ประเด็นที่ให้อาจารย์วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ตรัง ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้



ประเด็นที่ 2 ท่านได้นำรูปแบบการเรียนการสอนแบบ reflective thinking ไปใช้อย่างไร







หมายเลขบันทึก: 592008เขียนเมื่อ 4 กรกฎาคม 2015 16:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 กรกฎาคม 2015 16:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (23)

ได้นำวิธีการเรียนการสอนสะท้อนคิดมาใช้ในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลมารดาทารกและผดุงครรภ์ 1 ในส่วนของแผนกห้องคลอด โดยให้นักศึกษาเขียนสะท้อนคิดในวันแรกที่นักศึกษาขึ้นฝึกปฏิบัติเนื่องจากเป็น ward ที่ไม่เหมือนกับที่นักศึกษาเคยฝึกมา มีความเฉพาะเจาะจงและอาจทำให้เกิดความเครียด ดังนั้นในการเขียนสะท้อนคิด จะทำให้อาจารย์เข้าใจนักศึกษา และนำส่วนที่นักศึกษาคิดมาปรับในการจัดการเรียนการสอน และช่วยเหลือนักศึกษาต่อไป อีกส่วนคือการให้นักศึกษาเขียนสะท้อนคิดในส่วนของการทำคลอดครั้งแรก จะช่วยให้นักศึกษาได้ทบทวนการทำคลอด และสิ่งที่ตนเองต้องปรับปรุงในการทำคลอดครั้งต่อไป ซึ่งถือว่าการสะท้อนคิดเป็นวิธีการที่ดีในการสอนภาคปฏิบัติ

นำไปใช้ในรายวิชา ปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาทางจิต

กลุ่มตัวอย่างนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 3 โดยแบ่งเป็นกลุ่มย่อย กลุ่มละ 8 คน

สถานที่ โรงพยาบาลสวนสราญรมย์

วิธีดำเนินการ

  1. ชี้แจงนักศึกษา อาจารย์นิเทศ เกี่ยวกับการใช้ทักษะการสะท้อนคิด
  2. กำหนดประเด็นในการสะท้อนคิด สัปดาห์ละ 1 เรื่อง ดังนี้

สัปดาห์ที่ 1 เมื่อต้องสร้างสัมพันธภาพ กับคนผู้ป่วยครั้งแรก

สัปดาห์ที่ 2 การให้การพยาบาลกับผู้ป่วยจิตเวช

สัปดาห์ที่ 3 สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการดูแลผู้ป่วยจิตเวชในภาพรวม

สะท้อนคิดโดยการพูดและการเขียนตามโครงสร้าง 6 ขั้นตอน

3.ในระยะแรกเมื่อเจอปัญหาจากการสะท้อนคิด ผู้สอนกลับมาทบทวนเนื้อหาจากการประชุมใหม่

4.ใช้การสะท้อนคิดกับนักศึกษาในสัปดาห์ต่อไป พบว่าการศึกษาต่อเริ่มมีความสอดคล้องมากขึ้นมีการใช้ Reflective ในการ conferrence และเปลี่ยนบรรยากาศเป็นเพื่อนช่วยเพื่อน และผู้สอนมีการเสริมแรงทางบวกให้กับนักศึกษา ส่งเสริมใหเกิดบรรยากาศแห่งการเรียนรู้มากขึ้น

..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/592008

ทดลองใช้ไม่เต็มรูปแบบในการเรียนการสอนวิชาสร้างเสริมภาคปฏิบัติ

ดิฉัน มีความสนใจและเห็นถึงประโยชน์ของการสะท้อนคิด จึงได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการนำเทคนิคการสะท้อนคิดไปใช้กับนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ซึ่งทางกลุ่มวิชาได้จัดประสบการณ์เสริมนอกเวล่าให้นักศึกษาได้เรียนโดยใช้วิธีสถานการณ์จำลอง (Simulation Base ) กับหุ่น Simmanและได้นำเทคนิค การสะท้อนคิด ไปใช้ในช่วงของ Debrief ซึ่งเป็นขั้นตอนสุดท้ายของการเรียนแบบSimultion

ใช้เทคนิคการสะท้อนคิด ในช่วงขั้นตอนการ Debrief ของ Simulation base learning

นำไปใช้กับนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ก่อนสำเร็จการศึกษา จัดเป็นชั่วโมงเพิ่มเติม โดยใช้กับการจัดการเรียนแบบสถานการณ์จำลอง (Simulation base learning ) ในขั้น debrief

ได้ทดลองนำไปใช้ในขั้นตอน Debrief ของการสอนโดยใช้ simulation เช่นกัน

ซึ่งคิดว่า การสะท้อนคิดมีประโยชน์ นอกจากส่งเสริมการคิดวิเคราะห์แล้ว ยังช่วย กระตุ้นการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง และพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาอีกด้วย

ในการเรียนรู้แบบ simulation ใขขั้นตอนสรุปของการเรียนรู้จากการใช้ sim การสะท้อนคิดจากการเรียนรู้เพื่อการวางแผนการนำไปใช้ใรนรายวิชาต่อไป

เอาไปใช้กับการ conference กรณีศึกษา ดีมากในประเด็นเล่าประสบการณ์ก็ให้เล่าข้อมูลทั่วไปและประวัติการเจ็บป่วย และข้อมูลอื่นๆ ให้เพื่อนๆช่วยตั้งคำถามให้เจ้าของตอบ โดยมีครูช่วย ตามด้วยถามความรู้สึก เทียบกับตำรา ตรงนี้ก็เอาการเปรียบเทียบกับพยาธิสภาพ ถามความรู้ใหม่ทั้งกลุ่ม ถามเจ้าของประเด็นการพัฒนา แนวทางปฏิบัติใหม่หากได้ดูแลผู้ป่วยประเด็นนี้อีก ไม่มีนศ.หลับในเลย คิดว่านศเข้าใจและเข้าสมองมากว่าการนำเสนอแบบเดิมๆมากค่ะ

ยังไม่ได้ใช้งานคะ ขอศึกษาสักระยะคะ

นำมาทดลองใช้กับการฝึกภาคปฏิบัติ รายวิชา ปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ 1 ณ สถานสงเคราะห์คนชราบ้านศรีตรัง กับ นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 2 ปีการศึกษา 2557 พบว่า ทำให้นักศึกษาได้สะท้อนคิดอย่างเป็นระบบ มีการวิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็งของตัวเองและกลุ่ม สามารถคิดเชื่อมโยงได้มากขึ้น และสามารถนำผลการสะท้อนคิดมาปรับปรุงตนเองและการทำงานของกลุ่มได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

นำไปใช้ในการสอนภาคปฏิบัติในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ ๑กับนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ ๒ มีความเหมาะสมกับกิจกรรมการเรียนการสอน แต่ยังมีประเด็นที่ต้องพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น ดังนี้๑. ด้านผู้เรียน นักศึกษาบางคนเขียนสรุปเนื้อที่อ่านโดยการคัดลอกเนื้อหาแทนการสรุป หรือวิเคราะห์จากการอ่าน การเขียนไม่มีความต่อเนื่องเท่าที่ควร ยังไม่เข้าใจวิธีการเขียนหรือโครงสร้างของการเขียนบันทึกการสะท้อนคิด ดังนั้นควรมีการชี้แจงหรือบอกวิธีการเขียนบันทึกสะท้อนคิดซ้ำ หรือนำชิ้นงานที่ผ่านมา มาวิเคราะห์สิ่งที่ดีอยู่ แล้วสิ่งที่ต้องปรับปรุงเพิ่มเติม ๒.ด้านผู้สอน มีการกำหนดประเด็นที่สอดคล้องกับสาระการเรียนรู้หลักของรายวิชา แต่ยังขาดความชำนาญในการตรวจ หรือการประเมิน/ให้คะแนน จากบันทึกการสะท้อนคิด ดังนั้นควรทบทวนหรือมีเกณฑ์การประเมินประกอบอยู่เสมอเมื่อต้องตรวจบันทึกการสะท้อนคิด

การนำไปใช้ในการสอน

รายวิชา : มโนมติ ทฤษฎีและกระบวนการพยาบาล

กลุ่มเป้าหมาย : นักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ ๒

วิธีการ : ให้นักศึกษาชมวิดิทัศน์ หนังจากโฆษณา หลังจากนั้นให้นักศึกษาสะท้อนคิดร่วมกัน

ประเด็นในการสะท้อนคิด : 1. ความต่อเนื่องระหว่างสุขภาพกับการเจ็บป่วย

2. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ

3. ผลกระทบจากการเจ็บป่วย

ผลการสะท้อนคิด : นักศึกษาสามารถแสดงเชื่อมโยงระหว่างสิ่งที่เห็นจากวิดีทัศน์กับความรู้ทางทฤษฎีได้

อาภรณ์ ภู่พัทธยากร

ได้นำวิธีการเรียนการสอนสะท้อนคิดมาใช้ในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลมารดาทารกและผดุงครรภ์ 1 ในส่วนของแผนกหลังคลอด โดยให้นักศึกษาพูดสะท้อนคิดในช่วงทำ Post conference แต่ละวันของการฝึก ว่านักศึกษาได้เรียนรู้อะไรบ้าง นักศึกษารู้สึกอย่างไร จากการดูแลและการสังเกตพฤติกรรมของมารดาหลังคลอดตลอดวันที่ผ่านมา....และวางแผนจะปรับปรุงในครั้งต่อไปอย่างไร

ได้นำมาใช้ในกลุ่มสุดท้ายที่ฝึกแผนกฝากครรภ์ หลังเสร็จสิ้นการฝึกได้ให้นักศึกษาพูดสะท้อนคิดเกี่ยวกับการฝึกปฏิบัติ

นำมาใช้ในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ 1ในแผนก ANC ในช่วง Post conference ว่ามีการเรียนรู้ใน case ไหนบ้าง และได้ดูแลและให้คำแนะนำอย่างไร ร่วมถึงการวิเคราะห์ปัญหาในการพยาบาลของหญิงตั้งครรภ์

-นำมาใช้ในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ 1ในแผนก หลังคลอด ในช่วง Pre-Post conference ว่ามีการเรียนรู้ใน case หรือ ปรากฏการณ์ (phenomenon) หรือ ความอยากร ้ ู(curiosity) ของผู้เรียน

-นำมาใช้ในรายวิชาการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ 2 ในการทำ Large group PBL หัวข้อ การพยาบาลมารดาที่มีภาวะแทรกซ้อนในระยะหลังคลอด

ได้นำวิธีการเรียนการสอนสะท้อนคิดมาใช้ในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลมารดาทารกและผดุงครรภ์ 1 ในแผนกห้องคลอด โดยให้นักศึกษาเขียนสะท้อนคิดในการฝึกปฏิบัติ เนื่องจากเป็น ward ที่ไม่เหมือนกับที่นักศึกษาเคยฝึกมา ดังนั้นในการเขียนสะท้อนคิด จะทำให้อาจารย์เข้าใจนักศึกษา และสามารถนำผลการสะท้อนคิดจากนักศึกษามาปรับในการจัดการเรียนการสอนต่อไป และมีการนำมาใช้ในรายวิชาแนวโน้มและพัฒนาการของวิชาชีพการพยาบาลในการสะท้อนคิดการเรียนการสอนในรูปแบบการจัดสัมมนาในการจัดโครงการการดูแลสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่งสามารถนำผลการสะท้อนคิดมาปรับใช้ในการจัดการเรียนการสอนในปีต่อไป

ใช้ในรายวิชา กรณีศึกษานำมาเป็นประเด็น สะท้อนคิด หัวข้อPIH

จากการเข้าอบรมความรู้จาก ดร. เชษฐา ทำให้รู้ว่า สิ่งที่เราเข้าใจเกี่ยวกับ การ "สะท้อนคิด" นั้น หลากหลายและแตกต่างกัน สิ่งที่เราเคยทำคือให้มีการสะท้อนคิดตามประเด็นที่กำหนด แต่ไม่ได้มีการหาหลักฐานอ้างอิงหรือหลักฐานเชิงประจักษ์มาใช้เพื่อหาแนวทางพัฒนาการเรียนรู้ตามขั้นตอนที่ ดร. เชษฐาใช้ แต่ ณ วันที่ได้รับการอบรม ได้เห็นพลังและประโยชน์ของการ "ตั้งคำถาม" เพื่อไปสู่การพัฒนากระบวนการคิดและกระบวนการแสวงหาความรู้ของผู้เรียน

ถามตัวเองว่า พร้อมที่จะนำแนวคิดและวิธีการไปใช้ไหม บอกได้ว่ายังไม่พร้อม เพราะครูเองก้อยังขาดทักษะในการคิดและเขียนสะท้อนคิดอย่างเป็นระบบ เคยลองเขียนสะท้อนคิดเอง เกิดอาการ "ไป ไม่เป็น" ไม่รู้จะไปต่อยังไง และเคยตั้งใจที่จะกลับมาพัฒนาตนเองกับ ดร. เชษฐาอีกครั้งในการอบรมระยะที่ ๒ และ ๓ ก้อไม่สามารถทำได้ ด้วยมีภาระงานในช่วงเวลาดังกล่าว

ตอนนี้ ก้อใช้กระบวนการสะท้อนคิดในแบบของตัวเองไป และได้เรียนรู้ว่า เมื่อมีการสะท้อนคิดมากขึ้น เหมือนการทำ before and after action review มากขึ้น มีการพูดคุยกันมาก มองหน้าสบตากันมากขึ้น เราจะเข้าใจกันมากขึ้น ......เข้าใจผู้เรียน และความยุ่งยากที่เขาประสบ เข้าใจและรับรู้ถึงความช่วยเหลือที่เขาอยากได้จากครูเพื่อต่อยอดความพยายามในการเรียนรู้ของเขา ......เข้าใจผู้สอนด้วยกัน ร่วมรับรู้และรับฟังทั้งเรื่องที่ประสบความสำเร็จและเรื่องที่มีความยุ่งยาก

อนาคต อยากพัฒนาตนเองเกี่ยวกับทักษะการตั้งคำถาม เพื่อพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูงของผู้เรียน เพื่อนร่วมงานและของตนเอง (ประมาณว่า ถามเอง ตอบเอง เพื่อกระตุ้นต่อมเอ๊ะ ของตนเอง)

ได้มีโอกาสเตรียมความพร้อมของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ก่อนสอบสภาการพยาบาล โดยใช้การสอนแบบ Simulation- Based Learning (SBL) โดยได้นำวิธีการสะท้อนคิด (Reflective thinking) มาใช้ในส่วนของขั้นตอน Debrief ซึ่งเป็นการให้นักศึกษาได้คิดวิเคราะห์ถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้ สร้างความเข้าใจในเนื้อหาส่วนนั้นๆ มากขึ้น

ทดลองใช้ในการฝึกปฏิบัติการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันการเจ็บป่วย โดยให้นักศึกษาตั้งคำถามสิ่งที่จะเรียนรู้ และจะทำอย่างไรให้เกิดผลตามสิ่งที่ต้องการ และครูเพิ่มเติมประเด็นที่นักศึกษาไม่ได้เสนอเพื่อให้สอดคล้องตามทักษะที่ต้องได้รับในการดูแลบุคคลแต่ละช่วงวัย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท