นักเขียนน่าอ่าน: Stephen Baxter (2)


เรื่องชุด Manifold

เขาเขียนเรื่องแบบจบในเล่ม แต่อาจเรื่องยาวหลายภาค หรืออาจเป็นเล่มเดียวโดด ๆ

ในนวนิยายนับร้อยเรื่องที่เขาเขียน ชุดที่น่าอ่านมากชุดหนึ่งคือชุด Manifold

แนวคิดหลักใน Manifold จะเกิดอะไรขึ้นถ้ามีจักรวาลคู่ขนาน ?

Manifold: Time (เกิดอะไรขึ้น ถ้าเวลา ไม่เหมือนที่เราเราเคยชิน และจะเกิดอะไรขึ้นเมื่อเวลาสุดท้ายของเอกภพมาถึง)

Manifold: Space (เกิดอะไรขึ้นถ้ามนุษย์ไม่ได้อยู่โดยลำพัง ?)

Manifold: Origin (เกิดอะไรขึ้น เมื่อจักรวาลคู่ขนานนับไม่ถ้วน มาบรรจบกัน ?)

Manifold: Phase Space (รวมเรื่องสั้น) เป็นเรื่องแยกไป

คำว่า Manifold หมายถึงการซ้อนกันหลายชั้นของปรากฎการณ์ ซึ่งเป็นภาษาคณิตศาสตร์ที่อังรี ปวงกาเร ใช้บรรยายความเป็นไปได้นับไม่ถ้วนของ dynamical system ที่บรรยายได้โดยสมการเชิงอนุพันธ์  ซึ่งไม่ว่าดูคล้ายกันอย่างไรก็ตาม ก็ไม่เหมือนกัน และไม่มีวันบรรจบซ้อนกัน ซึ่งปวงกาเรโยนทิ้งพิกัด cartesian ของกาลอวกาศ ไปใช้ระบบพิกัดที่เรียกว่า phase space แทน (Baxter ตั้งชื่อทั้ง 4 เล่มว่า Space, Time, Origin, Phase Space ซึ่งก็เป็นศัพท์เรียกพิกัดของปวงกาเร)

แนวเรื่องทั้งหมดใน Time/Space/Origin คือประวัติศาสตร์คู่ขนานที่เป็นไปได้นับไม่ถ้วน โดยทั้ง 3 เล่ม ล้วนมีตัวละครร่วมกัน เกิดแยกไปต่างเส้นทาง แต่วิถีชีวิตตัวละครไม่เหมือนกันเลย และพล็อตหลักในแต่ละเล่ม เดินไปคนละทิศคนละทาง ถ้าอ่านโดยไม่รู้มาก่อนคงจะเมาน่าดู

ในส่วนพลอตเรื่อง นิยายก็คือนิยาย คืออ่านเอามันส์

แต่ในส่วนรายละเอียดนี่สิครับ อ่านแล้วเปิดหูเปิดตา เพราะดูเหมือนว่าเขาจะพยายามสรุปแนวคิดน่าสนใจทางฟิสิกส์ยุคใหม่ที่ล่าสุดมาใส่ไว้ในเนื้อเรื่องได้ 'เนียน' และใส่ไว้มาก โดยไม่ได้ทำให้ดูเป็นเรื่องวิชาการ เพราะเขานำมาใช้อธิบายปรากฎการณ์ที่กำลังเดินไปในเรื่อง

นิยายสไตล์นี้แหละครับ ที่จะทำให้นักเรียนอยากเรียนลึกลงไปในทางวิชาการ

เราอาจเคยเห็นสไตล์ทำการบ้านหนักทำนองนี้มาแล้วในหนังสือของแดน บราวน์ (เช่น เทวากับซาตาน รหัสลับดาวินซี) หรือไมเคิล คริชตัน (จูราสสิค พาร์ค)

รายนี้ก็เช่นกันกับ อ่านแล้วไม่ผิดหวัง

เพราะคนเขียนคนนี้ เป็นนักเขียนแบบ 'พหุวิทยาการ' ที่หาตัวจับยากอีกคน เพราะเขามักเขียนถึงการเปลี่ยนแปลงทางสังคมควบคู่ไปด้วย ซึ่งเน้นความสมจริง ให้เราได้เรียนรู้ปฎิกิริยาระดับสังคมต่อข่าวดี ข่าวร้าย และข่าวร้ายยิ่งยวด อย่างน่าคิด คืออ่านแล้ว จะฉุกคิดว่า ของจริง ก็คงเกิดแบบนี้ ทำนองนี้นั่นแหละ

สำหรับผม นี่คือการศึกษาประวัติศาสตร์สมมติ ที่ผู้สนใจมิติสังคมไม่ควรมองข้าม

หมายเหตุ: ยังไม่มีฉบับแปลภาษาไทยครับ

 

หมายเลขบันทึก: 58967เขียนเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2006 00:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 เมษายน 2012 17:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท