สุขภาวะเพศ...รู้แจ้งเพื่อเด็กกับวัยรุ่นพิเศษ


ขอบพระคุณทีมรายการสะพานสายรุ้งจากมูลนิธิเด็กที่สนใจจะสัมภาษณ์ผมในเรื่องเพศวิถีสำหรับเด็กและวัยรุ่นที่มีความต้องการพัฒนาทักษะชีวิตเป็นพิเศษ...จึงขอถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจในบันทึก Go to Know ที่เป็นเพื่อนเรียนรู้กับผมเสมอมา

ผมลองค้นข้อมูลและเสริมประสบการณ์ในการเรียนรู้เฉพาะทางกิจกรรมบำบัดสุขภาพจิตสังคมของตนเองเพื่อเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาทักษะชีวิตสำหรับเด็กและวัยรุ่นที่มีความต้องการพิเศษ ก็ได้พบข้อมูลที่น่าสนใจจาก LINK นี้ [Acknowledgement: Center of Parent Information and Resources (retrieved data on 2015, May 17), Sexuality Education for Students with Disabilities, Newark, NJ. ]

ต่อยอดไปถึงกระบวนการใช้สื่อการเรียนรู้สำหรับผู้ปกครองที่น่าสนใจมาก คลิกศึกษาที่นี่ [Acknowledgement: Planned Parenthood (retrieved data on 2015, May 17), Talking to Kids about Sex and Sexuality, Federation of America Inc.]

และเมื่ออ่านละเอียดในกลุ่มเด็กและวัยรุ่นที่มีความต้องการพิเศษ ก็สรุปได้ว่า

  • การจัดกิจกรรมเพศศีกษาโดยผู้ปกครองผ่านการอบรมจากผู้เชี่ยวชาญและพร้อมที่จะสอนลูกด้วยความรัก ความเข้าใจ และความมั่งคงทางอารมณ์ มุ่งหมายให้ลูกปลอดภัยจากการคุกคามทางเพศในสังคม ป้องกันภาวะตั้งครรถ์ก่อนวัยอันควร และลดความเสี่ยงในภาวะโรคติดเชื้อทางเพศ
  • เนื้อหาที่ควรให้ลูกเรียนรู้อย่างค่อยเป็นค่อยไป เช่น การเปลี่ยนสภาพร่างกายและอารมณ์เมื่อย่างเข้าสู่วัยรุ่น การฝึกทักษะทางสังคมในระดับของสัมพันธภาพที่หลากหลาย การเรียนรู้ภาษากายและการสัมผัสที่ปลอดภัยกับไม่ปลอดภัย การถ่ายทอดประสบการณ์ของพ่อแม่ที่เป็นรูปธรรม การแสดงออกทางเพศที่เหมาะสมกับที่ไม่เหมาะสม และการสำเร็จความใคร่ที่ส่งเสริมสุขภาวะ (ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ หลั่งสารเอนโดฟิน ลดภาวะเครียด นอนหลับสบาย เพิ่มความภาคภูมิใจในตัวเอง) โดยไม่ให้เกิดภาวะหมกหมุ่นหรือย้ำคิดย่้ำทำการกระตุ้นตัวเองมากเกินไป ซึ่งต้องปรึกษาแพทย์ด้วยการใช้ยารักษาหรือนักบำบัดเฉพาะทางด้วยการบำบัดทางเพศวิถี โดยเฉพาะโปรแกรมพิเศษรายบุคคลที่สื่อสารไม่เข้าใจและมีไอคิวต่ำกว่า 25

หากสนใจอ่านตัวอย่างเพิ่มเติม เช่น:-

  • สำหรับกลุ่มออทิสติกสเปคตรัม คลิกที่นี่ [Acknowledgement: Child-Autism-Parent-Cafe.Com]
  • สำหรับกลุ่มบกพร่องทางสติปัญญา คลิกที่นี่ [Acknowledgement: Betterhealth.vic.gov.au]

หลังจากบันทึกเทปรายการสะพานสายรุ้ง ผมขอสรุปแนวทางให้ผู้ปกครองหมั่นฝึกฝนในช่วงลูกอายุ 1-4 ปี ได้แก่:-

  • สังเกต ผู้ปกครองคอยเฝ้ามองลูกว่ามีความอยากรู้อยากเห็นเรื่องใดๆเกี่ยวกับความแตกต่างของอวัยวะเพศ บทบาททางเพศ การแสดงออกทางเพศ และการสร้างสัมพันธภาพทางเพศ ที่เหมาะสม กับ ที่ไม่เหมาะสม
  • สำรวจ ผู้ปกครองให้โอกาสลูกเรียนรู้อวัยวะของตนเองและเข้าใจหน้าที่อย่างเหมาะสมผ่านกิจกรรมที่ลูกชอบและสร้างสรรค์
  • สาธิตและสัมผัส ผู้ปกครองเป็นต้นแบบทางเพศที่เหมาะสมให้กับลูก ตอบด้วยความจริงและสอนลูกให้เข้าใจทักษะทางสังคมในการแสดงออกกับเพศเดียวกัน เพศตรงข้าม และเพศที่หลากหลาย โดยแยกแยะสัมผัสในเชิงมารยามสังคมที่แตกต่างกับในเชิงละเมิดทางเพศ
  • สะดวกและส่วนตัว ผู้ปกครองเพศเดียวกันคอยแนะนำให้ลูกมีความภาคภูมิใจตัวเอง สนใจดูแลร่างกายและอารมณ์ของตัวเองที่ปลอดภัยและเหมาะสม หากลูกไม่เข้าใจในการสำเร็จความใคร่เพื่อสุขภาวะ ผู้ปกครองควรแนะนำให้ลูกเข้าใจแล้วปล่อยให้เกิดความส่วนตัว
หมายเลขบันทึก: 590301เขียนเมื่อ 17 พฤษภาคม 2015 11:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 พฤษภาคม 2015 22:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
  • เมื่อก่อนการทำงานของผมกับเพศศึกษารอบด้าน จะมุ่งถึงเรื่องเพศ และการจัดการอารมณ์ทางเพศ แต่ตอนนี้ผสมผสานกับการเห็นคุณค่าของตนเอง และเอาพลังของเด็กมาใช้ประโยชน์ครับ สร้างพลังจิตอาสา งานอดิเรก กีฬา การทำงานให้เงินตอบแทนเล็กๆ น้อยๆ ครับ
  • ขอบคุณข้อมูลของอาจารย์สำหรับเด็กกลุ่มออทิสติก และบกพร่องทางสติปัญญา มากๆ ครับ เพราะทำให้เห็นอีกมุมหนึ่งของเด็ก และการจัดการของครอบครัวครับ

เป็นความคิดที่ดีมากครับคุณทิมดาบ การสอนเพศศึกษาเป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งของสุขภาวะเพศวิถี ซึ่งก็คือการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตที่เพิ่่มพูนทักษะจิตสังคมต่างๆ ที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ใช้เวลาว่างที่หลากหลายและสร้างคุณค่าในตนเองและผู้อื่น ขอบพระคุณมากครับผม

ขอบพระคุณมากครับอาจารย์ต้น คุณอร และคุณวินัย

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท