684. เรียนรู้ศาสตร์ OD จาก "สามก๊ก" (ตอนที่ 14)


เมื่อวานได้เชิญชวนนักศึกษา MBA ม.ขอนแก่น แบ่งหนังสือสามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง ความหนาทั้งหมด 1,500 หน้า โดยให้พวกเขาทั้งมหด 42 คนแบ่งกันอ่าน คนละประมาณ 2-3 บท ให้กลับบ้านไปเสาร์ อาทิตย์ อ่านจบแล้วก็มาร่วมกิจกรรมในห้อง จับกลุ่มกัน 5 คน ก็จะได้กลุ่มละประมาณ 10 บท จากนั้นให้แต่ละคนเริ่มแชร์ว่าตัวละครในเรื่องตอนแพ้แพ้ด้วยบุคลิกภาพแบบไหน ตอนชนะชนะด้วยบุคลิกภาพแบบไหน เช่นชนะเพราะซื่อสัตย์ แพ้เพราะไม่รักษาสัจจะ ...

จริงๆผมตั้งใจจะสอนเรื่องจิตวิทยาบวก (Positive Psychology) ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของการสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกให้กับองค์กร โดยวันนี้ผมต้องการสอนเรื่อง Character Strengths and Virtues ซึ่งก็คือบุคลิกภาพที่เป็นทั้งจุดแข็งและคุณธรรมของมนุษย์ ซึ่งมีอยู่ 24 ประการ เป็นอะไรที่สุดยอดมากๆ เกิดจากงานวิจัยของผู้ก่อตั้งสาขาวิชานี้คือ Martin Saligman และ Christian Peterson ...

อาจารย์พยายามค้นหาบุคลิกภาพ และสร้างคู่มือ ที่จะช่วยให้มนุษย์เราค้นหาจุดแข็งของตนเอง เพื่อสามารถสร้างความงอกงามในชีวิตได้ง่ายขึ้น งานนี้ค้นคว้าจากตำราทั้งอดีต ปัจจุบัน เรียกว่าทุกคัมภีร์ ตั้งแต่ชาวเอสกิโม จนถึงนักธุรกิจในนิวยอร์ค ได้มา 24 บุคลิกดังนี้นะครับ ... ง่ายๆ ผมเอามาจาก Wikipedia ไม่ได้สมบูรณ์นัก พอกล้อมแกล้ม เพราะเล่มจริงหน้านิ้วครึ่ง ...

“รายการจากหนังสือ Character Strengths and Virtues

ความแข็งแกร่งของลักษณะนิสัยและคุณธรรม ได้แก่[1]

1. ปัญญา และ ความรู้ (Wisdom and Knowledge): ความแข็งแกร่งที่เกี่ยวข้องกับการหาและใช้ความรู้

ความสร้างสรรค์ (creativity) (บุคคลตัวอย่าง Albert Einstein)

ความอยากรู้อยากเห็น (curiosity) (บุคคลตัวอย่าง John C. Lilly)

ความใจกว้างเปิดใจ (open-mindedness) (บุคคลตัวอย่าง William James)

ความรักในการเรียนรู้ (love of learning) (บุคคลตัวอย่าง Benjamin Franklin)

ทัศนคติและปัญญา (perspective and wisdom) (บุคคลตัวอย่าง Ann Landers): การประสมประสานระหว่าง ความรู้กับประสบการณ์ และความตั้งใจในการเอาความรู้กับประสบการณ์นั้นไปใช้เพื่อปรับปรุงความเป็นอยู่

2. ความกล้า (Courage): ความแข็งแกร่งที่ช่วยบุคคลให้บรรลุเป้าหมาย แม้เมื่อมีอุปสรรค

ความกล้าหาญ (bravery) (บุคคลตัวอย่าง Ernest Shackleton)

ความไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค (persistence) (บุคคลตัวอย่าง John D. Rockefeller)

ความเที่ยงธรรม (integrity) (บุคคลตัวอย่าง Sojourner Truth)

ความมีชีวิตชีวา (vitality) (บุคคลตัวอย่าง Dalai Lama)

3, มนุษยธรรม (Humanity): ความแข็งแกร่งของความเมตตาและการเป็นมิตรกับผู้อื่น

ความรัก (love) (บุคคลตัวอย่าง Romeo and Juliet)

ความใจดี (kindness) (บุคคลตัวอย่าง Cicely Saunders)

ปัญญาเชิงสังคม (social intelligence) (บุคคลตัวอย่าง Robert Kennedy)

4. ความยุติธรรม (Justice): ความแข็งแกร่งที่ช่วยสร้างเสริมความแข็งแรงของสังคมและชุมชน

ความรับผิดชอบต่อสังคม (active citizenship / social responsibility / loyalty / teamwork) (บุคคลตัวอย่าง Sam Nzima)

ความเสมอภาค (fairness) (บุคคลตัวอย่าง Mohandas Gandhi)

ความเป็นผู้นำ (leadership)

5. ความยับยั้งชั่งใจ (Temperance): ความแข็งแกร่งที่ปกป้องเราจากความเกินพอดี

การให้อภัย (forgiveness and mercy) (บุคคลตัวอย่าง Pope John Paul II)

ความอ่อนน้อมถ่อมตน (humility and modesty) (บุคคลตัวอย่าง Bill W., หนึ่งในผู้ก่อตั้ง Alcoholics Anonymous)

ความรอบคอบ (prudence) (บุคคลตัวอย่าง Fred Soper)

การควบคุมตนเอง (self-regulation and self control) (บุคคลตัวอย่าง Jerry Rice)

6. อุตรวิสัญชาน (Transcendence): ความแข็งแกร่งที่ช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์กับเอกภพและให้ความหมายของชีวิต

การรู้คุณค่า (appreciation of beauty and appreciation of excellence) (บุคคลตัวอย่าง Walt Whitman)

ความรู้สึกสำนึกในบุญคุณ กตัญญู (gratitude) (บุคคลตัวอย่าง G. K. Chesterton)

ความหวัง (hope) (บุคคลตัวอย่าง Martin Luther King, Jr.)

อารมณ์ขันและความขี้เล่น (humor and playfulness) (บุคคลตัวอย่าง Mark Twain)

จิตวิญญาณ (spirituality) (บุคคลตัวอย่าง Albert Schweitzer)......”

จากนั้นผมให้นักศึกษาลองประเมินตนเองเล่นๆ ว่าตัวเองมีจุดแข็งอะไรบ้าง และแชร์ที่ผมไปวัดจากเว็บไซต์ VIA มาพบว่าผมมีจุดแข็งคือ รักการเรียนรู้ มีความคิดสร้างสรรค์ ใจเปิดกว้าง และความอดทนไม่ย่อท้อ ... จากนั้นผมถามนักศึกษาแต่ละคน เพื่อซ้อมก่อน

จากนั้นของจริงแล้ว ..ผมให้แต่ละกลุ่ม ค้นหาว่าในช่วงรัศมี 10 บทที่อ่านมาด้วยกัน คุณจะเห็นการชนะ การพ่ายแพ้ ผมให้ทั้งหมดสรุปว่า บุคลิก 4 อย่างที่ทำให้คนชนะ คืออะไร ปรากฏว่าจากทั้งหมดก็คือในหนังสือ 1,500 หน้า เห็นบุคลิก วีรบุรุษในประวัติศาสตร์ดังนี้ครับ มีทั้งหมด 9 กลุ่มดังนี้ ...


หลังจากนั้นผมลองให้เขาหาว่าเจอความถี่อะไรมากที่สุดหรืออะไรเป็นจุดร่วม เจอสามคำครับที่มีความถี่มากที่สุด

วีรบุรุษในสามก๊กมีจุดแข็งทางจิตวิทยาหลักๆ สามประการคือ

1. มีทัศนคติและปัญญา (perspective and wisdom) ซึ่งก็คือ การผสมผสานความรู้กับประสบการณ์ และตั้งใจเอาความรู้และประสบการณ์นั้นไปใช้เพื่อปรับปรุงความเป็นอยู่ของคนอื่น... ไม่ว่าโจโฉที่โหดมากมาย ก็ยังแอบคิดเรื่องนี้บ่อยๆ ชัดมากๆ เช่นผู้นำที่โจโฉชอบมากและอยากเอาแนวคิดมาใช้ก็คือฮ่องเต้ มหาราชองค์หนึ่งที่ปฏิวัติแผ่นดินจีนด้วยการเปิดโอกาสให้คนธรรมดาสามารถสอบเข้าเป็นขุนนางไม่ได้ เรียกว่าปฏิวัติ เพราะแต่เดิมตำแหน่งขุนนางสืบทอดด้วยเชื้อสาย แต่นี่คนเก่ง ถ้าเก่งเข้ามาเลย นี่ครับโจโฉคิดระดับนี้.. ส่วนอ้วนเสี้ยวเองพังเพราะไม่ค่อยทำเรื่องนี้ครับ ขุนนางก็สนใจแต่ตนเองไม่สนใจประชาชน

2. ความเป็นผู้นำ (leadership) ประมาณว่ากระตุ้น ส่งเสริมให้คนในกลุ่มทำภารกิจให้ลุล่วง โดยสามารถรักษาความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ชอบจัดระบบ และดูแลจนภารกิจประสบความสำเร็จ ชัดมากๆครับ เล่าปี่ทำบ่อย และเก่งด้วย เตียวหุยจากใจร้อน เจอเล่าปี่จัดระบบ ตอนหลังก็สามารถดึงปัญญาออกมาเอาชนะข้าศึกได้

3. ความรอบคอบ (prudence) ทำงานอย่างรอบคอบ บริหารความเสี่ยง ไม่พูดอะไรหรือทำอะไรที่จะต้องมาเสียใจทีหลัง ผมว่าโจโฉนี่ตัวพ่อเลย บริหารความเสี่ยงเก่ง เล่าปี่ตั้งตัวช้าเพราะควบคุมเรื่องความเสี่ยงไม่ได้ในช่วงแรกๆ เลยพังเพราะเตียวหุยไปสองครั้ง

ส่วนจุดแข็งอื่นๆ พอลูกศิษย์อ่านก็พบว่าเล่าปี่มีเพียบ โจโฉก็เพียบ แต่สามตัวข้างต้นดูเหมือนจะใช้เป็นตัวขับเคลื่อนความสำเร็จ ส่วนจุดแข็งอื่นๆ เอามาใช้ตามสถานการณ์ เช่นความถ่อมตัว ก็ทำให้เล่าปี่และโจโฉดึงคนเก่งได้ ความกตัญญูของเล่าปี่ ก็ดึงออกมาใช้ช่วงที่สร้างตัว ไม่หักหลังคนมีพระคุณ ที่สุดก็ทำให้ได้ชื่อเสียง

เหมือนมีการดึงจุดแข็งดีๆมาใช้ตอบโจทย์ความท้าทาย ที่เข้ามาเรื่อยๆ และถ้าวันใดผู้นำหลงลืมสามข้อหลัก เช่นเล่าปี่ ไม่ใช้ทั้งภูมิปัญญา และความรอบคอบ ในตอนท้าย...แพ้ทันที ชัดมากๆ และมาเจอจัดหนักด้วยอาเต๊า พรเจ้าเล่าเสี้ยน ก็คือไม่มีเลย อาณาจักรที่พ่อและวีรบุรุษสามก๊กสร้างมาก็สูญสลายไปในหน้าประวัติศาสตร์อย่างรวดเร็ว ...

ผมเลยได้ทฤษฎีสามเหลี่ยมความสำเร็จ ที่ได้มาจากสามก๊กดังนี้ โดยมีตรงกลางเป็นจุดแข็งต่างๆ ที่ผู้นำต้องมี ขณะเดียวกันต้องกำกับด้วยจุดแข็งหลักคือภาวะผู้นำ ปัญญาและความรอบคอบ ถึงจะไปได้ครับ ...สามารถเขียนเป็นแผนภาพได้ดังนี้

จากนั้นผมก็โยงเข้ากับเหตุการณ์ปัจจุบันไกล้ตัวนักศึกษา และธุรกิจยุคปัจจุบัน ก็ได้ข้อคิดดีๆ ที่นำไปใช้ได้ โดยให้นักศึกษาเล่าเรื่องบุคลลไกล้ตัวที่เป็นตัวอย่าง ว่าเขาเป็นผู้นำอย่างไร รอบคอบอย่างไร ใช้ปัญญาอย่างไร ...

เช่นภรรยาผมเป็นอาจารย์หมอ แฟนผมบอกแกสอนไม่เก่ง แล้วหลักการสอนคืออะไร ผมเลยถาม ตอนแรกก็ตอบไม่ได้ อยู่มาวันหนึ่งเห็นอ่านหนังสือก่อนไปผ่าตัด ... เลยลองถามดู “คุณผ่าตัดมาจะยี่สิบปี ผมสังเกตทุกครั้ง ทำไมถึงยังอ่านหนังสือ ...” เธอหันมาตอบว่า “...ถ้าเราสงสัยอะไรสักนิด จะไม่เก็บความสงสัยไว้เกิน 24 ชั่วโมง เพราะความสงสัยของหมอ คือความเสี่ยงของคนไข้”...

ผมฟังแล้วโอ๊ ...หลักคิดของคนที่มีความรอบคอบเป็นอย่างนี้นะ ..ทำให้ผมได้ปัญญาเพิ่มมาอีก

หลังจากเราเล่าเรื่องดีๆเกี่ยวกับคนดีๆรอบตัว ก็เลยสรุปวิธีการที่จะพัฒนาตัวเองให้สำเร็จ คือมีความเป็นผู้นำ เป็นคนรอบคอบ และมีภูมิปัญญาจะได้ดังนี้ครับ

เป็นไงครับ ผมพยายามสอนหนังสือที่ยากสุดสองเรื่องคือเรื่องสามก๊กมี 1,500 หน้ากับเรื่อง Character Strenghts ซึ่งก็พันกว่าหน้า . ..ให้คนเข้าใจด้วยการใช้เวลาเพียง 6 ชั่วโมง นักศึกษาชอบมาก เห็นภาพ ..

กระบวนการเรียนแบบนี้เราใข้เครื่องมือคือ Appreciative Inquiry (AI) ซึ่งเป็นการร่วมกันสืบค้นเรื่องดีๆ มาแบ่งปัน ต่อยอดกัน

ได้ความรู้ทั้งจากประวัติศาสตร์ เห็นปัจจุบัน และยังมองอนาคตได้อีก

วันนี้พอเท่านี้ เพียงเล่าให้ฟัง ลองเอาไปพิจารณาดูนะครับ

บทความโดยดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ www.aithailand.org

Reference:

https://th.wikipedia.org/wiki/Character_Strengths_...

ท่านที่สนใจ AI ผมมี Clip ที่ผมไปพูดที่ HROD Talks ของ NIDA ให้ดูครับ (Credit อาจารย์ทรายและ HROD NIDA)


หมายเลขบันทึก: 592118เขียนเมื่อ 8 กรกฎาคม 2015 10:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กรกฎาคม 2015 21:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท