ชีวิตที่พอเพียง : ๒๔๐๙. ปฏิรูปบ้านเมืองตัวจริง


แน่นอนว่า กระแสปฏิรูปที่กำลังดำเนินการในขณะนี้ จะสร้างกลไกบางอย่างที่เข้าไปขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง กลไกบางอย่างจะเอื้อให้มีการทดลองโมเดลใหม่ เพื่อยืนยันว่า เป็นรูปแบบใหม่ที่ให้ผลดีต่อบ้านเมืองอย่างแท้จริง แต่เราต้องการกลไกตั้งโจทย์ และเก็บข้อมูลเพื่อวิจัยสนับสนุนวิวัฒนาการนี้ ให้มีการปรับตัวไปในทางที่ก่อผลดี ต่อบ้านเมืองอย่างแท้จริง ไม่ให้ถูกแรงกดดันจากผลประโยชน์ของคนส่วนน้อย และผลประโยชน์ระยะสั้นของบ้านเมือง เป็นตัวปิดกั้นวิวัฒนาการไปสู่ระบบหรือโครงสร้างที่เป็นคุณต่อบ้านเมืองในภาพใหญ่ และในระยะยาว


เช้าวันที่ ๕ เมษายน ๒๕๕๘ ช่วงรอขึ้นเครื่องบินที่ดอนเมือง เพื่อไปลงที่สนามบินร้อยเอ็ด (และนั่งรถต่อไปสุรินทร์) ดร. สีลาภรณ์ บัวสาย หนึ่งในสมาชิก สปช. ที่เป็นผู้นำด้านปฏิรูประบบงบประมาณของประเทศ ให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนา ประเทศยิ่งขึ้น สอดคล้องกับการกระจายอำนาจ กระจายความเจริญ และสร้างความเท่าเทียม ลดความเหลื่อมล้ำในสังคม เอาแนวคิด "กระบวนการงบประมาณเชิงพื้นที่" (Area-Based Budgeting) มาให้ดู

ภายใต้โมเดลนี้ จังหวัดจะเป็นหน่วยแผนพัฒนา เสนอวงเงินงบประมาณรายจังหวัด และ อปท. จะเป็นหน่วยงบประมาณ ได้รับงบประมาณโดยตรงจากสำนักงบประมาณ

นั่นคือ แต่ละจังหวัดจะต้องมีแผนพัฒนาจังหวัด ที่มีกลไกให้ทุกภาคส่วนในจังหวัดมีส่วนร่วมแสดงความต้องการ และข้อคิดเห็น กลไกนั้นคือเวทีสมัชชาพลเมืองจังหวัด

ในทำนองเดียวกัน จะต้องมีแผนพัฒนาตำบล และเวทีสมัชชาพลเมืองตำบล เป็นกลไกให้ประชาคมในตำบลมีส่วนร่วม ในการวางแผนใช้งบประมาณเพื่อพัฒนาตำบล

ความท้าทายคือ ทำอย่างไรจะให้กลไกกระจายอำนาจ และการมีส่วนร่วมของประชาคมนี้ ไม่ถูกฮุบโดยเหลือบฝูงใหม่ ไม่ถูกชักจูงโดยผลประโยชน์ของคนส่วนน้อยที่มีสิทธิ์มีเสียง และไม่ถูกชักจูงโดยความหลงผิดมุ่งประโยชน์ระยะสั้น ประโยชน์เฉพาะส่วน

คำตอบของผมคือ เราต้องสร้างความเข้มแข็งของการวิจัยเชิงระบบ และการจัดสรรทรัพยากรเข้าไปสนับสนุนการวิจัยนี้ รวมทั้งจัดให้มีกลไกกำกับดูแลให้การวิจัยระบบนี้ทำงานอย่างมีคุณภาพ ตรงเป้า และสื่อสารสังคมกว้างขวาง

ขณะนี้เรามีสภาปฏิรูปแห่งชาติ ที่กำลังดำเนินการปฏิรูประบบต่างๆ ของบ้านเมืองอย่างขมักเขม้น ผมติดตามอยู่ห่างๆ ได้รับรู้จากกัลยาณมิตรหลายท่านที่เข้าไปอยู่ในวง สปช. ที่มุ่งเปลี่ยนแปลงระบบหรือโครงสร้างการบริหารบ้านเมือง แล้วผมสรุปว่า การเปลี่ยนแปลงระบบที่เราเห็นๆ อยู่ว่าผิดพลาดรุนแรง เช่นระบบการศึกษา ก็จะไม่เป็นการเปลี่ยนในระดับปฏิรูป ฉับพลัน แต่จะเป็นการเปลี่ยนแบบวิวัฒนาการมากกว่า

แน่นอนว่า กระแสปฏิรูปที่กำลังดำเนินการในขณะนี้ จะสร้างกลไกบางอย่างที่เข้าไปขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง กลไกบางอย่างจะเอื้อให้มีการทดลองโมเดลใหม่ เพื่อยืนยันว่า เป็นรูปแบบใหม่ที่ให้ผลดีต่อบ้านเมืองอย่างแท้จริง

แต่เราต้องการกลไกตั้งโจทย์ และเก็บข้อมูลเพื่อวิจัยสนับสนุนวิวัฒนาการนี้ ให้มีการปรับตัวไปในทางที่ก่อผลดี ต่อบ้านเมืองอย่างแท้จริง ไม่ให้ถูกแรงกดดันจากผลประโยชน์ของคนส่วนน้อย และผลประโยชน์ระยะสั้นของบ้านเมือง เป็นตัวปิดกั้นวิวัฒนาการไปสู่ระบบหรือโครงสร้างที่เป็นคุณต่อบ้านเมืองในภาพใหญ่ และในระยะยาว


วิจารณ์ พานิช

๘ เม.ย. ๕๘


หมายเลขบันทึก: 590097เขียนเมื่อ 11 พฤษภาคม 2015 15:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 พฤษภาคม 2015 15:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท