การพัฒนายั่งยืน


การพัฒนายั่งยืน การพัฒนาที่ยั่งยืน

การพัฒนาที่ยั่งยืน                                ความสำคัญของการพัฒนาที่ยั่งยืน                     แนวคิดเรื่องการพัฒนาอย่างยั่งยืน ถือเป็นแนวคิดที่เกี่ยวกับการพัฒนาชุมชนปรากฏขึ้นเมื่อประมาณ 30 ปีที่แล้วในรายงานความคืบหน้าหลังการประชุมสุดยอดระดับโลกว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา ที่ กรุงสต็อคโฮล์ม  ประเทศสวีเดน รายงานดังกล่าวหรือที่เรียกกันว่า รายงานบรันดท์แลนด์ (Brundtland Report) เสนอให้มนุษย์คำนึงถึงขีดจำกัดของทรัพยากรธรรมชาติบนโลก และเสนอให้ดำเนินการพัฒนาควบคู่ไปกับการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (กระทรวงการต่างประเทศ และสมาคมเพื่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม.  2537) เพื่อไม่ให้ระบบนิเวศเสียสมดุล เป็นการอนุรักษ์และป้องกันการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จึงมีลักษณะการพัฒนาแบบบูรณาการ ในด้านสิ่งแวดล้อม ด้านเศรษฐกิจ และด้านสังคม (พระธรรมปิฎก(ป.อ. ปยุตโต).  2537) นิยามความหมายของ การพัฒนาอย่างยั่งยืน มีผู้กล่าวไว้ว่า 

“…การพัฒนาอย่างยั่งยืน คือ การพัฒนาที่สนองความต้องการของปัจจุบันโดยไม่ทำให้ประชาชนรุ่นต่อไปในอนาคตต้องประนีประนอมยอมลดความสามารถของเขาในการที่จะสนองความต้องการของเขาเอง...

เมื่อปี พ.. 2530 The World Commission on Environment and Development ได้แนะนำแนวทางการมีคุณภาพชีวิตที่ดีของประชากรโลกไว้ 7 แนวทาง ดังนี้                            1. ฟื้นฟูความเจริญก้าวหน้าทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม                            2. พัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมให้มีความสมดุลและเหมาะสมอยู่เสมอ                                            3. คำนึงถึงความจำเป็นและความต้องการด้านหน้าที่การงาน อาหาร พลังงาน น้ำ และสุขอนามัย                                            4. ควบคุมจำนวนประชากรเพื่อนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน                                            5. อนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากร                                            6. ปรับปรุงเทคโนโลยีและจัดการความเสี่ยงต่างๆ อย่างเหมาะสม                                            7. รวมข้อควรพิจารณาด้านสิ่งแวดล้อมและด้านเศรษฐกิจไว้ในกระบวนการตัดสินใจ

 

ลักษณะสำคัญของการพัฒนาอย่างยั่งยืนจึงมีลักษณะ ดังนี้                         1. สามารถปรับเปลี่ยนและพัฒนาได้ตามกาลเวลาที่เหมาะสม                        2. คำนึงถึงความเท่าเทียมกันและความยุติธรรม                        3. เป็นแผนงานที่ใช้ระยะยาวได้และมีแผนป้องกันไว้ล่วงหน้า                        4. มีการคิดเชื่อมโยงระบบและเกี่ยวเนื่องทั้งสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม                        5. แนวทางการจัดการต้องไม่ใช่รูปแบบสำเร็จตายตัว มีความแตกต่างกันตามลักษณะของแต่ละท้องถิ่น ระยะเวลา และการผสมผสานกันของค่านิยมและทรัพยากร 

 

การพัฒนาอย่างยั่งยืนมีองค์ประกอบพื้นฐานของการพัฒนาที่ยั่งยืน  (มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.  2547 : 185-186) คือ                                 1. สิ่งแวดล้อม  ทำให้มีมากขึ้นจาการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม และอนุรักษ์ทรัพยากรพื้นฐาน                                 2. สังคม  จัดสรรความเท่าเทียมกันในการใช้ทรัพยากรที่เป็นปัจจัยพื้นฐานที่เพียงพอและจำกัดจำนวนประชากร                                 3. เศรษฐกิจ ควรเติบโตอย่างเหมาะสมไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมและความสมดุลในระบบนิเวศ                        

 

เป็นการพัฒนาที่มุ่งเน้นการสร้างความสมดุลระหว่างองค์ประกอบทั้ง 4 ด้าน ได้แก่                                              1. การพัฒนา อนุรักษ์ และฟื้นฟูระบบนิเวศ                                            2. การพัฒนาเศรษฐกิจ                                             3. การพัฒนาและการอนุรักษ์ทางสังคมและวัฒนธรรม และ                                            4. การพัฒนาทางการเมือง

 

สรฤทธ  จันสุข

หมายเลขบันทึก: 58854เขียนเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2006 12:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 03:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

หลักการดีมากครับ สำคัญที่เอามาปฏิบัติ บ้านเมืองเรายังฉาบฉวยเกินไปเรื่องนี้ พช.ต้องผลักดันเรื่องนี้ให้เป็นเรื่องใหญ่ในงานพัฒนาทั้งเมืองและชนบท ทั้งภาคการเกษตรอุตสาหกรรมและนอกภาคเกษตร

ได้ใจความและสามารถทำต่อๆได้

ผู้รักสิ่งแวดล้อม

อ่านเข้าใจง่ายดีครับ จะนำไปสอบ ขอบคุณครับ

พัฒนาสิ่งแวดล้อม ระบบนิเวศ เศรษฐกิจคงมองเห็นเป็นรูปธรรมอยู่หรอก แต่พัฒนาทางการเมืองนี่สิ ..... อนาถใจ ครับ

ข้อมูลชัดเจนมากคะแต่อยากจะรบกวนให้อ.ช่วยตอบคำถามที่ข้องใจแบบชัดๆและกระชับเลยนะคะตอบเป็นข้อๆนะคะ.อ.

1. ความหมายของการพัฒนาแบบยั่งยืน

2.นิยามของการพัฒนาแบบยั่งยืน

3.ครอบคลุมเรื่องอะไรบ้าง

4.ทำแบบแผนอย่างไร

ขอขอบพระคุณมากคะข้อความทุกคำตอบของ อาจารย์ มีประโยชน์และมีคุณค่าต่อคนถามมากเลยคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท