นุชรัตน์
ดร. นุชรัตน์ ประสิทธิศิลป์ชัย

บันทึกการนิเทศ : โรงเรียนหนองแวงแสน


บางครั้งการสอนแบบคละชั้น ก็ยังมีความจำเป็น ครูเกรงว่า จะผิด ถ้าไม่สอนกับโทรทัศน์ ดิฉัน ได้ให้กำลังใจว่า ให้ค้นพบวิธีการของตัวเองให้เจอ ..เด็กวัยนี้เขาอยู่ในวัยใกล้เคียงกัน ทั้งด้านอายุ ความสามารถ เขาก็น่าจะ สอนไปพร้อมกันได้

บันทึก วันที่ 6 สิงหาคม 2558

โรงเรียนหนองแวงแสน เป็น รร.ขนาดเล็กมาก นักเรียน 36 คน แต่จัดการศึกษาตั้งแต่ ปฐมวัย - ป.6 รวมมีชั้นเรียนที่เปิดสอน 8 ชั้นเรียน สภาพทั่วไป สอนร่วมกับ dltv ทุกวิชา ในชั้น ป.4-6 สำหรับ ป.1-3 ดูบ้างเป็นบางครั้งในบางวิชา และ ชั้นปฐมวัย มีครู (ชาย) จาก อบต.มาช่วย ดูแล เด็ก
บริบท : โรงเรียนมีพื้นเป็นสัดส่วน ขนาดเล็ก ทำให้ดูแลรักษาไม่ยาก บริเวณรอบโรงเรียน สะอาด ไม่พบเศษกระดาษเกลื่อน (ไม่มีแม่ค้า ใน ร.ร.) มีครู ประจำการ 2 คน ผอ. 1 คน ครูไม่ครบชั้น

กิจกรรมวันนี้ : เยี่ยมชั้นเรียน และ ประชุมวางแผนเป้าหมายการอ่านออกเขียนได้ ในชั้น ป.1-2

สะท้อนผลการนิเทศการศึกษา

ทุกชั้นเรียน ควรมีการปรับปรุงบรรยากาศ ให้น่าเรียน เอื้อต่อการเรียนรู้

1. ชั้นปฐมวัย ควรได้รับการนิเทศภายใน เอาใจใส่กว่าทุกชั้น หลังจากที่ ได้เข้าไปพูดคุยกับเด็กนักเรียน พบว่า ยังไม่สามารถเก็บของเข้าที่ วางข้าวของไม่เป็นระเบียบ ทั้งนี้ อาจเนื่องมาจาก ผู้ดูแลเด็กเพิ่งเข้ามาดูแล และไม่มีประสบการณ์มาก่อน ดังนั้น จึงต้องมีการวางแผนการจัดกิจกรรมในแต่ละวัน เตรียมสื่อ อุปกรณ์ การเรียนให้พร้อม


2. ชั้นเรียน ป.1-3 หลังจาก หลังจากพูดคุยกับคุณครู พบว่า ต้องรับผิดชอบ 3 ชั้นเรียน และบางครั้ง จะต้องดูแล นักเรียนอนุบาล อีก 2 ชั้น (คงคาดเดาได้ว่า บรรยากาศ จะ เป็นอย่างไร) เราได้พูดคุยกันในหลายเรื่อง สอบถาม สิ่งที่ทำอยู่ในปัจจุบัน .และ ปัญหาในชั้นเรียน หลังจากนั้น เราได้คุยกันว่า

"บางครั้งการสอนแบบคละชั้น ก็ยังมีความจำเป็น ครูเกรงว่า จะผิด ถ้าไม่สอนกับโทรทัศน์ ดิฉัน ได้ให้กำลังใจว่า ให้ค้นพบวิธีการของตัวเองให้เจอ ..เด็กวัยนี้เขาอยู่ในวัยใกล้เคียงกัน ทั้งด้านอายุ ความสามารถ เขาก็น่าจะ สอนไปพร้อมกันได้ แต่การมอบหมายภาระงาน ก็ ต้องดู ความสามารถเด็กแต่ละคน . คุณครู บอกว่า แต่ก่อน สอนคละชั้น มั่นใจ และนักเรียนก็มีความสามารถ แต่เมื่อเป็นนโยบาย จึงพยายามสอนร่วมกับทีวี (แต่ต้องดูแลเด็ก หลายชั้นมาก) ณ ทุกวันนี้ ได้พยายาม คือ ให้เด็กดู DLTV ไปพร้อมกัน ในวิชา วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา และ ภาษาอังกฤษ สำหรับวิชาอื่น ครูจะ สอนเองเน้นการสอน ด้วยสื่อ BBL ซึ่งได้นำมาให้ดู ค่อนข้างเยอะ มาก ซึ่ง เราก็ให้กำลังใจซึ่งกันและกัน

หลังจากนั้น ได้ร่วมกันวางแผนกำหนดเป้าหมาย โดยครู ได้กำหนดเป้า การสอนให้ในแต่ละระดับชั้น โดยบอกว่านักเรียนสามารถทำได้ ทั้ง ป.1-2 ครบ 100 เปอร์เซ็น และจะทำเครื่องมือ ตรวจสอบผู้เรียน 12 ฉบับ ว่าเด็กบรรลุเป้าหรือไม่เพียงใด (เยี่ยมมากค่ะ)

3. ชั้น ป.4-6 ดูโทรทัศน์ ทั้ง 3 ชั้น อยู่ในห้องเดียว (อธิบายไม่ถูก) ภายในชั้นเรียน บรรยากาศ ค่อนข้างเล็กและแคบ (....) คุณครู เอาใจใส่มาก และ ดูทีวี ไปพร้อมๆ กับ นักเรียน กำกับวิธีการเรียนรู้ ดิฉัน สังเกตว่า นักเรียนไม่มีใบงาน เท่าใดนัก แต่จะมีเพียงการกำกับ การบันทึกและจด ..โดยครู

เริ่มทดสอบ ผู้เรียน

- ชั้น ป.4 ได้ใช้คำถามนักเรียน ว่า "เรียนเรื่องอะไรจบไป .. "คำเชื่อม" คำถามที่..(1).แล้วหมายถึงอะไร .."นร.ตอบไม่ได้" ... (2).ถ้าอย่างนั้นให้ยกตัวอย่างประโยคที่มีคำเชื่อม ให้ครูฟังคนละประโยค ... พ่อไปนาแต่ฉันจะดูโทรทัศน์ ..น้องไปตลาดและพ่อจะกินข้าว ...(4. นักเรียนเก่งมาก ตอบได้ แล้วคำใดเป็นคำเชื่อม)...คำว่า และ กับ แต่ ...(5. แล้วคำเชื่อมหมายถึงอะไร)...นรตอบไม่ได้ ... ชั้น ป.5 , 6 ก็เป็นไปในทำนองเดียวกัน ..

- ศน. ได้ กำหนดภารกิจการเรียน ใน ชม.ต่อไป ให้ นร.ป.4 ป.5 และ ป.6 ดู DLTV (มี 3 จอ) และ หลังจากดูจบ ให้ ตั้งคำถาม คนละ 2-3 คำถาม เพื่อจะมา ถามเพื่อน ด้วยกัน ผลเป็นดังนี้

นักเรียน ป.4 เขียนคำถามได้ทั้ง 4 คน
นักเรียน ป.5 ไม่ได้ให้เขียนคำถาม แต่เมื่อให้ตั้งคำถาม ก็ พอจะตั้งได้ ทุกคน
นักเรียน ป.6 เขียนคำถามได้ 2 คน (แต่ไม่ใช่ประโยคคำถามในบางข้อ)


นักเรียนชั้น ป.6 ยังตั้งคำถามไม่เป็น (แต่ถ้าฝึกบ่อยๆ เด็กจะได้เอง)


หลังจากนั้นให้นักเรียนมาอ่านคำถาม ที่ตัวเองตั้ง ให้พื่อน ตอบ เพื่อนก็ตอบ แต่ไม่ตรงกับ เฉลย ที่ตัวเองเขียนไว้ นร.ก็บอกว่า ผิด .... ซึ่งกิจกรรมนี้ ดิฉัน ได้สาธิตให้ คุณครูดู

และ สรุปว่า ทุกชั่วโมงเรียน จะต้องมีการสรุปบทเรียนร่วมกับนักเรียน ที่จริงแล้ว ถ้าจะเป็นการดี ครูควรเตรียมคำถาม ไว้ล่วงหน้า แต่ถ้า ทำไม่ไหว ก็ลองให้นักเรียน ตั้งคำถาม ..ความหมาย ..องค์ประกอบ ..การประยุกต์ใช้ .. คำถาม นร. แรกๆ อาจจะไม่ต้องซับซ้อนมาก แต่ถ้า บ่อยๆ เด็กเขาจะทำได้ และทำได้ดีขึ้นเรื่อย ๆ

ดิฉัน ชื่นชม นร.ป.4 ที่สามารถตั้งคำถาม (โดยเด็กบอกไม่ได้ลอกกันเลย) และสามารถ อภิปรายร่วมกับ ศน.ได้ว่า ที่สาธารณะ คืออะไร อย่างไร จึงเรียกว่า ที่สาธารณะ และ วิธี ดูแล ที่สาธารณะร่วมกันเป็นอย่าง ไร และ เปิดมุมมอง จากคำตอบ ของเพื่อนๆ

เป็นเพียง เทคนิคเล็กๆ สำหรับ คุณครู "คือการใช้คำถามเพื่อสรุปบทเรียนร่วมกัน" ตัวคุณครู อยู่กับนักเรียนตลอดเวลา . ถ้าทำบ่อยๆ จะชำนาญ และจะ เห็น เทคนิคใหม่ๆ มากๆ ขึ้น ไม่ต้องไปหาตำราอ่านเลย .. การสอนแบบใดก็ดีทั้งนั้น ถ้าครูค้นพบตัวเอง

ขอบคุณทุกท่านค่ะ






- การดูแลรักษาโต๊ะ ..

หมายเลขบันทึก: 593190เขียนเมื่อ 6 สิงหาคม 2015 15:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 สิงหาคม 2015 19:21 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท