ประเด็นที่ให้อาจารย์วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ตรัง ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้



ประเด็นที่ 3 ท่านพบปัญหาอุปสรรค หรือ มีข้อเสนอแนะ อะไรบ้างจากการเรียนการสอนแบบ reflective thinking





หมายเลขบันทึก: 592009เขียนเมื่อ 4 กรกฎาคม 2015 16:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 กรกฎาคม 2015 16:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (22)

ปัญหา/อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการเรียนการสอนแบบ Reflextive Thinking

ข้อเสนอแนะในการเรียนการสอนแบบ Reflextive Thinking..... การให้ผู้เรียนสะท้อนความคิดออกมาภายหลังที่ผู้สอนจัดการเรียนการสอนทั้งภาคทฤษฏีหรือภาคปฎิบัติ ซึ่งอาจจะทำในขั้นก่อนที่จะสรุปบทเรียน หรืออาจจะใช้ในขั้นสรุปบทเรียนโดยตรงก็ได้ เช่น ภายหลังให้ผู้เรียนนำเสนองานหรือกรณีศึกษา ก็อาจใช้คำถามกับผู้เรียนเพื่อตรวจสอบว่าผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อะไรบ้าง ถามภายใต้บรรยากาศที่ผ่อนคลาย อบอุ่นและเป็นกันเอง โดยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นทีละคน โดยที่ผู้สอนอย่ารีบด่วนสรุป ควรรอ โดยครูเป็นผู้ฟังหรืออย่าชี้นำความคิด หรือแสดงความคิดเห็น เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย ต้องเป็นผู้ฟังที่ดี ฟังผู้เรียนจนครบทุกคน อาจพูดคุยในรูปแบบการล้อมวง หรือเป็นกลุ่ม แล้วครูจึงช่วยให้ผู้เรียนช่วยกันสะท้อนคิดสิ่งที่ได้เรียนรู้ สรุปออกมาเป็นประเด็น จากนั้นผู้สอนค่อยเสริมให้ครบถ้วนตามวัตถุประสงค์ หากผู้เรียนปล่อยผ่านหรือหลุดประเด็นสำคัญภายหลัง ตัวอย่างที่ผู้เขียนใช้การเรียนรู้แบบสะท้อนคิดคือ ประเด็นการสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัดครั้งแรกในผู้ป่วยจิตเวช (Interaction ในระยะ Initial phase)..... การสะท้อนภายหลังการทำกิจกรรมกลุ่มบำบัดในผู้ป่วยจิตเวช ..... การพยาบาลผู้ป่วยจิตเวช โดยให้นักศึกษาเลือกกรณีศึกษาของเพื่อนในกลุ่มคนหนึ่งในการเป็นตัวอย่างกรณีศึกษาที่นำมาสะท้อนคิด เช่น การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะหลงผิด ประสาทหลอน ซึ่งนักศึกษาในกลุ่มทั้งหมดจะเคยมีประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยที่มีอาการดังกล่าว และรับรู้อาการของผู้ป่วยจากการรับเวร ส่งเวร และจากการสังเกตผู้ป่วยอื่นที่มีอาการมาก่อน โดยการศึกษาค้นคว้าจากตำรา เอกสาร และมีการอ้างอิงแหล่งค้นคว้าและแหล่งที่มาของความรู้ที่ชัดเจนน่าเชื่อถือ และสรุปเป็นประเด็นความรู้บันทึกในสมุดความรู้ ทั้งนี้

ในช่วงท้ายชั่วโมง จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้สอนต้องจัดเวลาให้มีการสะท้อนคิดซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้สอนหรือผู้นิเทศอาจต้องยอมเสียเวลาบ้าง เพื่อตรวจสอบว่าภายหลังการจัดการเรียนการสอนผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อะไร ซึ่งจะทำให้ได้ข้อมูลเชิงคุณภาพ เช่น ด้านความรู้ ด้านอารมณ์ และเจตคติ เชื่อได้ว่าหากผู้สอนเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้พูดสะท้อนความคิดของเขาออกมาบ้าง ในทุกๆ ครั้งหลังการเรียนการสอนหรือภายหลังการนิเทศจะทำให้การเรียนการสอนมีความหมายและเกิดประโยชน์สำหรับผู้เรียนอย่างแท้จริง ซึ่งผู้เขียนจะได้นำการเขียนสะท้อนคิดของนักศึกษาที่ฝึกภาคปฎิบัติรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาทางจิตมาเป็นตัวอย่างต่อไป

ได้ลองใช้เทคนิคการสะท้อนคิด ในการสอนภาคปฏิบัติในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาทางจิต กับนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 3 สามารถทำได้ดีพอควร มีความเหมาะสมกับกิจกรรมการเรียนการสอน แต่คิดว่ายังมีประเด็นที่ต้องพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น ตามประเด็นต่างๆที่พบเห็นจากการทดลองใช้เทคนิคการสะท้อนคิด ดังนี้

1. ด้านผู้เรียน ยังมีนักศึกษาบางคนเขียนสรุปเนื้อที่อ่านโดยการคัดลอกเนื้อหาแทนการสรุป หรือวิเคราะห์จากการอ่าน การเขียนไม่เขียนยังไม่มีความต่อเนื่องเท่าที่ควร ยังไม่เข้าใจวิธีการเขียนหรือโครงสร้างของการเขียนบันทึกการสะท้อนคิด ดังนั้นควรมีการชี้แจงหรือบอกวิธีการเขียนบันทึกสะท้อนคิดซ้ำ หรือนำชิ้นงานที่ผ่านมา มาวิเคราะห์สิ่งที่ดีอยู่ แล้วสิ่งที่ต้องปรับปรุงเพิ่มเติม

2. ด้านผู้สอน ได้มีการกำหนดประเด็นที่สอดคล้องกับสาระการเรียนรู้หลักของรายวิชา แต่ยังขาดความชำนาญในการตรวจ หรือการประเมิน/ให้คะแนน จากบันทึกการสะท้อนคิด ดังนั้นควรทบทวนหรือมีเกณฑ์การประเมินประกอบอยู่เสมอเมื่อต้องตรวจบันทึกการสะท้อนคิด ถ้าให้ดียิ่งขึ้นควรฝึกเขียนด้วยตนเองบ่อยครั้งจะทำให้เพิ่มความชำนาญทั้งการเขียนและการตรวจ

….. อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/590757

ปัญหาที่พบนั้น จะเจอเกี่ยวกับการเขียนของนักศึกษา ที่อาจยังไม่เข้าใจการเขียนสะท้อนคิด นักศึกษาเขียนมาสั้น ๆ ในครั้งแรก ต้องอธิบายให้ให้เขียนใหม่อีกครั้ง ดังนั้นจึงควรมีการเตรียมความพร้อมนักศึกษาในการจัดการเรียนการสอนสะท้อนคิด ให้นักศึกษาได้เข้าใจกระบวนการ ขั้นตอนหรือประโยชน์ของมันเพื่อจะได้รับประโยชน์ของการสะท้อนคิดสูงสุด

อาจารย์ลำเจียก (น้อง) กำธร

นำไปใช้ในรายวิชา ปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาทางจิต

กลุ่มตัวอย่างนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 3 โดยแบ่งเป็นกลุ่มย่อย กลุ่มละ 8 คน

สถานที่ โรงพยาบาลสวนสราญรมย์

วิธีดำเนินการ

  1. ชี้แจงนักศึกษา อาจารย์นิเทศ เกี่ยวกับการใช้ทักษะการสะท้อนคิด
  2. กำหนดประเด็นในการสะท้อนคิด สัปดาห์ละ 1 เรื่อง ดังนี้

สัปดาห์ที่ 1 เมื่อต้องสร้างสัมพันธภาพ กับคนผู้ป่วยครั้งแรก

สัปดาห์ที่ 2 การให้การพยาบาลกับผู้ป่วยจิตเวช

สัปดาห์ที่ 3 สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการดูแลผู้ป่วยจิตเวชทั้งหมด

สะท้อนคิดโดยการพูดและการเขียนตามโครงสร้าง 6 ขั้นตอน

3.ในระยะแรกเมื่อเจอปัญหาจากการสะท้อนคิด ผู้สอนกลับมาทบทวนเนื้อหาจากการประชุมใหม่

4.ใช้การสะท้อนคิดกับนักศึกษาในสัปดาห์ต่อไป พบว่าการศึกษาต่อเริ่มมีความสอดคล้องมากขึ้นมีการใช้ Reflective ในการ conferrence และเปลี่ยนบรรยากาศเป็นเพื่อนช่วยเพื่อน และผู้สอนมีการเสริมแรงทางบวกให้กับนักศึกษา ส่งเสริมใหเกิดบรรยากาศแห่งการเรียนรู้มากขึ้น

ปัญหา- อุปสรรค

  1. การตรวจให้คะแนนของอาจารย์ยังไม่มีความชำนาญเท่าที่ควรแก้ปัญหาโดยการเปิดเกณฑ์การประเมินควบคู่ร่วมด้วย
  2. การตั้งคำถามของนักศึกษาไม่ตรงประเด็นตามวัตถุประสงค์ และไม่ก่อให้เกิดการเรียนรู้มากนักดังนั้น การตั้งคำถามที่ดีจะต้องนำไปสู่การเรียนรู้ในเรื่องที่ชัดเจน
  3. นักศึกษาไม่สามารถบอกความรู้สึกของตัวเองได้จริง แต่เป็นการแสดงความคิดเห็นเป็นส่วนใหญ่

ข้อเสนอแนะ

  1. กำหนดไม่ให้เกิน 1 หน้า บอกนักศึกษาว่าเราจะต้องนำสิ่งที่ดี ที่สุดมาส่ง เพราะจะเป็นการฝึกทักษะการประเมินค่า
  2. ให้เพื่อนๆในกลุ่มร่วมกัน feedback “เพื่อนช่วยเพื่อน” และผู้สอนทำหน้าที่เป็น Facilatator
  3. ให้เติมคำในช่องว่าง เพื่อให้นักศึกษามีแนวทางในการเขียนบันทึกการสะท้อนคิดได้ตามเกณฑ์การบันทึกได้มากขึ้น
  4. การตั้งคำถามที่ดีจะต้องนำไปสู่การเรียนรู้ในเรื่องที่ชัดเจน

….. อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/592008

จากการให้นักศึกษาได้ลองฝึกทำการสะท้อนคิดในการฝึกปฏิบัติรายวิชาปฏิบัติการสร้างเสริมสุขภาพ สำหรับนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 2 พบว่า นักศึกษายังขาดทักษะการเขียนสะท้อนคิดเนื่องจาก ยังไม่ได้ เตรียมนักศึกษา ดังนั้นก่อนสอนต้องเตรียมนักศึกษา และต้องเตรียมครูไปพร้อมๆกันด้วยเพราะ ครูก็ต้องให้คำแนะนำนักศึกาาด้วยค่ะ

ผู้สอน และผู้เรียน จะต้องมีการเรียนรู้ซำ้ๆๆๆ จึงจะเกิดทักษะ

การศึกษาในศตวรรษที่ 21 เป็นความท้าทายด้านการศึกษาอย่างมากในการเตรียมนักเรียน

และครูให้พร้อมกับชีวิต ที่ มีการปรับเปลี่ยนทางสังคมซึ่ งส่ งผลต่ อวิถีการด ารงชีวิตทางการศึกษา

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่ งชาติ พ.ศ. 2542 มาตรา 33 บัญญัติให้มีการจัดทำแผนการศึกษา

แห่งชาติที่บูรณาการ ศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรมและกีฬา กับการศึกษาทุกระดับ การศึกษาพยาบาล

เป็นกระบวนการที่มุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยบูรณาการศาสตร์ทางการพยาบาล ศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง

และการเรียนรู้เกี่ยวกับผู้ใช้บริการ ในเชิงสังคมวิทยา มนุษย์วิทยา บนพื้นฐานความเอื้ออาทร ภายใต้

สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้จากสภาพจริงด้วยวิธีการจัดการเรียนการสอนที่หลากหลายมุ่งเน้น

ชุมชน เพื่อให้ได้บัณฑิตที่มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์

ดังนั้น การจัดการเรียนรู้สู่การศึกษาพยาบาล ในศตวรรษที่ 21 ต้องมีการเปลี่ยนแปลงต่อไปนี้

1) เปลี่ยนบทบาทหน้าที่ของ ครูหรืออาจารย์ เป็นผู้อ านวยความสะดวก ( Facilitator) หรือผู้แนะนำ

(Coaching)

2) เปลี่ยนสื่อการเรียนการสอน ที่ต้องใช้สื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัย

3) เปลี่ยนรูปแบบการเรียนรู้ของผู้เรียน สอนให้น้อยลง เรียนรู้ให้มากขึ้น (Teach Less, Learn More)

การจัดการเรียนรู้การศึกษาพยาบาลจึงจะประสบความสำเร็จและสอดคล้องกับศตวรรษที่ 21 ซึ่งจะเป็นเข็มทิศนำไปสู่ความเป็นวิชาชีพพยาบาลที่ดีเลิศ มีความเอื้ออาทร และบริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ การเรียนการสอนแบบ reflective thinking จึงเป็นรูปแบบ การเรียนการสอนแบบหนึ่งที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนเป็น active learner ซึ่งเหมาะกับการจัดการเรียนรู้การศึกษาพยาบาลในศตวรรษที่ 21


ปัญหาที่พบจากการนำเทคนิคการสะท้อนคิดไปใช้ คือ การใช้คำถามที่ผู้เรียนไม่เข้าใจ ทำให้ต้องปรับคำถามหลายๆครั้ง และ การถามที่เป็นลำดับขั้นตอน ทำให้ผู้สอนกังวลว่าคำถามจะต้องเป็นไปตามลำดับขั้นตอน แต่บางครั็งคำตอบของผู้เรียนจะไปอยู่ในส่วนของข้อคำถามหลังจากข้อที่ถาม แต่ถ้าผู้สอนได้ฝึกเทคนิคนี้บ่อยๆ จะมีประสบการณ์และสามารถได้ประเด็นการสะท้อนคิด ที่มีการลื่นไหลทางความคิดได้อย่างเป็นอัติโนมัติ แต่ทั้งนี้ดิฉันคิดว่า ผู้สอนต้องฝึกความไวในการจับประเด็น และอาจต้องใช้ทักษะการตั้งคำถาม เพื่อสะท้อนความรู้สึก ความคิดของนักศึกษา ในขณะนั้นทันที เพราะสิ่งที่นักศึกษา สะท้อนความคิดออกมาอาจจะผิด concept ทางวิชาการ หรือ การกระทำที่ขัดต่อจรืิยธรรม หรือกฎหมาย ผู้สอนต้องปรับเปลี่ยนหรือพูดให้คิดทันที ในขณะนั้น ทั้งนี้ที่ดิฉันมีความคิดเห็น เช่นนี้เพราะดิฉันนำเทคนิคการสะท้อนคิดไปใช้ในการวิเคราะห์ผู้ป่วยที่มีภาวะวิกฤติด้านสุขภาพ ซึ่งต้องมีการคิดวิเคราะห์และตัดสินใจ

การตั้งคำถามให้นักศึกษาสะท้อนคิดยังไม่ตรงประเด็น ทำให้กระตุ้นการคิดของนักศึกษาได้ไม่ดีเท่าที่ควร จึงสะท้อนผลการเรียนรู้ออกมาไม่ชัดเจน

mind map reflective.pdfการจัดการเรียนการสอนแบสะท้อนคิดที่มีการนำไปใช้ทำให้ทราบว่าโดยภาพรวมนักศึกษายังไม่สามารถเรียนรู้ได้ทุกกระบวนการขั้นตอนกล่าวคือ นักศึกษายังไม่สามารถเรียนรู้ครบตามกระบวนการสะท้อนคิอ คือ จากสถานการณ์ที่ใช้ในการเรียนรู้วิชารักษาโรคเบื้องต้นพบว่า

ในกระบวนการขั้นตอนที่ 1.เหตุการณ์ที่ฉันประทับใจ นักศึกษาสามารถบอกได้จากสถานการที่ตัวเองพบเจอ หรือกระทำด้วยตนเอง

ขั้นตอนที่2ในตอนนั้นฉันรู้สึกว่า นักศึกษาสามารถบอกความรู้สึกของตนเองในสิ่งที่พบเจอรวมทั้งภาพรวมของกลุ่มที่เป็นความรู้สึกที่สะท้อนมา

ขั้นตอนที่ 3 เหตุการณ๋ดังกล่าวก่อให่เกิดผลกระทบอย่างไร นักศึกษาสามารถบอกได้ว่าตนมีข้อบกพร้องหรือ ผลกระทบจากสถานการณ์ที่ตนไม่สามารถให้การพยาบาลผู้ป่วยได้ว่าจะส่งผลอย่างไรและสมาชิกในกลุ่มก็สามารถบอกถุงผลกระทบของการดำเนินการเป็นทีมที่ยังมีข้อบกพร่อง ไม่สามารถให้การพยาบาลตามบทบาทของทีมที่เหมาะสมแต่ขั้นตอนที่ 4 นักศึกษาจะไม่สามารถตั้งคำถามได้ตรงและสอดคล้องกับสถานการณ์ในการตั้งคำถามส่วนมากจะออกมาจากความรู้สึกจึงทำให้คำถามที่สื่อออกมาเพื่อการนำไปวางแผนการเรียนรู้ต่อจึงไม่ตรงกับวัตถุประสงค์การเรียนรู้และเมื่อตั้งคำถามแล้วจะต้องให้มีการไปทบทวนเหตถการณ์แล้วกลับมาสะท้อนคิดอีกครั้งตามกระบวนสะท้อนคิดจึงจะสามารถนำสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปใช้ในอนาคตทั้งการฝึกภาคปฏิบัติตลอดจนการสอบสภาหรือการปฏิบัติงานจริงบนหอผู้ป่วย

ซึ่งจะเห็นว่าการจัดการเรียนการสอนโดยวิธีการสะท้อนคิดนอกจากการเตรียมตัวในบทบาทผู้สอนแล้วการเตรียมตัวในบทบาทผู้เรียนก้ต้องมีควบคู่ไปด้วยกันพร้อมรวมทั้งระยะเวลาเพื่อการบรรลุผลสำเร็จ

ปัญหาอุปสรรคในการใช้เทคนิคสะท้อนคิด โดยส่วนตัว คิดว่าน่าจะเป็นความเชี่ยวชาญของอาจารย์ในการตั้งคำถามเพื่อให้นักศึกษาได้เกิดการสะท้อนคิดให้ชัดเจน อาจารย์ต้องมีประสบการณ์ในเทคนิคการตั้งคำถามสะท้อนคิด และควรมีการเตรียมความพร้อมของนักศึกษาในการเรียนรู้วิธีการเขียนแบบสะท้อนคิด เพราะสังเกตพบว่านักศึกษาเขียนแบบสั้นๆ ไม่ชัดเจน ไม่ตรงประเด็น ทำให้เกิดการสะท้อนคิดได้ไม่ชัดเจน

ปัญหาอุปสรรคในการสะท้อนคิดในขณะนี้ คืออาจารย์ยังไม่มีประสบการณ์ในการสอนแบบนี้ จึงมีความยากลำบากในการตั้งคำถามการสะท้อนคิดเพื่อกระตุ้นนักศึกษา อาจารย์อาจต้องใช้เวลาในการฝึกตั้งคำถาม ในขณะเดียวกันกับการฝึกนักศึกษาไปด้วย

ครูต้องออกแบบการสอนและคำถามล่วงหน้าให้กระชับ ให้ใบงานนศ.ล่วงหน้าในช่วงแรกๆที่นศ.ยังไม่ชินกับการเรียนการสอนแบบนี้ นรก็ต้องได้รับการฝึกเรื่องการตั้งคำถาม การระดมสมอง มากกว่านี้โดยเฉพาะคนที่ไม่ค่อยพูด

ปัญหาที่พบนั้น คือ นักศึกษามีปัญหาในเรื่องการเขียนอธิบาย และอาจยังไม่เข้าใจการเขียนสะท้อนคิด นักศึกษาเขียนมาสั้น ๆ ในครั้งแรก ต้องอธิบายให้เขียนใหม่อีกครั้ง ดังนั้นจึงควรมีการเตรียมความพร้อมนักศึกษาในการจัดการเรียนการสอนสะท้อนคิด ให้นักศึกษาได้เข้าใจกระบวนการ ขั้นตอนหรือประโยชน์ของมันเพื่อจะได้รับประโยชน์ของการสะท้อนคิดสูงสุด

หลายท่านจะรู้สึกว่าผลงานวิจัยที่ทำถูกวางไว้โดยไม่มีผู้อื่นรับรู้ ไม่มีผู้นำไปใช้ประโยชน์ ทั้งที่บางเรื่องเป็นเรื่องที่ดี มีกระบวนการวิจัยที่สมบูรณ์ทุกขั้นตอน เพียงเพราะว่าเหนื่อยล้าและถอดใจกับการแก้ไขบทความให้ถูกต้องตามที่แหล่งเผยแพร่ต้องการ หากท่านสามารถเปิดใจยอมรับว่านั่นคือ การพัฒนา เป็นการเรียนรู้จากผู้ทรงคุณวุฒิที่จะทำให้งานวิจัยชิ้นนั้นมีความสมบูรณ์มากขึ้น เป็นที่ยอมรับทั้งแหล่งตีพิมพ์ ยอมรับในผลงานวิจัย และยอมรับตัวผู้วิจัยเอง จะทำให้ท่านแก้ไขงานวิจัยนั่นอย่างเป็นสุข และต้องมีความมุ่งมั่นว่างานวิจัยที่ท่านลงทุนสร้างนั้น มีคุณค่าจริงและเป็นประโยชน์ต่อการนำไปใช้ จะทำให้มีกำลังใจในการแก้ไขชิ้นงานให้สมบูรณ์ ซึ่งเมื่อได้รับการตีพิมพ์แล้วจะทำให้เป็นการปิดช่องว่างระหว่างผู้วิจัยกับผู้ปฏิบัติได้อย่างแท้จริง

ได้นำมาฝึกใช้ในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารก1 แต่ยังไม่เต็มรูปแบบ ปัญหาที่พบ คือนักศึกษายังไม่ค่อยเข้าใจในเรื่องของการสะท้อนคิดเท่าที่ควร เมื่อให้นักศึกษาเขียนสะท้อนคิด นักศึกษามักเขียนมาสั้นๆ ไม่ค่อยชัดเจยเท่าไหร่



ครูและนักศึกษายังไม่ค่อยเข้าใจในวิธีการสะท้อนคิดอย่างชัดเจน ทำให้บางครั้งสิ่งที่ทำไม่รุ้ว่าถูกหรือผิด

มีการนำกระบวนการสะท้อนคิดในการเรียนการสอนทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ แต่ด้วยอาจารย์ยังขาดประสบการณ์การใช้กระบวนการสะท้อนคิดและยังไม่เข้าใจอย่างลึกซึ้ง ทำให้นักศึกษาไม่สามารถถ่ายทอดข้อมูลอย่างครบถ้วนตามวัตถุประสงค์ของการสะท้อคิด

-ไม่มั่นใจว่าขั้นตอนการ reflective thinkingทำถูกต้องหรือไม่

-ต้องใช้เวลาในการทำ...หากเวลน้อย..จะไม่ได้ความจริง

นศ ต้องการการกระตุ้นและสนับสนุนต่อเนื่อง บางครั้งอาจไม่ทั่วถึง

เสนอแนะครับ การจัดการเรียนการสอนในรูปแบบ reflective thinking นั้นผู้สอนจะต้องเปิดโอกาสในนักศึกษาได้พูดมากๆ ไม่ปิดกั้นความคิดของนักศึกษา และต้องสร้างบรรยากาศให้ปลอดภัยในขณะที่นักศึกษาสะท้อนคิดออกมาครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท