ประเด็นที่ให้อาจารย์วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ตรัง ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้


ประเด็นที่ 1 ท่านพบปัญหา อุปสรรค อะไรบ้าง ในการตีพิมพ์เผยแพร่

คำสำคัญ (Tags): #ปัญหาอุปสรรค
หมายเลขบันทึก: 592014เขียนเมื่อ 4 กรกฎาคม 2015 21:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 กรกฎาคม 2015 21:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (24)

เมื่อส่งบทความตีพิมพ์ด้วยโปสเตอร์ ผู้ทรงคุณวุฒิได้ตรวจสอบ มีข้อเสนอแนะเรื่องของสถิติที่ใช้ในการวิจัย ซึ่งผู้วิจัยไม่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องสถิติ ทำให้เกิดความไม่มั่นใจ อีกทั้งไม่มีที่ปรึกษาทางด้านสถิติของวิทยาลัย ฯ จึงทำให้เมื่อผู้ทรงคุณวุฒิเสนอแนะมา ผู้วิจัยไม่สามารถปรับแก่้งานวิจัยด้วยตนเองได้ และยังไม่สามารถนำไปส่งตีพิมพ์ต่อไปได้



ปัญหา และอุปสรรคที่พบจากการตีพิมพ์และเผยแพร่ผลงานวิจัย

  1. ผู้เขียนผลงานยังขาดทักษะทางด้านภาษาอังกฤษในการเขียนผลงานเพื่อการตีพิมพ์และเผยแพร่ผลงานวิจัยในระดับนานาชาติ
  2. ผู้เขียนมีประสบการณ์ในการ submit ผลงานและการประสานงานเพื่อการตีพิมพ์และเผยแพร่ผลงานวิจัยในระดับนานาชาติค่อนข้างน้อย
  3. ผู้เขียนมีผลงานวิจัยที่แล้วเสร็จจำนวนน้อยในแต่ละปีงบประมาณและบางช่วงขาดผลงานที่จะตีพิมพ์และเผยแพร่ จากการบริหารจัดการเวลาของตนเองที่ขาดประสิทธิภาพ
  4. ผู้เขียนยังขาดการบริหารเวลาที่ดีในการผลิตผลงานวิจัย/ผลงานวิชาการ
  5. ผู้เขียนขาดแรงจูงใจและความมุ่งมั่นภายในตัวเอง ในการแก้ไขผลงานจากการ comment ของกรรมการเพื่อการตีพิมพ์และเผยแพร่ (ท้อแท้เมื่อต้องแก้หลายรอบ)

ปัญหา และอุปสรรคที่พบจากการตีพิมพ์และเผยแพร่ผลงานวิจัย

1. ทักษะในการเขียนบทคัดย่อภาษาอังกฤษ ซึ่งจะต้องมีการปรับแก้จากผู้ทรงคุณวุฒิจากวารสารหลายครั้งตาม format ของวารสาร ถึงแม้จะมีการส่งบทคัดย่อภาษาอังกฤษให้เจ้าของภาษาแปลแล้วในการสรุปเล่มวิจัย แต่หลังจากมีการส่งตีพิมพ์ในวารสารก็ต้องมีการปรับแก้ไขอีก

2. การบริหารเวลาในการแก้ไขบทความวิจัยหลังจากผู้ทรงคุณวุฒิจากวารสารได้ตรวจแล้ว ยังบริหารเวลาไม่ดีพอสำหรับการแก้ไข เนื่องจากบางช่วงมีภาระงานที่ต้องรับผิดชอบและเร่งด่วน จึงใช้เวลาในการปรับแก้ไขน้อย

3. การผลิตผลงานวิจัยที่แล้วเสร็จ ขาดความต่อเนื่อง ไม่สามารถผลิตผลงานวิจัยที่แล้วเสร็จในแต่ละปีงบประมาณได้ โดยเฉลี่ยจะแล้วเสร็จ 1 เรื่อง / 2 ปี

ปัญหาและอุปสรรคที่พบจากการตีพิมพ์และเผยแพร่ผลงานวิจัย

1. ทักษะด้านภาษาอังกฤษในการเขียนบทคัดย่อหรือบทความ15 หน้าเพื่อตีพิมพ์ในระดับนานาชาติมีน้อย ทำให้ต้องมีการว่าจ้างให้ผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอกดูให้ ซึ่งใช้เวลานาน หากวิทยาลัยฯมีบุคคลากรที่สนับสนุนด้านภาษาอังกฤษได้ก็จะช่วยอาจารย์ได้มากขึ้น

2. อาจารย์มีภาระงานมาก ทำให้อาจารย์มีความเหนื่อยล้าในการผลิตผลงานวิจัยเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่

3. ในการประสานเพื่อตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติ/นานาชาติมีความแตกต่างกัน ทำให้อาจารย์ต้องศึกษารูปแบบของวารสารอย่างละเอียด รวมทั้งบางวารสารต้องสมัครสมาชิกล่วงหน้าก่อนได้รับการตีพิมพ์ ซึ่งเพิ่มความยุ่งยากให้อาจารย์ได้

4. ระยะเวลาที่ใช้ในการผลิตผลงานวิจัยนาน( งานวิจัย1 เรื่องใช้เวลาในการผลิต 2ปีงบประมาณ) ทำให้ในบางปีมีผลงานวิจัยตีพิมพ์มาก บางปีมีผลงานวิจัยตีพิมพ์น้อย ขาดความต่อเนื่องของการตีพิมพ์เผยแพร่

5. เทคนิคการเขียนรายงายวิจัยหรือบทความวิชาการนั้น ต้องเขียนต่อเนื่อง( กัดไม่ปล่อย) มิฉะนั้นจะทำให้ผลงานดังกล่าวไม่แล้วเสร็จตามที่ตั้งใจไว้ได้

ปัญหาและอุปสรรคที่พบจากการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัย

1. ผู้เขียนผลงานวิจัยยังขาดทักษะการเขียน Abstract เพื่อสรุปผลการศึกษาที่ครอบคลุม และขาดทักษะทางภาษาอังกฤษในการเขียนผลงานวิจัย

2. ผู้เขียนวิจัยยังไม่มีความเชียวชาญในการเลือกใช้สถิติในการศึกษาวิจัย

3. ผู้เขียนวิจัยขาดการบริหารเวลาที่ดีในการผลิตผลงานวิจัย

ปัญหาอุปสรรคที่พบจากการตีพิมพ์เผยแพร่งานวิจัย

1.ผู้เขียนยังบริหารจัดการเวลาได้ไม่เหมาะสม

2.ผู้เขียนยังขาดความเชี่ยวชาญด้านทักษะภาษาอังกฤษในการเขียนAbstract

การตีพิมพ์เผยแพร่บทความวิจัยหรือบทความวิชาการเป็นสิ่งที่แสดงถึงศักยภาพของบุคลากรในองค์กร และเป็นตัวบ่งชี้ในการประเมินการปฏิบัติราชการด้วย ซึ่งเป็นการกระตุ้นให้เกิดผลงานขึ้น สำหรับดิฉัน ยอมรับว่าต้องให้พลังในการดำเนินการสูงมาก เพื่อให้ได้ผลงานตามที่ต้องการ จึงอยากเล่าเรื่องให้ฟังว่า การที่เราไม่ประสบความสำเร็จในการผลิตผลงานและเผยแพร่ตีพิมพ์ผลงานดังกล่าวจนครบวงจร ซึ่งดิฉันใช้ตัวเองเป็นตัวอย่าง ได้ผลที่คล้ายคลึงกับผลการสำรวจเกี่ยวกับความสำเร็จของการตีพิมพ์เผยแพร่ ดังนี้

๑.ความมุ่งมั่นตั้งใจในการดำเนินการ ผู้วิจัยจะต้องวางเป้าหมายไว้เสมอว่างานวิจัยเรื่องนี้จะต้องสำเร็จและได้รับการตีพิมพ์ทุกเรื่อง ผู้วิจัยต้องฮึด ไม่ย่อท้อต่อระบบการส่งเอกสารเพื่อรับการตีพิมพ์ บางเรื่องได้รับการพิจารณาแต่ต้องปรับแก้หลายครั้ง ต้องบอกตัวเองว่า "อย่าถอดใจ" หากผ่านข้อนี้ไปได้ ก็ฉลุย

๒.การบริหารจัดการเวลา ผู้วิจัยต้องมีความสามารถอย่างสูงในการบริหารเวลา จัดการให้สมดุลทั้งภาระงานสอน ภาระงานบริหาร ภาระงานมอบหมาย ภาระงานวิจัย ภาระงานทำนุฯ และภาระงานบริการวิชาการซึ่งข้อนี้เป็นไม้เบื่อไม้เมามาก เพราะผู้วิจัยไม่สามารถบริหารเวลาได้สมดุล จึงเกิดความเครียดนำมาซึ่งโรคภัยไข้เจ็บทั้งทางร่างกายและจิตใจ ถามว่า "คุ้มค่าหรือไม่?"

๓.การสนับสนุนเพื่อให้งานวิจัยสำเร็จ เช่น ภาระงาน งบประมาณ อุปกรณ์ต่างๆ เรื่องนี้เป็นเรื่องที่องค์กรต้องสนใจเพื่อให้เกิดความสะดวก ให้โอาส เป็นการเสริมพลัง เชื่อได้เลย ว่า การสนับสนุนที่เหมาะสม ให้โอกาสทั้งภาระงาน งบประมาณและอุปกรณ์ที่ต้องใช้ในการวิจัยรับรองงานวิจัยสำเร็จและสามารถเชื่อมโยงไปถึงการเผยแพร่ตีพิมพ์แน่นอน

๔.การชื่นชมหรือให้รางวัล เป็นเรื่องสุดท้าย เพราะคนทำงานไม่ได้หวังเรื่องรางวัลเสมอไป แต่ทุกคนทำเพื่อองค์กร ภายใต้อุดมการณ์ ต้องการให้องค์กรมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับ ทุกคนรักองค์กร

ดิฉันคิดว่าทั้ง ๔ เรื่องมีความสำคัญซึ่งดิฉันจะมีปัญหาอยู่เรื่องเดียว คือ การบริหารจัดการเวลา เพราะมีงานเยอะจริงๆ เวลา ๒๔ ชั่วโมงใช้หมดอย่างรวดเร็วด้วยงานขององค์กร แต่บอกใครไม่ได้เพราะทุกคนหนักเหมือนกัน ก็ให้ความพยายามเท่าที่ทำได้ให้มากที่สุด เพื่อสุขภาพของตนเองด้วย อยากบอก "ไม่ท้อ เหนื่อยนัก พักก่อน เดินเดินต่อ จนกว่าจะไม่ไหว"

ภาระ หน้าที่ บทบาทครูในวิทยาลัยฯ มีมาก ทำให้มีเวลาจำกัดในแต่ละหน้าที่ที่ต้องกระทำ ประกอบกับทุกหน้าที่ต้องกระทำทั้งสิ้น

ปัญหาอุปสรรคในการตีพิมพ์เผยแพร่งานวิจัย

1.เรื่องการบริหารจัดการเวลาในการเขียนบทความวิจัยหรือการบริหารเวลาหลังจากผู้ทรงคุณวุฒิวารสารได้ตรวจสอบแล้วเนื่องจากอาจารย์มีภาระงานหลายด้านทำให้มีเวลาจำกัด เกิดความรู้สึกเหนื่อยล้า

2.ไม่สามารถผลิตผลงานวิจัยให้แล้วเสร็จภายใน1ปีได้ทำให้ขาดความต่อเนื่องเนื่องจากงานวิจัยบางเรื่องต้องใช้เวลาประมาณ 2 ปีจึงแล้วเสร็จ

ขอขอบคุณอาจารย์วพบ.ตรังค่ะ ที่ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เกี่ยวกับการตีพิมพ์เผยแพร่

ควรมีการจัดสรรทุนการนำเสนอผลงานวิจัยต่างประเทศ

เพื่อสร้างประสบการณ์แก่อาจารย์

1.ทักษะการเขียนภาษาอังกฤษที่ยังขาดความรู้และความเชี่ยวชาญ

2.ทักษาะการใช้สถิติเช่นการวิเคราะห์ความเชื่อมโยงต่างๆ

ปัญหาอุปสรรคในการตีพิมพ์เผยแพร่งานวิจัย

1 มีเวลาในการทำงานวิจัยน้อย เนื่องจากงานวิจัยต้องใช้ระยะเวลาดำเนินการ บางครั้งอาจไม่แล้วเสร็จปีต่อปี ทำให้อาจไม่ได้ตีพิมพ์เผยแพร่ได้ทุกปี

2 อาจารย์ต้องใช้พลังงานมาก ต้องใช้เวลาส่วนตัวในการทำงานวิจัย ซึ่งอาจทำให้มีความเหนื่อยล้า เบื่อหน่าย ทำให้ผลงานออกมาได้น้อย และขาดคุณภาพ

3 ทักษะต่างๆในการทำงานวิจัย เช่น การใช้สถิติ การวิเคราะห์ข้อมูล การเขียนบทคัดย่อ ภาษาอังกฤษเป็นต้น มีน้อย เป็นอุปสรรคในการสร้างสรรค์งานวิจัยที่มีคุณภาพได้ บางครั้งจึงไม่กล้าส่งงานตีพิมพ์เผยแพร่งานวิจัย

4 เมื่อได้รับการตอบรับและจำเป็นต้องปรับแก้ไขงานเพื่อเข้าตีพิมพ์เผยแพร่ต่างๆ อาจารย์ต้องใช้ความพยายามและความมุ่งมั่นสูงมากในการตัดใจปลีกตัวเองออกมาจากงานประจำ และใช้เวลานอกเพื่อแก้ไขงานวิจัยให้แล้วเสร็จ เพื่อให้ทันต่อการเผยแพร่

ขอบคุณค่ะ

ควรส่งเสริมให้เรื่องที่ออกแบบดีๆสร้างชื่อเสียงให้วิทยาลัยไป ตีพิมพ์ในวารสารดังๆ แต่ต้องให้เบิกจ่ายจริงตามที่ใช้ในการวิจัย เช่น รางวัลในการจัดการแข่งขันตามวิธีการวิจัย อาหารเลี้ยงเด็กกลุ่มตัวอย่างที่ไปทำวิจัย ไม่ใช่ให้ไปเบิกในค่าถ่ายเอกสาร เพราะต้องไปอธิบายร้านถ่ายเอกสารให้เข้าใจในการเขียนใบเสร็จ ดีไม่ดีดูแล้วเสียชื่ออาจารย์วิทยาลัยหมดหากเจอคนที่ไม่รู้นิสัยกันจริงๆ

สมาธิเราไม่จดจ่อต่อเนื่องกับงานวิชาการที่ต้องใช้ปัญญามาก การสังเคราะห์ผลงานนี้ต้องใช้ปัญญามาก ดังนั้นเราต้องฝึกสติให้จดจ่อต่อเนื่องกับงานวิชาการนี้เพื่อสร้างสมาธิแล้วเกิดปัญญา ทำได้สำเร็จคะหากเรามีภาระงานอื่นๆไม่มากเกินไป กำลังสร้างสรรผลงานคะ

หลายๆท่านอาจมีผลงานวิจัยหลายชิ้นงานที่ถูกวางและไม่ได้เผยแพร่ให้ผู้อื่นได้รับรู้รับทราบ เพียงเพราะถอดใจกับความยุ่งยากและขั้นตอนมากมายตามที่แหล่งเผยแพร่ต้องการ ซึ่งถูกกำหนดไว้เพื่อความเป็นเอกพันธ์ของวารสารหรือแหล่งเผยแพร่นั้นๆ ซึ่งเราต้องดำเนินการอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และเพื่อแสดงให้เห็นถึงคุณภาพของงานวิจัยที่ทำขึ้น การที่มีผู้รู้หรือผู้ทรงคุณวุฒิกรุณาพิจารณาให้ ถือเป็นการกลั่นกรองคุณภาพรอบสุดท้ายที่ผลงานวิจัยเราจะได้เป็นที่น่าเชื่อถือและเป็นที่ยอมรับ ไม่ให้เกิดความเสียหายทั้งต่อแหล่งเผยแพร่ งานวิจัย และตัวผู้วิจัยเองด้วย หากเราเปิดใจยอมรับเราจะสามารถพัฒนาตัวเองให้มีทักษะด้านนี้เพิ่มขึ้น เพืียงแค่เราต้องมีความมั่นใจว่างานวิจัยของเรามีประโยชน์ มีคุณค่าต่อผู้อื่นที่จะนำไปใช้ เราจะมีกำลังใจในการเขียนผลงานรอบสุดท้ายอันจะเป็นการปิดช่องว่างระหว่างงานวิจัยกับการปฏฺิบัติการพยาบาลได้

ปัญหาอุปสรรคในการตีพิมพ์เผยแพร่งานวิจัย
๑.การบริหารจัดการเวลาในการเขียนบทความวิจัยหรือการบริหารเวลาหลังจากผู้ทรงคุณวุฒิวารสารได้ตรวจสอบแล้วเนื่องจากอาจารย์มีภาระงานหลายด้านทำให้มีเวลาจำกัด เกิดความรู้สึกเหนื่อยล้า
๒.ไม่สามารถผลิตผลงานวิจัยให้แล้วเสร็จภายใน1ปีได้ทำให้ขาดความต่อเนื่องในการผลิตผลงานวิจัย

ปัญหาอุปสรรคในการตีพิมพ์เผยแพร่งานวิจัย

๑. คุณภาพผลงานวิจัยไม่ดีเท่าที่ควร ทำให้ไม่อยากเผยแพร่

๒. การเขียนบทความวิจัยต้องใช้เวลาค่อนข้างมาก ประกอบกับภารกิจหลายด้าน ทำให้ไม่อยากเขียนบทความวิจัย

๑. การบริหารเวลาในการเขียนบทความ

๒. การติดตามบทความจากบรรณาธิการ ติดต่อบรรณาธิการยากมาก

๓. การทำวิจัยไม่สำเร็จตามระยะเวลา

ปัญหาอุปสรรคในการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัย

1.อาจารย์มีภาระงานมาก ทำให้มีความล่าช้า หรือการติดต่อการตีพิมพ์ผลงาน

2.อาจารย์ยังขาดความรู้เรื่องการเขียนบทคัดย่อที่เป็นภาษาอังกฤษ

อาภรณ์ ภูพัทธยากร

ผลงานที่จะลงตีพิมพ์...ต้องมีคุณภาพ การส่งผลงานวิจัยของนักวิจัยมือใหม่ลงตีพิมพ์...ต้องมีพี่เลี้ยงในการช่วยดูแล

ปัญหาและอุปสรรคในการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยที่สำคัญที่สุดคือ การไม่มีงานวิจัยที่จะตีพิมพ์เผยแพร่อันเนื่องมาจากไม่สามารถผลิตผลงานวิจัยให้แล้วเสร็จตามกำหนดและมีผลงานวิจัยอย่างต่อเนื่อง

ปัจจัยที่สำคัญ คือ

1. การขาดเจ้าหน้าที่สายสนับสนุนที่จะช่วยทำงานที่ไม่ใช่งานวิชาการในทุกพันธะกิจ ในเวลาราชการ อาจารย์ต้องใช้เวลาในการทำเอกสาร เช่น เอกสารด้านการสอน (มคอ., แผนการสอน) และ เอกสารรายงานสำหรับงานประกันคุณภาพ เป็นต้น

2. การบริหารเวลาที่ไม่ดีพอที่จะมีเวลาให้กับงานวิจัย ซึ่งเป็นงานที่ต้องใช้สมาธิและการตกผลึกทางความคิดในการคิดใคร่ครวญในการวางแผนงานวิจัยที่รอบคอบและมีคุณภาพ และดำเนินการวิจัยที่มีคุณภาพ




ปัญหาและอุปสรรค คือ

1. ภาระงานอาจารย์ค่อยข้างมาก ทำให้ไม่มีเวลาผลิตผลงานวิจัย หรือ ไม่สามารถดำเนินงานผลิตให้แล้วเสร็จทันเวลา และ ไม่มีการผลิตผลงานอย่างต่อเนื่อง

2. ขั้นตอนดำเนินการผลิตผลงานวิจัยมีอุปสรรคในการดำเนินการเบิกจ่ายงบประมาณ การบริหารเวลา ภารกิจอื่น นอกเหนือจากภารกิจหลัก

ปัญหาในการตีพิมพ์ คิดว่าน่าจะอยู่ที่การบริหารจัดการเวลาที่จะจัดทำ และขึ้นตอนที่ค่อนข้างยุ่งยาก ซึ่งถ้าหากลดขั้นตอนที่ไม่จำเป็นของหน่วยงานลงก็จะดี

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท