การนำเสนอภาษาใหม่ (Presenting new language) ตอนที่ 4


เหตุใดเราจึงต้องใช้แนวทางนิรนัย (Why use the deductive approach?)

แนวทางนี้สามารถตอบสนองความคาดหวังของผู้เรียนได้ ในการเรียนแบบอุปนัยนั้น ถึงแม้การเรียนกับแนวทางอุปนัยจะเป็นสิ่งใหม่ และบางครั้งก็ดูหัวรุนแรง เพราะว่ามันขัดกับประสบการณ์ที่เคยเรียนมาก่อน

บางครั้งมันอาจง่ายขึ้น ถ้าชั้นเรียนจะใช้แนวทางนิรนัย เมื่อเริ่มต้นจากสิ่งที่ง่ายขึ้น ไปสู่สิ่งที่ยากขึ้น ซึ่งอาจเหมาะสมกับผู้เรียนบางคน นอกจากนี้มันอาจง่ายสำหรับครูที่มีประสบการณ์น้อย เพราะสามารถควบคุมผลการเรียนรู้ได้ (outcomes) และยังสามารถควบคุมภาษาตัวป้อน (input language) ได้มากขึ้นด้วย

เรายังสามารถควบคุมความเข้าใจในเรื่องกฎของผู้เรียน (ทำให้แน่ใจว่า ความคิดในเรื่องรูปแบบเป็นสิ่งที่ถูกต้อง) และยังใช้เวลาอย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าแนวทางอุปนัย ที่ต้องใช้เวลามากกว่า แนวทางแบบนิรนัยนี้ยังตอบสนองรูปแบบการเรียนรู้ที่มากกว่า 1 แต่แนวทางอุปนัย เหมาะกับรูปแบบการเรียนรู้ที่มีลักษณะเฉพาะเท่านั้น สุดท้ายแนวทางแบบนิรนัยนี้ยังถูกใช้กับหนังเรียน และสอดคล้องกับโครงสร้างหลักสูตร (syllabus structures)

ข้อสรุป (Conclusion)

อย่างที่เราได้เห็น ทั้งสองวิธี นำเสนอโอกาสในการเรียนรู้ และยังสอดคล้องกับผู้เรียนที่แตกต่างกัน และบริบทในการเรียนรู้ ในการตัดสินใจเรื่องใดๆก็ตาม พวกครูควรทำตามจุดมุ่งหมายของผู้เรียน

ในตอนสุดท้าย หากเป็นไปได้ เราอาจผสมกันระหว่างแนวทางทั้งสองก็ได้ เช่น ในตอนเริ่มต้นอาจเป็นแนวทางนิรนัย และต่อมาก็เป็นขั้นอุปนัย เป็นต้น

หนังสืออ้างอิง

Paul Kaye.(2015). Presenting new language. http://www.teachingenglish.org.uk/article/presenting-new-language?utm_source=facebook-teachingenglish&utm_medium=wallpost&utm_campaign=bc-teachingenglish-facebook

หมายเลขบันทึก: 589780เขียนเมื่อ 5 พฤษภาคม 2015 18:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 พฤษภาคม 2015 18:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท