ชีวิตที่พอเพียง : ๒๔๗๐. คิดคนเดียว


..................................นี่คือดัชนีบอกอารยธรรมในสังคม ที่ระบบการศึกษาไทยควรฝึกเด็กไทย


ค่ำวันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๕๕๘ ผมเดินจากสนามบินดอนเมือง ข้ามทางเดินข้ามถนนไปยังโรงแรม อมารี แอร์พอร์ต ไปยืนรอรถแท็กซี่ที่ริมถนนหน้าโรงแรม ตามที่ปฏิบัติเป็นประจำ เมื่อลงเครื่องบินที่ดอนเมือง

แต่คราวนี้มีเหตุการณ์แปลก ที่นำมาสู่บันทึกนี้

ผมยืนรออยู่ราวๆ ๑๐ นาที ทันใดนั้นก็มีหนุ่มสาวคู่หนึ่งเดินออกมาจากในโรงแรม และมายืนรอรถแท็กซี่หน้าผม และเมื่อรถแท็กซี่มา เขาก็เรียกตัดหน้าผม ผมก็ไม่ได้ว่าอะไร

แต่ผมก็กลับมาทำ reflection กับตัวเอง ว่าหากเหตุการณ์กลับกัน มีคนรอรถแท็กซี่อยู่ก่อน แล้วผมมาทีหลัง ผมจะทำอย่างไร

ผมบอกตัวเองว่า ผมจะไปรอหลังเขา และเปิดโอกาสให้เขาเรียกก่อน เป็นการเข้าคิวโดยไม่ต้องมีคิว ผมถือเป็นมรรยาท ที่จะต้องไม่เห็นแก่ได้โดยไม่เคารพสิทธิของคนอื่น นี่คือดัชนีบอกอารยธรรมในสังคม ที่ระบบการศึกษาไทยควรฝึกเด็กไทย

ผมไม่ได้สูญเสียอะไรเลยจากความประพฤติไม่เหมาะสมของหนุ่มสาวคู่นั้น แต่กลับได้เรียนรู้ และได้เรื่องจากชีวิตจริงมาเขียนบันทึก



วิจารณ์ พานิช

๒๘ มิ.ย. ๕๘


หมายเลขบันทึก: 593230เขียนเมื่อ 7 สิงหาคม 2015 17:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 สิงหาคม 2015 17:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขออนุญาตนำไปเป็นกรณีศึกษาสอนเด็กๆ ประถมในห้องของตนเองนะค

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท