ทำไมจึงต้องมีหลักสูตรนักถักทอชุมชน


บางท่านอาจจะสนใจและสงสัยว่า "ทำไมจึงต้องมีหลักสูตรนักถักทอชุมชน" เรื่องนี่มีคำตอบจาก อ.ทรงพล เจตนาวณิชย์ หัวหน้าโครงการพัฒนาเยาวชนในชุมชนท้องถิ่น (4 ภาค) ระยะที่ 2 : หลักสูตรนักถักทอชุมชน เพื่อพัฒนาเด็ก เยาวชนและครอบครัว

อ.ทรงพล เล่าว่า "สรส. ทำงานร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ในพื้นที่เป้าหมายหมายโครงการฯ ร่วมทำเวทีประชาคม เสียงสะท้อนความห่วงใยกังวลเกี่ยวกับลูกหลานจากผู้นำชุมชน ผู้นำท้องถิ่น ผู้ใหญ่ใจดีและพ่อแม่ผู้ปกครองพบว่า พฤติกรรมของเด็กและเยาวชนในปัจจุบันแทบไม่แตกต่างกันเลย ทั้งความใจร้อน นอนดึก ตื่นสาย ติดโทรศัพท์ ติดเกม ไม่ช่วยงานบ้าน ไม่ชอบเรียนหนังสือ ไม่ทำการบ้าน หนีเรียน ก้าวร้าว มั่วสุม ติดเหล้า ติดยา ทะเลาะวิวาท มีเพศสัมพันธ์ก่อนวัน ฯลฯ " (อ่านแล้วอย่าเพิ่งคิดว่าเด็กเยาวชนจะมีพฤติกรรมเป็นแบบนี้เหมือนกันหมดนะค่ะ นี่เพียงแค่ข้อกังวลจากการทำกระบวนการเรียนรู้ร่วมกับกลุ่มตัวอย่างในพื้นที่เป้าหมายของโครงการค่ะ) ซึ่งสาเหตุพฤติกรรมเหล่านี้มาจาก "ครอบครัว" ที่พ่อแม่ ผู้ปกครองมีความจำเป็นต้องหารายได้เพื่อเศรษฐกิจครอบครัว ไม่มีเวลาดูแล เอาใจใส่ อบรมสั่งสอนลูกหลาน ปล่อยปะละเลยต้องฝากให้ปู่ย่าตายายดูแล ทำให้เด็กขาดความรัก ความอบอุ่น จำเป็นต้องการแสวงหาความสุขจากสภาพแวดล้อมและสังคมรอบตัว อีกทั้งพ่อแม่ผู้ปกครองยังขาดความรู้ความเข้าใจในการเลี้ยงดูลูกในแต่ละช่วงวัยที่เหมาะสม รวมถึงพ่อแม่ผู้ปกครองที่ไม่สามารถทำหน้าที่ "ครูคนแรก" ในการสอน "วิชาชีวิต" ให้กับลูกหลานได้ มอบภาระให้ "วัด/พระสงฆ์" ทำหน้าที่อบรมสอนธรรมะ ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม "โรงเรียน/ครู" ทำหน้าที่สอน "วิชาการ" เพื่อให้มีความรู้ สติปัญญา แต่ทว่ายังมิสามารถแก้ปัญหาพฤติกรรมเหล่านั้นได้ สถานการณ์ปัญหาด้านเด็กเยาวชนกลับมีแนวโน้มทวีความรุนแรงมากขึ้น

จากโจทย์แนวคิดว่า "ทำอย่างไรจะให้ทุกฝ่ายในชุมชน มีส่วนร่วมพัฒนาลูกหลานในชุมชนร่วมกัน...ต้องเชื่อมร้อยและถักทอเพื่อสร้างเบ้าหลอมที่ดี ดังนั้น บทบาทหน้าที่เป็น "นักถักทอชุมชน" ต้องเป็นคน/หน่วยงานในชุมชน ที่มีทั้งนโยบาย แผนงาน งบประมาณสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง มีคนทำงานที่เกี่ยวข้องกับชุมชนโดยตรง เพื่อให้สามารถขับเคลื่อนกลไกด้านการ พัฒนาเด็ก เยาวชนและครอบครัวได้อย่างยั่งยืน นั่นก็คือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) แต่ทว่าการพัฒนาศักยภาพของเจ้าหน้าที่ อปท. เช่น นักพัฒนาชุมชน หัวหน้าส่วนการศึกษา เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน ฯลฯ เป็นเรื่องสำคัญยิ่ง ที่ต้องเน้นการลงมือปฏิบัติจริงบนฐานงานชุมชนและกิจกรรม/โครงการ/โครงงานเด็กเยาวชนโดยตรง ที่อาจจะไม่คุ้นเคยกับวิธีการทำงานอย่างมีส่วนร่วมกับชุมชน จำเป็นต้องมีเครื่องมือ กระบวนการส่งเสริมการเรียนรู้ที่หลากหลาย จึงเป็นที่มาของความร่วมมือในการพัฒนา "หลักสูตรนักถักทอชุมชน"

หมายเลขบันทึก: 593155เขียนเมื่อ 5 สิงหาคม 2015 11:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 สิงหาคม 2015 11:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ชอบใจโครงการ

ไม่ได้พบพี่ทรงพลนานมากๆครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท