ปอดอักเสบ จากการใช้เครื่องช่วยหายใจ (Ventilator Associated Pneumonia: VAP)


ปอดอักเสบ จากการใช้เครื่องช่วยหายใจ

พบมากถึงประมาณร้อยละ 18 ของการติดเชื้อ ในโรงพยาบาลทั้งหมด และอัตราการติดเชื้อจะสูงขึ้นถึง 6 ถึง 12 เท่าในผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ จากการศึกษาพบว่าผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจนานเกิน 48 ชั่วโมง จะมีอัตราการเกิดปอดอักเสบร้อยละ 25 ถึง 40 และความเสี่ยงของการเกิดปอดอักเสบจะเพิ่มตามระยะเวลาที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ

กิจกรรมการพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิดปอดอักเสบ ได้แก่

1. การล้างมืออย่างมีประสิทธิภาพก่อนและหลังสัมผัสผู้ป่วย

2. การดูแลจัดท่านอน ศีรษะสูง 30-45 องศาและการพลิกตะแคงตัว อย่างน้อยทุก 2 ชั่วโมง

3. การดูแลความสะอาดภายในช่องปากและฟัน จัดท่านอน ศีรษะสูง 30-45 องศา ตะแคงหน้าไปด้านใดด้านหนึ่ง ต่อสายซาลิวากับเครื่องดูดเสมหะ เปิดแรงดันไม่เกิน 120 มิลลิเมตรปรอทขณะดูดน้ำลายในช่องปาก

4. การดูดเสมหะในผู้ป่วยที่ใส่ท่อช่วยหายใจ โดยผู้ทำการดูดเสมหะและผู้ช่วยดูดเสมหะสวมผ้าปิดปากและจมูก, บอกผู้ป่วยทราบก่อนการดูดเสมหะทุกครั้ง, จัดท่านอนศีรษะสูง 30-45 องศา, การดูดเสมหะควรทำด้วยบุคลากร 2 คน, สายดูดเสมหะควรเป็นชนิดใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง โดยใช้แรงดัน 80-120 มิลลิลิตรปรอท, ถุงบีบลมเข้าปอดต่อกับออกซิเจนที่อัตราไหล 10 ลิตรต่อนาที บีบเข้าปอดช้าๆ ติดต่อกันเป็นจังหวะ ตามการหายใจเข้าและออก นาน 1-2 นาที เป็นต้น

5. การดูแลให้อาหารทางสายยาง จัดท่านอน ศีรษะสูง 30-45 องศา ตรวจสอบสายยางให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม ยกกระบอกให้อาหารให้สูงกว่าผู้ป่วยประมาณ 1 ฟุต ปล่อยให้อาหารไหลตามสายช้าๆ หรืออาจให้โดยวิธีการหยดช้าๆ ตามอัตราที่กำหนดไม่ควรให้อาหารเร็วกว่า 30-60 นาที, งดการดูดเสมหะภายหลังให้อาหาร 1-2 ชั่วโมง

เอกสารอ้างอิง:

จันทร์ทิรา เจียรณัย & ศรัญญา จุฬารี. (2553). พฤติกรรมการพยาบาลเพื่อการป้องกันปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์, การพยาบาลและการศึกษา,3 (2), 16-27.

วันดี ศรีเรืองรัตน์. (2556). การพัฒนาและประเมินผลการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลในการป้องกันปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจในผู้ป่วย หอผู้ป่วยหนักทั่วไป โรงพยาบาลหาดใหญ่. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (การพยาบาลผู้ใหญ่) มหาวิทยาลัยสงขลานคริทร์.

หมายเลขบันทึก: 588619เขียนเมื่อ 8 เมษายน 2015 09:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 เมษายน 2015 09:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท