การศึกษาของฮ่องกงในรูปแบบ "งานสร้างคน"



ฮ่องกง ใช้งบประมาณให้กับการศึกษา สูงมาก คือปีละประมาณ340,000ล้านบาท เทียบงบประมาณต่อคนแล้วมากกว่าเรา7-8เท่าและถึงแม้จะมีเงินจากรัฐมากขนาดนี้ การเรียนฟรี ของเขาก็มีแค่12 ปีเท่าเราดังนั้น การเรียนฟรีของที่นี่จึงมีคุณภาพมาก โรงเรียนระดับประถม เน้นเรื่องครอบครัวและสังคม ส่วนโรงเรียนระดับมัธยมแบ่งเป็นสองช่วงเหมือนบ้านเราคือมอต้นและมอปลาย แต่ที่นี่จะมีการปรับเปลี่ยนหลักสูตรให้ทันโลกและการเปลี่ยนแปลงของสังคม อยู่อย่างต่อเนื่อง

ในช่วง5-6 ปีมานี้ ฮ่องกงปรับการศึกษา โดยเน้น ให้เด็กที่จบมอสามไปเรียนต่อและทำงานสมัยใหม่ ในสถาบันวิชาชีพ ที่เน้นการทำงานและสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ โดยไม่จำเป็นต้องเรียนต่อมอปลาย เด็กมอสามที่เรียนสายอาชีพ สามารถทำงานและเรียนในระดับมหาวิทยาลัยไปพร้อมๆกันได้สำหรับเด็กที่กำลังเรียนมอปลาย ก็มีการส่งเสริมให้ค้นหาตนเองให้เร็วที่สุด เพราะก่อนหน้านี้เด็กส่วนใหญ่ที่นี่เรียนเพื่อสอบแข่งขันเหมือนบ้านเรา และจะมีปัญหาตอนเรียนต่อระดับมหาวิทยาลัยเพราะเรียนต่อเนื่องมาแบบไม่รู้ว่านั่นคือสิ่งที่ตนเองถนัดหรือไม่

การศึกษาของฮ่องกงในรูปแบ
ฮ่องกงจึงปรับหลักสูตรมอปลายให้ยืดหยุ่นโดย เปิดโอกาสให้นักเรียนมีประสบการณ์ในการทำงานมากขึ้น โดยจัดทำโครงการให้สถาบันวิชาชีพด้านต่างๆร่วมนำหลักสูตรแบบเน้นการทำงานจริงเข้าสู่ โรงเรียน เพื่อให้เด็กมอปลายได้เรียนและฝึกทำงานในสาขาอาชีพสมัยใหม่ที่แต่ละคนสนใจ โครงการอย่างนี้แหละครับที่จะช่วยให้เด็กเรียนต่ออย่างมีเป้าหมายมากกว่าเดิม
แนวคิดและวิธีการแบบนี้เป็นเรื่องน่าสนใจ ประเทศพัฒนาแล้วจะความรับผิดชอบต่อคุณภาพการศึกษาเพราะเขาถือว่าถ้าเด็กเรียนจบมาแล้ว ทำงานไม่ได้ หรือไม่มีงานทำ รัฐบาลต้องรับผิดชอบ ต่อการจัดการศึกษา ที่ทำให้ผู้เรียนจบมาแล้วตกงาน ใครหางานทำไม่ได้ รัฐต้องช่วย ใครยังไม่มีงานรัฐต้องรับผิดชอบ เมื่อปีที่ผ่านมารัฐมนตรีช่วยกระทรวงศึกษาธิการของออสเตรเลียประกาศโครงการ คล้ายๆที่ฮ่องกง คือให้เด็กมัธยม เรียนรู้การทำงาน และถ้าใครพร้อมก็สามารถเริ่มทำงานได้เลย โดยรัฐมีทุนให้เริ่มกิจการเล็กๆของตนเอง เรียนไปด้วยทำงานไปด้วยก็ได้ หรือจะทำงานไปสักพักแล้วจะมาเรียนต่อก็ได้โครงการนี้ช่วยให้เด็กไม่ต้องห่วงเรื่องการเรียนในหลักสูตรเพราะมีการคิดชั่วโมงการเรียนวิชาชีพและชั่วโมงทำงาน แทนการนั่งเรียนในโรงเรียนแบบเดิม
เป็นแนวทางการศึกษาที่ดีมากค่ะ นอกจากเด็กได้ทักษะความรู้ทางวิชาการ ยังได้ทักษะในการใช้ชีวิตรวมถึงทักษะการทำงาน เป็นการเตรียมพร้อมเด็กให้ใช้ชีวิตในศตวรรษที่ 21 ได้อย่างมีเป้าหมายอีกด้วย

ขอบคุณภาพ ขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก PocketBook เส้นทางสู่อนาคต โดยอาจารย์วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์ และคุณปรัชญาพร วรนันท์



หมายเลขบันทึก: 592317เขียนเมื่อ 13 กรกฎาคม 2015 17:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 กรกฎาคม 2015 17:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท