ขยุ่มเชือกไหมพรมกำลังค่อยๆคลายตัวออก


ขยุ่มเชือกไหมพรมกำลังค่อยๆคลายตัวออก



24-26 เมษายน 2558 ทีม CADL นำโดยอาจารย์ ดร.ฤทธิไกร ไชยงาม (อ.ต๋อย) รองผู้อำนวยการฝ่ายกิจการพิเศษและพัฒนาเครือข่ายวิชาการสำนักศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลับมหาสารคาม มีโอกาสพบปะสังสรรค์ทางวิชาการกับครูเพื่อศิษย์จังหวัดมหาสารคาม (LLEN มหาสาคาม) ด้วยวาระดีๆ "พัฒนาเครือข่ายทางวิชาการครูสอนดี (ฺBest Practice) และการเสริมสร้างทักษะการเขียนหนังสือเล่มเล็ก" ที่เพลาเพลินบูติกรีสอร์ทแอนด์แอดเวนเจอร์ จังหวัดบุรีรัมย์ ขออนุญาตใช้คำว่าพบปะสังสรรค์ทางวิชาการเนื่องจากการร่วมแลกเปลี่ยนของชาวเราเป็นไปอยางสนุกสนานจนลืมไปว่าเราอยู่ในเวทีแลกเปลียน

สิ่งที่เรากำลังพยายามทำอยู่คืออะไร

อาจมีหลายคำถามเกิดขึ้นในใจของคุณครู ว่าเรากำลังพยายามทำอะไรอยู่ คำตอบคือเราพยายามให้ครูสามารถเข้าใจและถ่ายทอดแนวปฏิบัติทีดีและได้ผลของตนเองให้กับเพื่อนครูคนอื่นได้ และพยายามพัฒนาสู่งานเขียนเพื่อขยายวงในการเผยแพร่ให้กว้างออกไป

คำถามต่อมาคือแล้วครูไมเข้าใจตนเองและยังถ่ายทอดไม่ได้หรือ? คำถามนี้คุณครูอาจตอบตนเองได้แล้วเมื่อลองถ่ายทอดประสบการด้วยการบอกเล่าในเวทีแลกเปลียนร่วมกับเพื่อนครู เริ่มต้นไม่รู้จะเริ่มจากตรงไหนของเรื่องราว...กระบวนกรจะช่วยให้กระบวนการนี้ไหลลื่นด้วยคำถาม จากนั้นความไหลลื่นก็หลั่งออกมาอยางต่อเนื่องเพราะครูทุกคนมีเรืองราวจากประสบการณ์อยู่แล้ว อาจใช้เวลา 10 นาที 20 นาที หรือทั้งวันในการถ่ายทอด แต่ประสบการณ์จะถูกจำกัดอยู่ในวงแลกเปลี่ยน หากจะกระจายออกไปให้กว้างขึ้น จึงต้องมีงานเขียนชนิดที่เรียกว่ามีเอกสารนี้เสมือนครูBP เดินทางไปเล่าเรื่องราวให้กับเพื่อนครูด้วยคนเองเลยก็ว่าได้ แต่ปัญหาคือเมื่อเริ่มเขียนครูที่ถ่ายทอดประสบการณ์ในวงแลกเปลี่ยนได้ดังน้ำที่ไหลจากภูเขาอยางต่อเนื่องกลับหยุดชะงัก เหมือนปิดก๊อกน้ำจากระบบประปาทั้งที่น้ำก็ไหลมาเต็มท่อแต่ตอนนี้เราเพียงแค่ยังไขก๊อกเจ้าปัญหานี้ไม่ได้ จึงต้องมีขั้นตอนการถอดบทเรียนขึ้นเพื่อชวยให้เข้าใจวิธีเปิดก็อกนี้นั่นเอง

กระบวนการถอดบทเรียนเจะให้ครูBP สามารถเข้าใจตนเองมากขึ้นในเรื่องราวและBPของตนเอง เป็นกระบวนการช่วยให้ครูลำดับประสบการณ์ให้เป็นระบบ เพื่อจัดระเบียบและเผยแพร่ออกไปในภาษาที่ง่าย เข้าใจและนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ



ครูBPตอนนี้มีสิ่งที่จะถ่ายทอดอยู่แล้วแต่ยังไม่รู้จะถ่ายทอดอย่างไรดีเหมือนมีเชือกไหมพรม 1 ขยุ่มทีไม่รู้ปลายเชือกอยู่่ไหนรู้แต่เพียงว่ามีเชือก แต่การจะแบ่งให้คนอื่นไปใช้ยังต้องงมหาปลายชือกและตีกับปมที่ยุ่งเหยิง การถอดบทเรียนและร่วมแลกเปลี่ยนโดยมีกระบวนกรช่วยเป็นการดึงประสบการณ์ออกมาทีละขั้นตอน ให้เจ้าของประสบการได้ไล่รื้อสิ่งที่ทำมาและจัดระเบียบประสบการนั้นโดยมีกระบวนกรช่วยจับประเด็นให้เจ้าของประสบการณ์เห็นภาพงานBPของตนเองชัดขึ้น เสมือนช่วยกันหาปลายของ

ขยุ่มเชือกนั้นแล้วค่อยๆ สาวเส้นเชือกนั้นขึ้นมาจากกองที่วุ่นวาย เก็บมันใหม่อย่างเป็นระเบียบม้วนไว้เป็นก้อนๆ ง่ายต่อการนำไปใช้งานนั่นเอง

เมื่อขยุ่มเชือกกองนั้นถูกจัดเป็นระเบียบ โดยที่ในกองนั้นอาจมีเชือกหลายๆเส้นพันๆกันอยู่ถูกม้วนไว้เป็นก้อนๆเส้นใครเส้นมัน เสมือนกับกระบวนการสอนที่ถูกถอดความจนเห็นกระบวนการหลักๆอย่างเป็นขั้นตอนแล้ว สิ่งต่อมาคือการนำเค้าโครงกระบวนการสอน (ก้อนเชือก) ไปเขียนเป็นโมเดล (Model) ที่อธิบายสั้น กระชับขึ้น เหมือนเราเอาก้อนเชือกมาย่อยม้วนเชือกแล้วมัดไว้ 3 เมตร 5 เมตร 10 เมตร สะดวกต่อการแบ่งปัน ยังจัดวางไว้เป็นระบบง่ายต่อการหยิบใช้ให้เหมาะสมกับความยาว

เรื่องราวของโมเลดขยุ่มไหมพรมก้อนนี้คงพออธิบายสิ่งที่ CADL กำลังพยายามให้เกิดขึ้นได้ระดับหนึ่ง จะเห็นได้ว่าโมเดลเป็นการตกผลึกความคิด เพื่อเป็นเครื่องมือช่วยในการอธิบายเรื่องราวให้งายขึ้น เหมือนช่วงแรกที่เราบอกเล่ากันในวงสนทนา อาจใช้เวลาครึ่งวันในการอธิบาย จับประเด็นออกมาแล้วใช้เวลา 10 นาทีในการอธิบายสรุป เมื่อตกผลึกประเด็นเหล่านี้ออกมาเป็นโมเดล อาจใช้เวลา 3-5 นาทีในการอธิบาย แต่ครอบคลุม ครบถ้วน และเป็นขั้นตอน สะดวกในการถ่ายทอดเหมือนมัดเชือก 5 เมตรทีหยิบไปใช้ได้โดยง่ายดายนั่นเอง






หมายเลขบันทึก: 589491เขียนเมื่อ 29 เมษายน 2015 11:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 เมษายน 2015 09:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ดีมากครับ คงต้องนำไปปรับใช้บ้างครับ


น่าสนใจมาก

คำว่า อนุญาต ไม่มีสระอิครับ

รออ่านต่อครับ

เป็นการยกตัวอย่างที่ดีที่สุด เท่าที่เคยได้ยินมาในเรื่องการ "ถอดบทเรียน" ครับ ... อ่านแล้ว คิดถึง ธรรมะของหลวงพ่อชา สุภัทโท .... หาใครจะเปรียบได้กับ การอุปมาที่หลวงพ่อใช้เพื่ออุปมัยให้เราเห็นและเข้าใจ... .

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท