ตัวอย่างรูปแบบงานวิจัย R2R มะเร็งและ Inspiration ในการเริ่มต้น


ตัวอย่างรูปแบบงานวิจัย R2R มะเร็งและ Inspiration ในการเริ่มต้น

----------------------------------------------------------------------------
จากประสบการณ์ที่ได้รับขับเคลื่อน R2R ในโรงพยาบาลมะเร็งต่างๆ อาทิเช่น โรงพยาบาลมะเร็งอุบลราชธานี โรงพยาบาลมะเร็งลพบุรี และสถาบันมะเร็งแห่งชาติ พบว่ามีอยู่สามสี่ลักษณะ ดังนี้

รูปแบบงานวิจัย R2R เชิงคลินิก เช่น


- ผลของการใช้รูปแบบการถ่างขยายช่องคลอด4ทิศทางในผู้ป่วยมะเร็งนรีเวชที่มาตรวจติดตามในคลินิกนรีเวช รพ.มะเร็งภายหลังการรักษาด้วยวิธีฉายแสงและใส่แร่ต่อการลดลงของภาวะช่องคลอดตีบ (รพ.มะเร็งลพบุรี)
- ผลของการใช้โปรแกรมการเพิ่มทักษะผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักที่ต้องได้รับการผ่าตัดทวารเทียม(colostomy)ให้มีประสิทธิภาพในการดูแลทวารเทียม (รพ.มะเร็งลพบุรี)

โดยส่วนใหญ่เป็นงานของพยาบาล ในส่วนที่ลึกซึ้งลงไปอีกก็จะเป็นของแพทย์...แต่พบว่าแพทย์ในโรงพยาบาบาลมะเร็งทำในเรื่อง R2R น้อยอาจเนื่องมาจากภาระงานมาก และจำนวนแพทย์น้อยลง และมีอัตราการลาออกสูง

Lean R2R เช่น
- ประสิทธิภาพการใช้แนวทางปฏิบัติการให้สารน้ำทางหลอดเลือดต่อการลดจำนวนครั้งของการแทงเข็ม IV catheter ในผู้ป่วยที่ให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำส่วนปลาย
- ผลของการปรับรูปแบบการรับคำสั่งแพทย์ต่อการเพิ่มคุณภาพ/ประสิทธิภาพของพยาบาล Incharge
หรือ
- แบบฟอร์มมาตรวจสอบเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดูแลผู้ป่วยมะเร็งลำไส้และทวารหนักที่ได้รับการผ่าตัดแบบมีทวารทางหน้าท้อง
(อ้างอิงงาน R2R รพ.มะเร็งลพบุรี)
เรื่อง Lean เป็นเรื่องที่ข้าพเจ้ารู้สึกว่ามีความทันสมัย...สามารถนำมาเชื่อมโยงกับงานทุกงานได้ และคุณค่าประโยชน์ที่กิดขึ้นเห็นผลชัดเจนในคนทำงานและผู้รับบริการ
ส่วนการผลักดันให้เกิดการทำ R2R ในหน่วยงานสนับสนุนยังมีน้อย ถ้าสามารถร้อยเรียงเชื่อมโยงให้เกิดการทำทุกองค์ประกอบจะเห็นเป็นภาพของการพัฒนาที่เป็นระบบร้อยเรียงชัดเจนขึ้น

ในส่วนของงานสนับสนุนก็มี...ซึ่งก็ดูเหมือนไม่แตกต่างจากลักษณะงาน R2R ในกลุ่มอื่นๆ นัก...เช่น การศึกษาความคงตัวของสารควบคุมคุณภาพเครื่องตรวจนับเม็ดเลือดอัตโนมัติ sysmex รุ่น XN 2000 ตัวอย่างงานนี้เป็นงานของเทคนิคการแพทย์ และอาจดูเหมือนไปเกี่ยวข้องในเรื่อง Lean ด้วย...และมีเรื่องของ cost หรือต้นทุนเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย

หรือ...ประสิทธิผลของโครงการพัฒนาพยาบาลพี่เลี้ยงต่อบทบาทของพยาบาลพี่เลี้ยงกลุ่มภารกิจบริการวิชาการ
(อ้างอิง งาน R2R รพ.มะเร็งลพบุรี)

และเท่าที่ผ่านมามีผลงาน R2R หลายเรื่องที่ถูกนำเสนอในเวทีประชุมวิชาการ ดั่งเช่นงาน วิจัย R2R ของโรงพยาบาลมะเร็งอุบลราชธานี ซึ่งดูเป็นที่น่าชื่นใจยิ่งนัก ...

ข้าพเจ้ามองว่า R2R เป็นเรื่องที่ใกล้ตัวมาก เมื่อเรามองปัญหาที่เกิดขึ้นในหน้างานเราออกและสามารถนำไปสู่การตั้งคำถามการวิจัยที่นำไปสู่การแสวงหาคำตอบ ก็จะทำให้คนทำงานประจำรู้สึกสนุกสนานกับการทำงานและพัฒนางานที่ตนเองทำในชีวิตประจำวันได้อย่างสนุกและเป็นเรื่องที่ท้าทาย...

ทักษะทางการวิจัย...
เป็นเรื่องที่คนทำงานประจำพึงฝึกฝนให้คุ้นเคย
อาจดูเหมือนเป็นเรื่องที่ไกลตัว ...แต่เมื่อเราคุ้นชินเราจะรู้สึกสนุกและง่าย

ความยากอาจอยู่ที่เรื่องแรก และเมื่อเรื่องถัดๆ จะเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น สำคัญตรงที่ว่าเรื่องแรกนั้นเราได้พบกับประสบการณ์ที่ดีที่ประทับใจในการทำหรือไม่ เพราะหากเรื่องแรกเราเกิดความอึดอัดใจ เรื่องต่อๆ ไปจะไม่อยากทำ....

ดังนั้น ...การสร้างแรงบันดาลใจ หรือ Inspiration จึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่ผู้จัดกระบวนการการเรียนรู้ R2R ให้เกิดขึ้นในการทำงาน...ดั่งที่ท่าน ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช เคยกล่าวถึงเป้าหมาย R2R ไว้ว่า ... "ส.ป.ก. สุข-ปัญญา-ก้าวหน้า" ...คนทำงานต้องมีความสุขมีแรงบันดาลใจในการทำงาน...

...
๑๓ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๘
ตอนที่ ๒ ตัวอย่างงาน R2R ในโรงพยาบาลมะเร็ง

หมายเลขบันทึก: 592321เขียนเมื่อ 13 กรกฎาคม 2015 19:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 กรกฎาคม 2015 19:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท