สถาปัตยกรรมคุก ตอน คุกเมือง


คุกเมือง หรือ เรือนจำเมือง โครงการคุกในอนาคต 499. SUMMIT ของสหรัฐอเมริกา ได้รับการออกแบบโดยสถาปนิกแอนเดรี เทียวฟลาส และ เกร็ก นาบลอท ภายใต้แนวความคิดความเชื่อที่ว่าสถานที่ตั้งของคุกที่เหมาะสมในการปรับตัวของนักโทษคืนสู่สังคมและลดการกระทำความผิดซ้ำควรตั้งอยู่ในเมือง เพราะใกล้กับครอบครัว เพื่อน โอกาสในการทำงานบริการ ช่วยให้นักโทษมีทัศนคติในเชิงบวก และ มีความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของสังคม ประกอบด้วยอาคารสูงเสียดฟ้ารูปโค้งทรงเรขาคณิต 3 อาคารซ้อนกัน แบ่งกระบวนการฟื้นฟูสมรรถภาพเป็น 3 ขั้นตอน การควบคุมนักโทษในอาคารจะถูกกำหนดโดยความคืบหน้าของพฤติกรรม ขั้นตอนแรกเริ่มต้นที่ชั้นล่างในแดนการรักษาความปลอดภัยสูง แดนสะพานโค้ง และเมื่อนักโทษพร้อมที่จะกลับไปสู่สังคมจะให้ลงไปที่แดนชั้นล่างซึ่งสูงไม่กี่ชั้นจากระดับถนน เพื่อรองรับการปรับตัวของนักโทษคืนสู่สังคม........................


สถาปัตยกรรมคุก ตอน คุกเมือง


วินัย เจริญเฉลิมศักดิ์ นบ. นม.



คุกเมือง หรือ เรือนจำเมือง เป็นเรื่องเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมคุก หรือ สุดยอดแห่งจิตนาการคุกของสหรัฐอเมริกา หรือที่ต้นฉบับใช้ชื่อว่า 499.SUMMIT Reimagines U.S. Prisons บทความจากเว็บไซต์ http://www.huffingtonpost .com/ 2012/04/22/us-prisons_n_1443693.html โดย Karissa Rosenfield พบว่า 499.SUMMIT โครงการคุกในอนาคตได้รับการออกแบบให้ตั้งอยู่ในเมือง โดยสถาปนิก แอนเดรี เทียวฟลาส และ เกร็ก นาบลอย นักศึกษาที่มหาวิทยาลัยเพนซิล ดำเนินงานออกแบบภายใต้แนวคิดในการแก้ไขฟื้นฟูนักโทษคืนสู่สังคม และ การลดการกระทำความผิดซ้ำ แนวคิดที่เชื่อว่าลักษณะทางกายภาพของคุกแบบดั้งเดิมไม่รองรับการปรับตัวของนักโทษคืนสู่สังคม แนวคิดที่เชื่อว่าลักษณะทางกายภาพคุกที่ผ่านมาอาจส่งผลกระทบทางสังคมวิทยาของคุก ซึ่งผู้ออกแบบและเจ้าของโครงการเห็นว่าระบบเรือนจำสหรัฐอเมริกาขาดความก้าวหน้าและล้มเหลวตลอดศตวรรษที่ผ่านมา และ แนวคิดที่เชื่อว่าลักษณะทางกายภาพของคุกใหม่ (คุกเมือง) จะรองรับการปรับตัวของนักโทษคืนสู่สังคม และช่วยลดการกระทำความผิดซ้ำ ด้านลักษณะของ 499.SUMMIT ประกอบด้วยอาคารสูงเสียดฟ้ารูปโค้งทรงเรขาคณิต 3 อาคารซ้อนกัน โดยลักษณะอาคารสถานที่ซึ่งสถาปนิกเชื่อว่าจะเอื้อให้นักโทษได้มีโอกาสสัมผัสกับปฏิสัมพันธ์ทางสังคมในระดับที่เพิ่มขึ้น ดังตัวอย่างภาพแสดงคุกเมือง ดังนี้


คุกเมืองของแอนเดรี เทียวฟลาส และ เกร็ก นาบลอท



คุกเมืองของแอนเดรี เทียวฟลาส และ เกร็ก นาบลอท



คุกเมืองของแอนเดรี เทียวฟลาส และ เกร็ก นาบลอท


คุกเมืองของแอนเดรี เทียวฟลาส และ เกร็ก นาบลอท

คุกเมืองของแอนเดรี เทียวฟลาส และ เกร็ก นาบลอท



คุกเมืองของแอนเดรี เทียวฟลาส และ เกร็ก นาบลอท



คุกเมืองของแอนเดรี เทียวฟลาส และ เกร็ก นาบลอท



คุกเมืองของแอนเดรี เทียวฟลาส และ เกร็ก นาบลอท



โดยสรุป

499. SUMMIT โครงการคุกในอนาคตของสหรัฐอเมริกา ของแอนเดรี เทียวฟลาส และ เกร็ก นาบลอท ดำเนินงานภายใต้แนวความคิดความเชื่อ ที่ว่าสถานที่ตั้งของคุกที่เหมาะสมในการปรับตัวของนักโทษคืนสู่สังคม และ ลดการกระทำความผิดซ้ำควรตั้งอยู่ในเมือง เพราะใกล้กับครอบครัว เพื่อน โอกาสในการทำงานบริการ และช่วยให้นักโทษมีทัศนคติในเชิงบวก และ มีความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของสังคม ประกอบด้วยอาคารสูงเสียดฟ้ารูปโค้งทรงเรขาคณิต 3 อาคารซ้อนกัน แบ่งเป็นกระบวนการฟื้นฟูสมรรถภาพเป็น 3 ขั้นตอน การควบคุมนักโทษในอาคารจะถูกกำหนดโดยความคืบหน้า ของพฤติกรรม ขั้นตอนแรกเริ่มต้นที่ชั้นล่างในแดนการรักษาความปลอดภัยสูง ในแดนสะพานโค้ง และเมื่อนักโทษพร้อมที่จะกลับไปสู่สังคมจะให้ลงไปที่แดนชั้นล่างซึ่งสูงไม่กี่ชั้นจากระดับถนน เพื่อรองรับการปรับตัวของนักโทษคืนสู่สังคม ซึ่งในทางปฏิบัติโครงการคุกในอนาคต หรือ คุกเมืองของ 2 สถาปนิก ดังกล่าว จะสามารถดำเนินการได้หรือไม่อย่างไร เห็นว่าเป็นเรื่องของอนาคต ซึ่งผลการดำเนินการตามโครงการมีความคืบหน้าประการใดคงจะต้องอดใจ รอคอยติดตามกันต่อไป


..............................




หมายเลขบันทึก: 592291เขียนเมื่อ 12 กรกฎาคม 2015 21:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กรกฎาคม 2015 22:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่าน


ความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท