Disaster Law กฎหมายสาขาใหม่ที่น่าเรียนในยุค Global climate change


เรียนทุกท่านที่อานบันทึกฉบับนี้ครับ ดังที่เคยเรียนทุกท่านไว้ ผมได้ทุนหลวงมาเรียน ผมก็อยาก เอาความรู้ไปพัฒนาประเทศ สิ่งที่ผมทำได้คือสะท้อนความเห็นประสบการณ์ต่างๆในรูปของบันทึกและนำเสนอให้ ท่านทั้งหลายทราบ เผื่อว่าจะจุดประกายอะไรได้

วันนี้ที่อยากนำเสนอคือ หัวข้อวิทยานิพนธ์ครับหรือสาขาที่น่าสนใจในการศึกษากฎหมายครับ

หัว ข้อวิทยานิพนธ์และสาขากฎหมายที่อยากนำเสนอคือ กฎหมายการจัดการภัยพิบัติ (Disaster Law) ที่จริงผมเขียนบล็อกเรื่องนี้ไว้ หลายปีแล้ว แต่ไม่มีเวลาค้น พอไปนั่งฟังบรรยายโปรเฟสเซอร์ที่นี่เลยได้โอกาศหยิบมาคุย โดยเฉพาะอย่าางยิ่ง หลังจากเกิดภัยพิบัติจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และสิ่งแวดล้อมขึ้นทั่วโลก โดยเฉพาะที่เนปาล ที่จริงที่ออสเตรเลียที่ผมมาเรียนนนี้ก็พึ่งถูกพายุไซโคลนถล่มไป หนึ่งอาทิตย์ เหมือนกัน สิ่งนี้ทำให้กฎหมายการจัดการภัยพิบัติสำคัญมากขึ้นเป็นทวีคูณ

ออสเตรเลีย ที่ผมมาเรียนอยู่นนี้ เป็นประเทศหนึ่งที่ได้รับผลกระทบในแง่สิ่งแวดล้อมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิ อากาศอย่างมาก การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลให้ มีคนเป็นมะเร็งผิวหนังเพิ่มขึ้นทุกปี จากชั้นบรรยากาศที่รั่ว เนื่องจากที่นี่มีปัญหาเรื่องชั้นโอโซนที่เบาบาง ถึงขั้นมีการจัดตั้งกองทุนที่เรียกว่า มะเร็ง Cancer council เพื่อรณรงค์ช่วยเหลือผู้ป่วยมะเร็ง สถานการณ์ออสเตรเลียนี้จะไปผูกกับปริมาณคนสูงอายุที่สูงขึ้น และโดยวัฒนธรรมชาวตะวันตกที่คนสูงอายุจะอยู่คนเดียวลูกหลานนานๆ แวะมาเยี่ยมที่ทำให้แนวโน้มการแก้ไขปัญหายากขึ้นแม้ระบบสวัสดิการสังคมจะดี พอควรทีเดียว ยิ่งกว่านั้นยังมีปัญหาเรื่องสิทธิตามรัฐธรรมนูญที่คุ้มครองกรรมสิทธิและ สิทธิส่วนบุคคลทำให้การแก้ปัญหาทำได้ยากขึ้น นี่ยังไม่ร่วมปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ เช่นการก่อการร้ายและมิติเรื่องความมั่นคงที่อาจทำให้ปัญหาซับซ้อนยากขึ้นไป อีก ปัญหาอีกอย่างที่อยากชี้ คือ การกัดเซาะของน้ำทะเล ที่และการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลที่จะทำให้ชายฝั่งลดพื้นที่ลง สิ่งเหล่านี้นำมาซึ่งปัญหาที่ท้าทายนักกฎหมาย นักสิ่งแวดล้อม และนักปกครองให้หาทางร่วมมือกันสร้างระบบกฎหมายและระบบบริหารจัดการที่ สามารถเข้ามา เตือนภัย แก้ไขและลดความเสียหายระหว่างเกิดภัยพิบัติได้

ยกตัวอย่างเช่น

ก่อนมีภัยพิบัติในพื้นที่ที่มีแผ่นดินไหวรุนแรงเกิดขึ้นบ่อย ข้อกำหนดเรื่องผังเมืองควรจะมีเช่นไร

ควรมีรายงานจากนักธรณีวิทยาเรื่องความแข็งแรงของพื้นที่ไหม

ควรมีการออกข้อกำหนดในการก่อสร้างไหม

ควรมีข้อกำหนดเรื่องประกันภัยไหม

ภาษีท้องที่ควรมีเช่นไร เพื่อจูงใจให้คนเลี่ยงการก่อสร้างหรือพัฒนาพื้นที่ในพื้นที่เสี่ยงภัย

หน่วยงานใดใครมีหน้าที่รับผิดชอบ เตือนเรื่องภัยพิบัติ

เมื่อมีภัยพิบัติ

ใครมีหน้าที่ อพยพผู้คน และควบคุมผู้คนที่อพยพ ตลอดจนนำไปสู่พื้นที่ปลอดภัย

ใครมีหน้าที่ควบคุมพื้นที่เกิดภัยพิบัติ

ใครมีอำนาจสั่งทำลายสิ่งก่อสร้างที่เสียหายจากภัยพิบัติ

ใครมีหน้าที่จ่ายอาหาร

ฯลฯ ทั้งหมดทั้งหลายทั้งปวงนี้เป็นเรื่องที่รอบุคคลทั้งหลายที่เกี่ยวข้องมา แก้ไข และสร้างระบบกฎหมายและการจจัดการรมาเตรียมพร้อมแก้ไขปัญหา

หมายเลขบันทึก: 589835เขียนเมื่อ 7 พฤษภาคม 2015 06:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 พฤษภาคม 2015 06:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท