ปัญญาญาณ & ความว่าง & ฌาน


เราเคยสงสัยหรือไม่ว่า ?

ทำไม ? โลกมีความเจริญก้าวหน้าทางวัตถุมากขึ้นตลอดเวลา

แต่โลกกลับยิ่ง มีปัญหามากขึ้นเป็นเงาตามตัว หนอ









คำสำคัญจากชื่อบันทึกนั้น ผมว่า ไม่ใช่คำที่ไกลเกินไป

แต่เป็นคำที่มนุษย์ต้องเรียนให้รู้


เพราะไม่เช่นนั้น การออกแบบการศึกษาจะเข้าทำนอง

ยิงถูกเป้า แต่ไม่ใช่เป้าที่ต้องยิง หนอ


เราจะเห็นว่า พัฒนาการทางวัตถุของโลกเรานั้น

มีความเจริญก้าวหน้ามากขึ้นเรื่อย ๆ โดยอาศัย "ปรีชาญาณ"

หรือการเรียนรู้โดยอาศัยสมองเป็นหลัก

ซึ่งเป็นการศึกษาเพื่อวิชาการ และ เพื่อสัมมาชีพ เพียงเท่านั้น


โลกเริ่มละทิ้ง ห่างไกลไปจากการศึกษาเพื่อชีวิต มากขึ้นทุกทีเพราะเป็นนามธรรมและเข้าถึงได้ยาก


แต่ .. แต่ถ้าเราเข้าใจคำ 3 คำตามชื่อบันทึกนี้

น่าจะช่วยลดช่องว่าง ระยะห่างจากการศึกษาเพื่อชีวิตได้ง่ายขึ้น หนอ



การให้นิยาม คำว่า "ความว่าง" นั้น จะว่ายากก็ยาก จะว่าง่ายก็ง่าย

ที่ว่าง่าย เพราะเป็นประสบการณ์ปฏิบัติ เหมือนว่ายน้ำหรือปั่นจักรยาน

คนที่พบแล้ว เห็นแล้ว ว่ายน้ำเป็นแล้วก็จะบอกว่า ง่าย เป็นต้น


แต่คราวนี้ ถ้าใช้ "ฌาน" มาช่วยอธิบายความว่าง จะทำให้เข้าใจง่ายขึ้น
(เหมาะสำหรับผู้ปฏิบัติในประเทศไทยที่เป็นเถรวาทอย่างเรา ๆ หนอ)

พูดง่าย ๆ ประมาณว่า

ความว่างที่เราต้องการ คือ ฌาน 1 ถึง 4 ซึ่งว่างแต่มีสติรู้ตัวอยู่
(ยิ่งสูงยิ่งดี 4 ดีกว่า 3 ดีกว่า 2 ดีกว่า 1)

แต่ไม่ใช่ฌาน 5 - 8 ที่เป็นความว่างแต่ไม่รู้ตัว หนอ



เกี่ยวข้องอะไรกับ ปัญญาญาณ และ จิตเดิมแท้ เราค่อยกลับมากันต่อ หนอ


หมายเลขบันทึก: 590228เขียนเมื่อ 14 พฤษภาคม 2015 22:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 พฤษภาคม 2015 00:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เพื่อนๆ ชอบอ่าน "ฌาน" กันมาช่วงนี้ครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท