โครงสร้างระบบเศรษฐกิจและปัจจัยที่มีผลต่อเศรษฐกิจ


โครงสร้างระบบเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นเรื่องของการปรับตัวด านปัจจัยการผลิตตางๆ ได้แก่ แรงงาน ทรัพยากร หรือทุนหรือที่เรียกกันว่าด้านอุปทาน ( supply side) ทั้งนี้ หากมองไปในอนาคตข้อจำกัดทางานอุปทาน (supply constraints) จะมีมากขึ้นเรื่อยๆไมาจะเป

านประชากร ประเทศไทยกำลังเขาสูสังคมวัยชราอยางรวดเร็ว โดยไดเริ่มผานจุดที่ประชากรวัยแรงงานมีจำนวนมากที่สุดใน ประวัติศาสตรก่อนที่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนกำลังจะมีขึ้นอยางเปนทางการในวันที่ 31 ธันวาคม 2558 นอกจากนี้อีก เพียงประมาณ 10 ปี นับจากการเปิดการค้าเสรีในอาเซียน ประชากรของไทยจะเริ่มลดลงเป็นประเทศแรกในกลุ่มอาเซียน

ด้านทรัพยากร โดยเฉพาะแหล่งพลังงาน ประเทศไทยมีค่อนข้างจำกัด ยิ่งเมื่อเทียบกับประเทศ เพื่อนบ้าน จะเห็นว่า ประเทศไทยมีแหล่งพลังงานที่น้อยกว่ามาก

ด้านการสะสมทุนของประเทศ ก็ยังไม่ฟื้นตัว ซึ่งรวมถึงองค์ความรู้ เทคโนโลยีต่างๆ ของไทย ที่จะ ช่วยยกระดับผลิตภาพของการผลิต (productivity) ก็ไม่มีการพัฒนาเท่าที่ควร

ด้านการเมือง ถ้าการเมืองยังไม่สงบไม่นิ่งซักที่ก็ส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจอย่างมาก การเมืองไม่สงบก็ไม่ค่อยเกิดการลงทุนไม่ค่อยมีใครอยากจะลงทุนทั้งนััน

ดังนั้นการที่ประเทศไทยจะใช้ประโยชน์จากต้นทุนแรงงานราคาถูก ทรัพยากรและปัจจัยทุนเดิมๆ เพื่อการขยายตัวอย่างในอดีตที่ผ่านมาคงจะเป็นไปไม่ได้แล้ว เพราะถ้าประเทศไทยยังจะใช้แนวทางการพัฒนาในรูปแบบเดิมๆ คงจะเห็นการขยายตัวของ GDP เฉลี่ยประมาณร้อยละ 3 ไปอีกใน 10 ปี ข้างหน้า เทียบกับประเทศในภูมิภาคด้วยกันแล้ว ก็คงเรียกได้ว่า ประเทศไทยจะโตแบบตกรถไฟ ในขณะเดียวกัน หากพิจารณาไปพร้อมกับการที่ประเทศไทย กำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุในอีกไม่นาน ก็อาจพูดง่ายๆ ได้ว่า เป็นประเทศที่จะแก่ก่อนรวย เพราะยังไม่ทันที่ประเทศไทยจะ ก้าวข้ามกับดักรายได้ปานกลาง ก็กลายเป็นประเทศที่ประชากรเข้าสู่สังคมวัยชราแล้ว ยังไม่รวมถึงการที่ประเทศยังไม่ได้ เตรียมการออมเพื่อชราภาพที่เพียงพอและทั่วถึงอย่างเป็นระบบ ซึ่งต่อไปจะทำให้เกิดปัญหา จนตอนแก่อีกด้วย อย่างไรก็ดี หากประเทศไทยปรับกลยุทธ์การพัฒนาให้เหมาะสม ภายใต้ข้อจำกัดเหล่านี้ โดยการปฏิรูปและปรับโครงสร้างระบบเศรษฐกิจให้อิงการเติบโตที่มาจากการเพิ่ม productivity ควบคู่กับการพัฒนาอย่างทั่วถึง GDP อาจสามารถกลับมาโตได้เฉลี่ยร้อยละ 5 ต่อปี ในอีก 10 ปีข้างหน้า

หมายเลขบันทึก: 589378เขียนเมื่อ 26 เมษายน 2015 21:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 เมษายน 2015 21:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท