การพิจารณาคดีเด็กและเยาวชน


การพิจารณาคดีเด็กและเยาวชน

เริ่มต้นที่การจับกุม จะมีกรณีจับกุมโดยตำรวจกับไม่มีการจับกุมคือผู้ต้องหาเข้ามามอบตัวเองอาจจะด้วยพ่อแม่พามาก็ได้

เมื่อมีการจับกุม กรณีตำรวจจับ ก็จะต้องนำผู้ต้องหามาที่โรงพักที่มีเขตอำนาจเพื่อให้พนักงานสอบสวนที่รับผิดชอบได้สอบถามเบื้องต้น ก็จะเป็นการสอบถามประวัติส่วนตัวของผู้ต้องหา เมื่อเสร็จ พนักงานสอบสวนก็จะต้องพาเด็กไปให้ศาลที่มีเขตอำนาจภายในเวลา 24 ชั่วโมงไม่รวมเวลาเดินทาง เพื่อให้ศาลพิจารณาว่าจะคืนเด็กให้พ่อแม่หรือส่งตัวเด็กไปสถานแรกรับ (เป็นส่วนหนึ่งของสถานพินิจ) หากศาลให้คืนตัวเด็กแก่พ่อแม่ ศาลต้องมีคำสั่งด้วยว่าต้องนำตัวเด็กมาให้ พนักงานสอบสวนภายในเวลา ... (แล้วแต่ความสะดวกของ พนง.สส) และตำรวจก็จะกลับไปสอบสวนรวบรวมพยานหลักฐานต่อ ในระหว่างนี้ก็จะมีเรียกตัวเด็กมาสอบสวน ซึ่งต้องมี การจัดสรรห้อง และมีสหวิชาชีพ อัยการ และที่ปรึกษากฎหมาย โดยทปษ.กม. จะอยู่ฝ่ายผู้ต้องหาเด็ก อัยการหรือพนง.สส จะถามอะไรเด็กที่เป็น ผู้เสียหายหรือผู้ต้องหา ต้องถามผ่านสหวิชาชีพ

เมื่อครบต้องส่งสำนวนให้อัยการพร้อมความเห็นว่าจะสั่งฟ้องไม่ฟ้อง ภายใน 30 วัน (ระยะเวลาของตำรวจกับอัยการคือทำงานด้วยกัน แต่ตำรวจจะใช้เวลาเป็นส่วนใหญ่) หากรวบรวมไม่ทัน 30 วัน กรณีจะแยกเป็นอัตราโทษ คือ

โทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน มีเวลา 30 วันเท่านั้น

โทษจำคุกเกิน 6 เดือน แต่ไม่เกิน 5 ปี ขอผัดฟ้องได้ 2 ครั้ง ครั้งละ ไม่เกิน 15 วัน

โทษจำคุกเกิน 5 ปี ขอผัดฟ้องได้ 4 ครั้ง ครั้งละไม่เกิน 15 วัน

*กรณีการขอผัดฟ้อง พนง.สส อาจจะลืมขอผัดฟ้องจนเลยระยะเวลาที่กำหนด กฎหมายเขียนทางแก้ไว้ว่า ถ้าหากอัยการจะฟ้องต้องขอความเห็นจากอัยการสูงสุด และความเห็นอัยการสูงสุดเป็นที่สุด

เมื่อเข้าสู่กระบวนการพิจารณาคดี การเบิกพยาน โดยเฉพาะผู้เสียหายเด็กในคดีทางเพศ การเบิกความจะเป็นเหมือนการซ้ำความเสียหายทางจิตใจของเขา เพราะเขาจะให้การไปในกระบวนการสอบสวนอย่างละเอียดครั้งหนึ่งแล้ว แต่ศาลก็มักจะให้เบิกความสดๆอีกครั้ง แม้จะมีการบันทึกวิดีโอไว้ในช่วงการสอบสวน ศาลจะไม่นำมาใช้ หรือหากใช้จะให้เป็นพยานบอกเล่า ประกอบหลักฐานอื่น และการถามค้านพยานในศาล หลักผู้เสียหายเบิกความ ที่ปรึกษากฎหมายของจำเลยจะถามพยานที่เป็นเด็กต้องถามผ่านศาล และศาลจะถามผ่านสหวิชาชีพที่อยู่กับเด็กอีกทีหนึ่ง ทั้งๆที่เด็กก็อยู่ในห้องพิจารณาด้วยและย่อมได้ยินคำถามนั้นเช่นกัน

เมื่อเบิกความเสร็จ กรณีที่ต้องพิพากษาจำเลยที่เป็นเด็ก โดยมากศาลจะไม่ลงโทษเด็ก แต่จะใช้วิธีการลงโทษใดๆได้ตามดุลพินิจของศาล เช่น โทษหนักอาจจะให้ไปฝึกอบรมกับพนักงานคุ้มครองเด็ก ถ้าโทษเบาลงมาหน่อยก็อาจจะให้สถานพินิจควบคุมตัวเด็ก โดย สถานพินิจต้องทำแผนบำบัดฟื้นฟูเด็กมาเสนอแก่อัยการและศาลเพื่อดูความเหมาะสม

หากส่งตัวให้พ่อแม่เด็กเป็นคนดูแล ศาลต้องมีคำสั่ง คือมีเงื่อนไขให้พ่อแม่เด็กต้องปฏิบัติตามอละอาจจะกำหนดใหมีการมารายงานตัวเป็นเดือนๆ เป็นต้น

หากส่งตัวเด็กไปสถานฝึกอบรม ภายในศูนย์ก็จะมีการให้เด็กได้ฝึกอาชีพต่างๆ อาจจะมีการจัดการเรียนการสอนให้เด็กตามเกณฑ์ คุณครูที่มาสอนโดยมากก็จะสมัครใจมา เพราะค่าจ้างจะน้อย งานอะไรที่สถานฝึกให้เด็กทำ ก็จะต้องรายงานให้ศาลทราบด้วย

ดุลพินิจในการทำอะไรกับเด็กส่วนมากก็จะต้องผ่านผู้อำนวยการสถานพินิจด้วย เพราะจะเป็นคนที่มีข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับเด็กมากที่สุด

เจตนารมณ์ของการมีการใช้วิธีการสำหรับเด็ก เพื่อให้เด็กไม่ต้องอยู่ในกระการยุติธรรมนานเกินไป เพราะมันจะไม่เกิดประโยชน์อะไรแก่เด็ก โอกาสที่เด็กจะกลับไปกระทำความผิดซ้ำก็มากกว่าการใช้วิธีการบำบัดฟื้นฟู แต่การบำบัดฟื้นฟูจะมีผลดีที่สุดคือ ต้องเข้าไปให้ถึงจิตใจของเด็ก ทำให้เด็กเชื่อใจและไว้ใจเจ้าหน้าที่ที่จะทำงานกับเด็ก จะทำให้เราสอนเด็กได้และเด็กจะเชื่อฟังและปฏิบัติตามมากกว่าการทำตามหน้าที่โดยไม่คำนึงถึงจิตใจเด็ก แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นวิธีการใดๆก็ต้องคำนึงถึงจิตใจของผู้เสียหายประกอบด้วย การเทน้ำหนักในการทำอะไรกับเด็กจึงต้องดูทั้งประโยชน์ของเด็กและความรู้สึกของผู้เสียหาย

หมายเลขบันทึก: 592218เขียนเมื่อ 10 กรกฎาคม 2015 22:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 กรกฎาคม 2015 22:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท