริ่ม ต้น ไม่มีการตั้งเป้าหมาย หรือจุดหมาย ลักษณะของคนกลุ่มนี้ จะลังเล ขี้กลัว ไม่กล้าเสี่ยง ถอดใจตั้งแต่เริ่มต้น

พวกล้มเลิก (Camper)หรือเรียกอีกอย่างว่า ท่าดีที เหลว ช่วงแรกอาจจะมีเป้าหมายที่ดี พอทำไปสักพัก เจออุปสรรคหรือปัญหา ก็เกิด อาการท้อแท้ เลิกล้มไปโดยง่าย

พวกล้มลุก (Climber)คือเป็นลักษณะของนักปีนเขาโดย แท้ นั่นคือ เป็นที่มีความอดทน มุ่งมั่น มุ่งหน้า เพื่อไปสู่จุดหมายอย่างไม่ยอมแพ้โดย ง่าย แม้ว่าจะมีอุปสรรคเข้ามาท้าทาย ตัวเขา แต่ก็ไม่ได้เป็นปัญหาจะทำให้กลุ่มคนกลุ่มนี้ เลิกล้มแต่ประการใด

นั่นคือ กลุ่มคนแบบที่ 3 นั้น เรียกได้ว่าเป็นผู้ที่มี AQ. สูง โดย สตอลท์ ได้กำหนดบันไดในการก้าวไปสู่จุดหมายที่ตั้งไว้ได้ มี 3 ขั้น คือ

ขั้นแรก Dream the Dream คือ การทำตัวเป็นคนช่างฝัน ฝันอยากทำได้อย่างนั้น สามารถทำได้อย่างนี้ เป็นลักษณะ “การรู้จักจินตนาการความเป็นไปได้ที่ชีวิตเราจะต้องดีกว่านี้ เพราะมันเป็นสิ่งที่จะต้องเกิดขึ้นในอนาคต”

ขั้นที่สอง Making the Dream the Vision คือ การคิดทำสิ่งที่ใฝ่ฝันนั้นให้เป็นจริง สามารถเห็นภาพการขับเคลื่อนของความฝันนั้นอย่างต่อเนื่อง ชัดเจน ที่ว่าวิสัยทัศน์ มิใช่ได้แต่คิดแต่เพ้อฝันลมๆ แล้งๆ ไม่เริ่มทำ

ขั้นที่สาม Sustaining the Vision คือ การสร้างวิสัยทัศน์นั้นให้คงอยู่ว่าเราทำได้ ให้กำลังใจในการก้าวไปสู่สิ่ง ซึ่งตั้งใจ หนักแน่น มั่นคงได้เสมอ และมีทัศนคติทางบวกว่า ที่ฝรั่งว่า Can Do Attitude เป็นลักษณะ “รู้จักคงสภาพวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล สูง นี้ได้อย่างต่อเนื่อง มั่นคง ชัดเจน จนกว่าจะก้าวเข้าไปบรรลุถึงซึ่งเป้าหมาย”

สตอลท์ได้สร้างแบบทดสอบ AQ. และการพัฒนา AQ. ด้วยตนเอง ที่เรียกย่อๆ ว่า CORE ซึ่งแปลว่า รากแก่นฐานแน่น คำย่อในแต่ละตัวมีความหมายดังนี้

C = Control คือ ความสามารถ ในการควบคุมสถานการณ์หรืออุปสรรคที่เกิดขึ้นได้

O = Ownership คือ ความสามารถในการเข้าไปมีส่วนร่วมเพื่อรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้น ทั้งที่เกิดจากการกระทำของตนเองหรือผู้ร่วมงานด้วยกันได้

R = Reach คือ ความสามารถในการจัดการกับผลกระทบที่เกิดขึ้นให้อยู่ในวงจำกัด และสำเร็จได้อย่างรวดเร็ว โดยมิให้ปัญหานั้นๆ ไปส่งผลกระทบต่อเป้าหมายการดำเนินชีวิตในด้านอื่นๆ

E = Endurance คือ ความสามารถในการรักษากำลังใจของตนเอง ในการต่อสู้ กับปัญหาหรืออุปสรรคต่างๆ อย่างมุ่งมั่น มุ่งหน้า มุ่งหมายกันได้

สำหรับคนที่จะมี AQ สูง ผู้เขียนเห็นว่า เขาควรมีลีลักษณะของคน Proactive หมายถึง คนที่มีนิสัย เลือกที่จะเป็น เลือกที่จะทำ คือคนที่ "รู้ตัวว่าเลือกได้"คนที่มีนิสัยแบบนี้ จะมีความกระตือรือร้น เป็นคนที่ Active เป็นคนที่รู้ว่าตัวเองต้องการอะไร คนที่ Proactive จะไม่รอให้สิ่งต่างๆ เกิดขึ้นกับตัวเขา แต่เขาจะเป็นคนทำให้สิ่งต่างๆ เกิดขึ้น ด้วยตัวเขาเอง เพราะเมื่อเขาเลือกที่จะเป็น เมื่อเขารู้ว่าตัวเองต้องการอะไร เขาก็จะมีความริเริ่มที่จะทำให้สิ่งนั้นเกิดขึ้นในทันที .. ในแง่ของการตอบสนองต่อสถานการณ์ต่างๆ เมื่อเจอเหตุการณ์หนึ่งๆ คนที่ "Proactive" จะไม่ปล่อยให้การตอบสนองต่อเหตุการณ์ของตัวเองเป็นไปโดยอัตโนมัติ .. เขาจะมองดูตัวเลือกของเขาก่อน ว่าเขาสามารถตอบสนองแบบไหนได้บ้าง แล้วเขาก็จะเลือกการตอบสนองที่ดีที่สุด คน Proactive มีลักษณะ ดังนี้

1.ศรัทธาในตนเอง เป็นการยอมรับนับถือตนเอง มองตนเองในแง่บวก คือการคิด และสร้างแต่สิ่งดี ๆ ให้กับตนเองอยู่ตลอดเวลา โดยการตอกย้ำหรือสะกดจิตตัวเองอยู่ตลอดเวลาว่า เรามีศักยภาพในการทำงาน เพราะสิ่งนี้เองจะเป็นพลังจิตสำคัญที่ทำให้เรามีกำลัง แรง และเกิดความคิดสร้างสรรค์ในการทำงาน

2.คิดจะเป็นผู้ให้ มากกว่าผู้รับ เป็นผู้ให้โดยไม่หวังผลตอบแทนใด ๆ ทั้งสิ้น โดยเฉพาะการมีจิตสำนึกที่ดีต่อหน่วยงาน หรือองค์กรที่เราอยู่ ทำอย่างไรที่จะทำให้องค์กรที่เราอยู่ได้รับประโยชน์มากที่สุด นอกจากนี้ยังรวมถึงการให้ความช่วยเหลือและร่วมมือแก่ผู้อื่นที่อยู่ภายในและ ภายนอกหน่วยงาน

3. มองโลกในทางบวกเป็นการคิดดีหรือคิดในทางสร้างสรรค์ ไม่ควรคิดมากกับเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ทำให้คุณไม่สบายใจ เพราะความคิดในทางลบหรือในทางไม่สร้างสรรค์จะเป็นตัวทำลายความคิดในการทำงาน เชิงรุกของคุณ โดยจะทำให้คุณมัวแต่คิดวิตกกังวล ไม่ชอบ ไม่พอใจ โมโห อาฆาตพยาบาท โกรธ และหาทางแก้แค้น ทั้งนี้การคิดในทางบวกจะทำให้คุณพยายามหาหนทาง และแนวทางในการพัฒนาและปรับปรุงตนเองให้ทำงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

4.วันพรุ่งนี้ ย่อมดีกว่าวันนี้ คนทำงานเชิงรุกนั้นจะไม่ใส่ใจในอดีต พวกเขาจะมองถึงอนาคต ซึ่งจะต้องดีกว่าเสมอ เป้าหมายในอานคตย่อมเกิดขึ้นจากการนำความรู้และประสบการณ์ รวมถึงบทเรียนที่เกิดขึ้นในอดีต และเรื่องราวปัจจุบันเป็นบทเรียน และพยายามทำอนาคตให้ดียิ่ง ๆ ขึ้นไป พวกเขามีเป้าหมายที่ชัดเจน รู้ว่าจะต้องทำอะไรอย่างไร เพื่อก้าวไปสู่เป้าหมายที่วางไว้

5.โอกาสแสวงหาได้จากตัวเรา ผู้ที่ทำงานแบบ Proactive จะฉกฉวยโอกาส และสถานการณ์ต่าง ๆ ที่สนับสนุนและเอื้ออำนวยต่อการทำงานเชิงรุก เขาจะคิดอยู่เสมอว่า วิกฤติคือโอกาส และจะม่เสียใจ ผิดหวัง ท้อแท้กับเหตุการณ์ต่าง ๆ และจะไม่ปฏิเสธที่จะรับโอกาสใหม่ ๆ เพิ่มขึ้น

6.มองความผิดพลาดเป็นบทเรียน ไม่มีใครไม่เคยทำผิดพลาด คนทำงานเชิงรุกจะพยายามนำความผิดพลาดที่เกิดขึ้นมาเป็นบทเรียน จะทำให้ระวังตัว มีความละเอียดรอบคอบในการทำงานมากขึ้น และพยายามหาหนทางไม่ให้ความผิดพลาดนั้นเกิดขึ้นอีก

7.กล้าและพร้อมเผชิญกับปัญหา บทเส้นทางแห่งความสำเร็จไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบเสมอไป และแน่นอนว่าจะต้องเผชิญกับขวากหนามหรืออุปสรรคบ้าง คนำงานเชิงรุกจึงกล้าและพร้อมเผชิญกับนานาปัญหา และพร้อมที่จะแก้ไขด้วยความรับผิดชอบ สามารถวิเคราะห์ค้นหาสาเหตุ และกำหนดแนวทางการแก้ปัญหาได้อย่างแม่นยำได้

8.ความรู้ ความสามารถย่อมฝึกกันได้ คนทำงานเชิงรุกมักตรวจสอบตนเอง และประเมินได้ว่าอะไรคือจุดแข็ง และอะไรคือจุดอ่อนที่เป็นข้อบกพร่องของตัวเอง เขาจะมีความมุ่งมั่นที่จะเสริมจุดแข็งและพัฒนาจุดอ่อน อย่างจริงจังต่อเนื่องสม่ำเสมอ

9.แผนงานที่ดีมีชัยไปกว่าครึ่ง คนทำงานเชิงรุกจะชอบวางแผนงาน ทั้งแผนงานหลัก และแผนงานรองไว้เสมอกรณีแผนงานหลักไม่ประสบความสำเร็จ โดยมีกรอบและแนวทางการทำงาน การเตรียมความพร้อมที่จะเผชิญกับปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ติดตามและทบทวนการทำงานอย่างสม่ำเสมอ และต่อเนื่อง

10.ทุกคนย่อมมีความรู้ ความสามารถ เขาจะมีความเชื่อ และยอมรับว่าทุกคนล้วนมีความสามารถและฝีมือในการทำงาน รู้ว่างานใดควรมอบหมายใครให้รับผิดชอบ

11.ผู้บริหารเวลาที่ดีที่สุดคือเรา ให้ ความสำคัญในเรื่องของเวลา และบริหารเวลาได้อย่างสมดุล ไม่ว่าจะเป็นการจัดสรรค์เวลาเพื่อการทำงาน เพื่อครอบครัว เพื่อตนเอง และเพื่อคนอื่น ๆ เขาจะไม่เสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์ เป็นผู้มีสติ สมาธิ และปัญญาในการบริหารงานต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว

12.จงรักผู้อื่นเหมือนรักตนเอง เขาจะปรารถนาให้ผู้อื่นมีความสุข มีเมตตาจิต พร้อมจะให้อภัย ไม่โกรธ หรืออาฆาตพยาบาท มีความพร้อมที่จะเป็นเพื่อนกับทุก ๆ คน มีกริยาวาจา น้ำเสียง คำพูด การแสดงออก และพฤติกรรมต่าง ๆ ที่สุภาพ อ่อนโยน ไม่ก้าวร้าว

13.จงเปลี่ยนศัตรูให้เป็นมิตร เขาจะเป็นผู้มีวาทศิลป์ มีความสามารถในการเลือกใช้คำพูด น้ำเสียง การแสดงออก และกริยาท่าทางด้วยความสุภาพ เหมาะสม และถูกกาลเทศะ มองคู่แข่งหรือบุคคลที่ไม่หวังดีเป็นมิตรสหายที่จะต้องหยิบยื่นความช่วย เหลือต่าง ๆ ให้

14.อนาคตเป็นสิ่งที่เราสร้างได้ เขาจะเป็นคนที่มีความหวัง มีเป้าหมายในการดำเนินชีวิต มีความคิดอยู่เสมอว่า เราเป็นผู้สร้างอนาคต พวกเขาจึงมีเป้าหมายในอนาคตที่ชัดเจน ทั้งเป้าหมายระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว พร้อมทั้งพยายามมุ่งมั่นไปสู่เป้าหมายนั้น ๆ

15.พร้อมเสมอสำหรับการเปลี่ยนแปลง เขาจะพร้อมเสมอสำหรับการเปลี่ยนแปลง มองการเปลี่ยนแปลงเป้นโอกาสในการพัฒนา ปรับปรุงวิธีการทำงานให้ดีขึ้น เขาจะชอบเรียนรู้และพัฒนาตนเอง เปิดรับข่าวสารสิ่งใหม่ ๆ อยู่เสมอ

การทำงานเชิงรุก (Proactive) มีการวางระบบการทำงานที่ดี ดูแลบำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมอ ปัญหาไม่เกิด ผลงานได้ตามเป้าหมาย บริหารงานสบาย มีเวลาให้กับตัวเอง มีเวลาให้กับครอบครัว นั่นคือความสุขในการทำงานที่แท้จริง ด้วยการคิดปรับปรุงงาน ให้ความรู้กับลูกน้อง คิดสร้างระบบการทำงานให้มีประสิทธิผล นี่คือมืออาชีพที่แท้จริง

ความสำคัญของ AQ : Adversity Quotient ความสามารถในการเผชิญกับอุปสรรคตามแนวคิดของอิสลาม

ไม่ว่าใครจะทำอะไรก็ล้วนแล้วแต่จะต้องพบกับปัญหา หนักบ้าง เบาบ้าง ก็ขึ้นอยู่อยู่กับปัญหาที่ประสบ และขึ้นอยู่กับความสามารถในการแก้ปัญหาของเจ้าของปัญหา จึงไม่มีใครที่จะสามารถหนีปัญหาได้ ขึ้นอยู่กับว่าผู้ที่ประสบปัญหาเขาจะมองปัญหาในทางบวกหรือทางลบ หากเขามองปัญหาเป็นลบเขาก็จะเห็นว่าปัญหา คือ อุปสรรค และเขาก็จะหาทางวิ่งหนีปัญหาอยู่ตลอดเวลา และในที่สุดเขาจะพบว่าเขาไม่มีทางที่จะหนีปัญหาได้เลย นี่คือมุมมองและจุดยืนของผู้ที่อ่อนแอ แต่หากเขามองปัญหาให้เป็นบวก เขาจะพบว่า ปัญหาแต่ละปัญหาคือ บททดสอบสำหรับเขา และเขาจะยืดหยัดที่จะต่อสู้กับปัญหา จนขาสามารถฟันฝ่าปัญหาได้อย่างน่าทึ่ง และนี่คือมุมมองและจุดยืนของผู้ที่เข้มแข็ง เพราะเขาถือว่า “ที่ใดไม่มีปัญหาที่นั่นย่อมไม่มีคน” หรือ“ปัญหามี ปัญญาเกิด”

อิสลามสอนให้มุสลิมผู้ศรัทธายืนหยัดเพื่อต่อสู้กับปัญหาอย่างน่าสนใจ คำสอนเหล่านั้นล้วนประจักษ์อยู่ในพระมหาคัมภีร์อัลกุรอ่าน ดังที่ อัลลอฮฺทรงตรัสในซูเราะฮฺ อัตตอลาก โองการ 2-3 ว่า

ความว่า และผู้ใดยำเกรงอัลลอฮฺ พระองค์ก็จะทรงหาทางออกให้แก่เขาและจะทรงประทานปัจจัยยังชีพแก่เขาจากที่ที่เขามิได้คาดคิด และผู้ใดมอบหมายแด่อัลลอฮฺ พระองค์ก็จะทรงเป็นผู้พอเพียงแก่เขา

อัลลอฮฺทรงตรัสในซูเราะฮฺ อัตตอลาก โองการ 4 ว่า

ความว่า และผู้ใดยำเกรงอัลลอฮฺ พระองค์จะทรงทำให้กิจการของเขาสะดวกง่ายดายแก่เขา

ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า มนุษย์ไม่สามารถที่จะหนีจากปัญหาได้ ดังนั้นอัลลออฮฺจึงสอนให้มุสลิมผู้ศรัทธาได้ตระหนักถึงการเผชิญหน้ากับปัญหาอย่างองอาจ และพระองค์ทรงอยู่ร่วมกับผู้ศรัทธาเสมอ โดยที่พระองค์ได้สอนว่าผู้ที่จะหลุดพ้นจากปัญหาต่าง ๆ นานา ได้นั้น จิตใจของเขาต้องเชื่อมโยงกับพระองค์อัลลอฮฺเสมอ นั่นคือ ต้องยำเกรงต่อพระองค์ ดังที่มีอัลหะดิษบทหนึ่งที่รายงานว่า

“มีชายสามคนได้ดินทางรอนแรมไปจนกระทั่งเข้าพักในถ้ำแห่งหนึ่ง และหินก้อนหนึ่งได้กลิ้งลงมาปิดปากทางเข้าถ้ำกั้นพวกขาไว้ในถ้ำ พวกเขาทั้งสามจึงกล่าวแก่กันว่า แท้ที่จริงแล้วพวกท่านไม่สามารถรอดพ้นจากก้อนหินนี้ได้ นอกจากจะต้องของต่ออัลลอฮฺโดยผ่านการกระทำความดี (อามัลซอและห์ )ของพวกท่าน เป็นสื่อ

ชายคนแรกจึงกล่าวว่า ข้าแต่อัลลอฮฺข้าพระองค์มีบิดามารดาที่ชราภาพ และข้าพระองค์ไม่เคยให้ภรรยา , ลูก ๆ ,คนใช้และทาสดื่มเครื่องดื่มก่อนท่านทั้งสองเลย วันหนึ่งข้าพระองค์ได้ออกไปไกลเพื่อหาหญ้าให้สัตว์เลี้ยงและได้กลับมาช้า ท่านทั้งสองได้หลับไปก่อน ข้าพระองค์ได้รีดนมให้ท่านทั้งสองดื่ม แต่พบว่าท่านทั้งสองยังหลับอยู่ ข้าพระองค์ไม่ชอบที่จะปลุกท่านทั้งสองและไม่ชอบที่จะให้ภรรยา ,ลูก ๆ , คนใช้และทาสดื่มก่อนท่านทั้งสอง ข้าพระองค์จึงยืนคอยการตื่นของท่านทั้งสองโดยที่ถ้วยนมอยู่ในมือของข้าพระองค์จนกระทั่งแสงอรุณขึ้น ทั้ง ๆ ที่เด็ก ๆ ได้ส่งเสียงอยู่รอบ ๆ เท้าของข้าพระองค์ด้วยความหิวกระหาย ในที่สุดท่านทั้งสองได้ตื่นขึ้นแล้วดื่มนมที่เตรียมไว้ให้ท่านทั้งสอง ข้าแต่อัลลอฮฺถ้าหากว่าการที่ข้าพระองค์กระทำไปนั้นเพื่อพระองค์ท่านแล้ว ขอพระองค์ได้โปรดให้พวกเรารอดพ้นจากสภาพที่พวกเราเป็นอยู่จากก้อนหินนี้ด้วยเถิด ทันใดนั้นหินที่อุดปากถ้ำก็ได้เคลื่อนไปนิดหนึ่ง โดยที่เขาทั้งสามยังไม่สามารถออกจากถ้ำได้

ชายคนที่สองได้กล่าวว่า ข้าแต่อัลลอฮฺ มีลูกสาวของอาของข้าพระองค์คนหนึ่งซึ่งข้าพระองค์รักนางยิ่งและข้าพระองค์ต้องการตัวนางแต่นางไม่ยินดีกับข้าพระองค์ จนกระทั่งมีอยู่ปีหนึ่งเกิดความแห้งแล้ง นางได้มาหาข้าพระองค์และข้าพระองค์ก็ได้ให้เงินแก่นางไป 120 เหรียญทองคำ โดยนางจะต้องเปิดโอกาสให้ข้าพระองค์ได้อยู่ร่วมกับนาง นางก็ยินยอมปฏิบัติตามจนข้าพระองค์สามารถที่จะกระทำชั่วกับนาง นางไก้กล่าวขึ้นว่า ท่านจงยำเกรงต่ออัลลอฮฺ ท่านจงอย่าทำลายความบริสุทธิ์ของดิฉัน นอจากมันจะเป็นสิทธิ์ของท่านเสียก่อน คือ การแต่งงงาน แล้วข้าพระองค์จึงผละออกจากนางไปทั้ง ๆ ที่นางเป็นที่รักยิ่งของข้าพระองค์ และข้าพระองค์ยินยอมให้ทองคำแก่นางไป ข้าแต่อัลลอฮฺ ถ้าหากว่าการที่ข้าพระองค์ได้กระทำไปนั้นเพื่อพระองค์ท่านแล้ว ขอพระองค์ได้โปรดให้พวกเราได้รอดพ้นจากสภาพที่พวกเราเป็นอยู่ด้วยเถิด แล้วก้อนหินนั้นก็เคลื่อนออกไปอีก โดยที่พวกเขาทั้งสามยังไม่สามารถออกไปจากถ้ำได้

ชายคนที่สามกล่าวว่า ข้าแต่อัลลอฮฺ ข้าพระองค์ได้ว่าจ้างคนงานรับจ้าง และได้ให้ค่าจ้างแก่พวกเขาทุก ๆ คน มีคนงานคนหนึ่งที่ออกไปโดยไม่รับค่าจ้าง ข้าพระองค์ได้นำเอาค่าจ้างของเขามาลงทุนจนกระทั่งมีทรัพย์สินเพิ่มพูนมากมาย หลังจากนั้นเป็นเวลานานคนงานคนนั้นได้มาหาข้าพระองค์และกล่าวว่า โอ้บ่าวของอัลลอฮฺกรุณาจ่ายค่าจ้างที่ค้างไว้ให้แก่ฉันด้วยเถิด ข้าพระองค์ได้กล่าวแก่เขาว่า ทุกสิ่งที่ท่านเห็นอยู่นั้นไม่ว่าจะเป็นอูฐ วัว แพะ แกะ หรือทาส ได้มาจากเงินของท่าน แล้วเขาได้กล่าวว่า โอ้บ่าวของอัลลอฮฺ กรุณาอย่าได้พูดล้อเล่นกับฉันเลย ข้าพระองค์ตอบว่า ฉันไม่ได้พูดล้อเล่นกับท่านหรอก ชายคนนั้นก็นำเอาส่วนของเขากลับไปทั้งหมดโดยมิได้ทิ้งไว้แม้แต่สิ่งเดียว ข้าแต่อัลลอฮฺ ถ้าหากว่าการที่ข้าพระองค์กระทำไปนั้นเพื่อพระองค์ท่านแล้ว ขอพระองค์ได้โปรดให้พวกเรารอดพ้นจากสภาพที่เราเป็นอยู่ด้วยเถิด แล้วหินก้อนนั้นก็เคลื่อนออกและพวกเขาทั้งสามก็เดินออกจากถ้ำได้”(บันทึกโดย บุคอรีและมุสลิม)

จากอัลกุรอ่าน และ อัลหะดิษดังกล่าวชี้ให้เห็นว่า เมื่อชีวิตเดินมาถึงทางตัน ก็ยังมีความหวังที่จะ ฟันฝ่าทางตันเหล่านั้นออกไปได้หากมีหัวใจที่ผูกสัมพันธ์อยู่กับอัลลอฮฺตลอดเวลา หรือมีความยำเกรงต่อพระองค์ อัลลออฮก็อยู่ร่วมกับเราเสมอ และความช่วยเหลือของพระองค์มีให้แก่บ่าวผู้ศรัทธาของพระองค์อย่างไม่มีที่สิ้นสุด

ท่านศาสดาได้กล่าวว่า “ผู้ศรัทธานั่นแปลกเหลือเกิน ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนเป็นความดีสำหรับเขา เมื่อเขาประสบกับภัยพิบัติเขาอดทน การอดทนเป็นความดีสำหรับเขา และเมื่อนิอฺมัติ (โชคลาภ)ประสบคนกับเขา เขาจะขอบคุณ และการขอบคุณเป็นความดีกับเขา”

นอกจากนั้น ท่านรอซูล(ซ.ล)ได้กล่าวว่า

ความว่า “จงพยายามในสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อตัวท่านเอง จงขอความช่วยเหลือต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ) จงอย่าอ่อนแอและท้อแท้ หากมีสิ่งใดเกิดขึ้นกับท่าน ก็อย่าพูดว่า: ถ้าฉันทำอย่างนั้นก็คงเป็นอย่างนั้น แต่จงพูดว่า: ลิขิตและการประสงค์ของอัลลอฮฺ(ซ.บ)ย่อมต้องเกิด เพราะ คำว่า “ถ้า” จะนำมาซึ่งการยุแหย่ของไชตอน(มารร้าย)” ( รายงานโดย มุสลิม )

มนุษย์จะต้องอดทนต่อสิ่งที่ถูกลิขิตให้เกิดกับเขา โดยที่ไม่ตีโพยตีพาย เพราะ เขารู้ดีว่าสิ่งที่เกิดกับเขานี้ ไม่มีทางที่มันจะพลาดคลาดแคล้วเขาไปได้ และ สิ่งใดที่คลาดแคล้วเขาไป (ไม่เกิดกับเขา) มันก็ไม่มีทางที่จะเกิดกับเขาได้เลย ดังที่ท่านนะบีได้วจนะว่า

ความว่า “พึงรู้เถิด สิ่งใดที่เกิดกับท่านนั้น มันย่อมไม่มีทางพลาดคลาดแคล้วท่านไปได้ และสิ่งใดที่คลาดแคล้วท่านไป มันก็ไม่มีทางที่จะเกิดกับท่านได้เลย” (รายงานโดย อะฮมัด)

มนุษย์จำเป็นต้องพอใจยอมรับการลิขิตของอัลลอฮฺ (ซ.บ) เพราะมันเป็น ส่วนหนึ่งของการยอมรับในความเป็นพระเจ้าของอัลลอฮฺ (ซ.บ) อย่างสมบูรณ์ มุมิน(ผู้ศรัทธา)ทุกคนต้องยอมรับในการลิขิตของอัลลอฮฺ(ซ.บ) เพราะการลิขิตของพระองค์นั้น ทุกสิ่งเป็นความถูกต้อง เป็นธรรม และมีเหตุผล ใครก็ตามที่มีจิตใจเชื่อมั่นว่า สิ่งใดที่เกิดกับเขา ไม่มีทางที่มันจะพลาดเขาไปได้ และสิ่งใดที่คลาดแคล้วเขาไป มันก็ไม่มีทางที่จะเกิดกับเขาได้ จิตใจของเขาก็จะปราศจากความวิตก เคลือบแคลง ชีวิตของเขาก็จะไร้ซึ้งความไม่สงบกังวล เขาจะไม่เสียใจต่อสิ่งที่ผ่านไปแล้ว จะไม่หวาดหวั่น ต่อสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เมื่อเป็นเช่นนี้ เขาก็จะเป็นผู้ที่มีความสุขที่สุด มีจิตใจและความคิดที่ปลอดโปร่ง เช่นเดียวกัน ใครก็ตามที่รู้ตัวดีว่า อายุขัยน์ และปัจจัยยังชีพ ของตนเองนั้นมีอยู่อย่างจำกัด ความขลาดกลัว และตระหนี่ ไม่อาจเพิ่มอายุและปัจจัยยังชีพของเขาให้มากขึ้นได้ ทุกสิ่งถูกกำหนดไว้หมดแล้ว เขาก็จะมีความอดทน ต่อทุกข์ภัยที่เกิดขึ้น จะพยายามขออภัยต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ)ในความผิดที่ได้ทำลงไป จะพอใจและยอมรับการลิขิตของอัลลอฮฺ(ซ.บ) ดังนั้นเมื่อเป็นเช่นนี้ในตัวของเขาก็จะประมวลไว้ซึ่งความดีสองประการด้วยกัน คือ การเชื่อฟังภักดีต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ) และการอดทนต่อความทุกข์ยาก ดังอัลลอฮฺ(ซ.บ)ทรงตรัสว่า

ความว่า “ไม่มี่ทุกข์ภัยใดเกิดขึ้น เว้นแต่ ด้วยอนุมัติของอัลลอฮฺ(ซ.บ) และผู้ใดศรัทธาต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ) พระองค์จะทรง เปิดหัวใจของเขา (สู่แนวทางที่ถูกต้อง) และอัลลอฮฺ(ซ.บ) เป็นผู้ทรงรอบรู้ทุกสิ่ง”

( ซูเราะฮฺ อัตตะฆอบุน โองการที่ 11) .

และพระองค์ทรงตรัสว่า

ความว่า “ดังนั้นเจ้าจงอดทน เพราะ แท้จริงสัญญาของอัลลอฮฺ(ซ.บ)นั้นเป็นจริง และจงขออภัยโทษต่อพระองค์ในความผิดของเจ้า และจงแซ่ซ้องสดุดีด้วยการสรรเสริญพระเจ้าของเจ้าทั้งในยามเย็นและในยามเช้า” ( ซูเราะฮฺ ฆอฟิร โองการที่ 55)

ดังนั้น อิสลามสอนให้มุสลิมผู้ศรัทธาให้มีความสามารถในการเผชิญหน้ากับปัญหาและอุปสรรคอย่างองอาจ โดยที่ต้องปฏิบัติ ดังนี้

-ศรัทธาและยำเกรงต่ออัลลอฮ โดยการหมั่นเข้าหาอัลลอฮฺ ด้วยการปฏิบัลอิบาดะฮฺ และระลึกถึงอัลลฮฺอยางสม่ำเสมอ

-พึงพอใจต่อบททดสอบหรือการลิขิตของอัลลอฮฺ

- ยอมรับและอดทนต่อบททดสอบหรือการลิขิตของอัลลอฮฺ

-มีความหวังต่อการช่วยเหลือของอัลลอฮฺ

-ขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮฺอย่างสม่ำเสมอ

-มีความมานะพยายามที่จะฝ่าฟันปัญหาและอุปสรรค

- หมั่นขออภัยโทษต่อพระองค์จากความผิดที่ได้กระทำลงไป

- หมั่นรำลึกถึงอัลลอฮฺด้วยการซิกรุลลอฮฺ

คำสำคัญ (Tags): #aq
หมายเลขบันทึก: 593307เขียนเมื่อ 10 สิงหาคม 2015 16:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 สิงหาคม 2015 16:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท