เสียงของครูยุคใหม่ ในศตวรรษที่ 21


..........เมื่อวันวาน ช่วงวันที่ 25 มีนาคม 2558 ผมมีโอกาสได้เข้าร่วมงาน Education for the future ณ centara grand กรุงเทพ ผมได้เข้าฟังในช่วงบ่าย ที่เป็นช่วงที่ครู PBL ยุคใหม่ประกาศศักดา ว่า "ฉัน คือ ครูที่จะพัฒนาเด็กด้วยกระบวนการ PBL" ซึ่งผมเองก็ไม่ค่อยได้พบกับครูรุ่นใหม่ที่ใช้ PBL ในการจัดการเรียนการสอน เพราะว่าครูรุ่นใหม่ที่เข้ามาบรรจุใหม่ๆนั้นส่วนหนึ่งถูกกลืนด้วยครูที่สอนเเบบดั้งเดิม เมื่อคำว่าดั้งเดิมนี้สั่งสมในความคิดไปเรื่อย ก็จะคิดขึ้นมาว่า "สอนยังไงก็ได้ สิ่งสำคัญ คือ การสอน เรียน เเละสอบ"

..........ครูทั้ง 3 ท่านนี้เป็นตัวอย่างให้ครูรุ่นใหม่ว่า ยุคสมัยได้เปลี่ยนแปลงไปเเล้ว การสอนเเบบ PBL ก็สามารถพัฒนาการคิด ของนักเรียนได้ จุดมุ่งหมายของครูเเต่ละคนจากการคุย มุ่งไป 3 ประเด็น ได้เเก่

  • ด้านทักษะ ที่อยากให้ผู้เรียน มีทักษะในการใช้ชีวิต การทำงาน การเเก้ปัญหา การสื่อสาร ฯ
  • ด้าน ความรู้ ที่อยากให้เด็กได้เรียนรู้ ไม่ใช่เเค่ด้านวิชาการเพียงอย่างเดียว เเต่มีด้านสังคม ด้านเศรษฐกิจ สิ่งเเวดล้อม วัฒนธรรมด้วย ฯ
  • ด้านกระบวนการ ที่อยากให้เด็กได้เรียนรู้บทเรียนจากกิจกรรม ตลอดจนการนำกระบวนการที่ตนเองได้รับไปใช้กับผู้อื่นต่อ

..........เเต่ก่อนเด็กของเราขาดโอกาสทางการศึกษา ขาดเเคลนทุนทรัพย์ในการศึกษา ฯ โครงการนี้ทำให้เด็กๆได้เรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ช่วยเปิดกว้างให้เขาได้มีโอกาสทางการศึกษามากยิ่งขึ้น เเละเขาได้เรียนรู้ที่จะใช้สื่อให้เกิดประโยชน์ขึ้นอีกด้วย

..........ในการจัดการเรียนรู้เเบบ PBL เรื่องนี้เป็นเรื่องใหม่สำหรับครูทั้ง 3 ท่าน เป็นสิ่งที่ยากว่าจะเป็น Coach เด็กๆได้อย่างไร เพราะ คำตอบที่เด็กให้ครูมามันยังขัดใจ เเละครูอยากจะทำให้คำตอบมันดี เเต่ครูก็พยายามที่จะพัฒนาตนเองจากคนที่เป็น ครู ให้เป็น โค้ช ในระหว่างการทำงานกับเด็กๆเเละชุมชนเกิดปัญหาต่างๆ เเละครูเห็นเรื่องราวต่างๆนานาที่ครูไม่ค่อยได้เรียนรู้ บทเรียนจากครูยุคใหม่ มีดังนี้

  • เมื่อเกิดปัญหาเกิดขึ้น เราไม่ต้องไปกังวลกับปัญหา เเต่ลองเปลี่ยนวิกฤติเป็นโอกาส ลองตั้งคำถามประเด็นนี้กับเด็กๆ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน เเละเด็กจะได้ทักษะในการเเก้ไขปัญหาด้วย
  • การทำงานลงสู่ชุมชนนั้น ต้องระเบิดมาจากด้านใน คือ ต้องเปลี่ยนแปลงที่ตนเองก่อน เเล้วค่อยไปสู่ครอบครัว สู่ชุมชน เเละสู่โรงเรียน เพราะเราเปลี่ยนหน่วยใหญ่ครั้งเดียวไม่ได้
  • เมื่อมีการเรียนรู้เเบบ PBL สิ่งสำคัญ คือ การบูรณาการทุกราบวิชาการสอนเข้าด้วยกันถึงจะเป็นการเรียนรู้อย่างคุ้มค่า หากไม่บูรณาการเเล้ว PBL จะกลายเป็นภาระของเด็กโดยปริยายในการเรียน ระบบโรงเรียน
  • เราเป็นโค้ช เราไม่สามารถที่จะไป "บงการ" ความคิดของเด็กๆได้ เเต่เราสามารถบงการสิ่งเเวดล้อมให้นำไปสู่การเรียนรู้อย่างปลอดภัยได้ หรือ การสร้างบรรยากาศการเรียนรู้นั่นเอง เเต่บางครั้งโค้ชอย่างเดียวไม่พอ ต้องมีการสอน อบรมบ่มนิสัยร่วมด้วย
  • บรรยากาศการเรียนรู้ที่ดีจริงๆ ใช่ว่าจะมีสุขเพียงอย่างเดียว เเต่ต้องมีทั้งสุขเเละทุกข์ เพราะเด็กๆจะได้เรียนรู้ ไปทั้ง 2 ภาวะทางจิตใจร่วมไปด้วย
  • ครูเเละโค้ชต้องให้ความรักเเด่เด็กๆเราทุกๆคน ไม่ตัดสินว่าสิ่งนี้ถูกหรือผิด เเต่ทุกๆคำตอบนั้น ล้วนมีความหมาย เเละพยายามที่จะสร้างเเรงบันดาลใจให้เด็กอยู่เสมอ
  • สิ่งสำคัญในการเรียนรู้ที่จะเกิดขึ้นไม่ได้เลย หากขาดความเข้าใจ ครูต้องไปพูดคุยกับครูด้วยกันเองให้เข้าใจ เเละพูดคุยกับผู้ปกครองให้เข้าใจว่า เรากำลังจะพาเด็กๆไปทำอะไร เกิดผลอย่างไร นำไปสู่อะไร
  • เราต้องเชื่อว่าเด็กทุกๆคนมีความสามารถ เเต่เเค่ความสามารถต่างๆเหล่านั้นจะเเตกกต่างกันออกไปเท่านั้นเอง ถ้าจะให้ ดี คือ ครูน่าจะทำงานกับเด็กไปด้วยทำวิจัยไปพร้อมจะเห็นได้ชัดว่า PBL ทำให้เด็กๆเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง

..........ผลที่เกิดขึ้นในช่วงวเลาที่เด็กได้เรียนรู้ 1-2 ปี คือ เด็กได้รู้ประสบการณ์จริง รู้คุณค่าของตนเอง ได้ทักษะที่เราคาดหวัง เด็กเเละผู้ใหญ่ในชุมชนกลับมาหันหน้าเข้ามากันมากยิ่งขึ้น ทำให้เด็กไม่ลืมรากเหง้าของตนเอง ทำให้โรงเรียนได้ใกล้ชิดชุมชนมากยิ่งขึ้น งานกลับมีชีวิต เด็กคิดเป็นระบบมากยิ่งขึ้น ฯ

..........กลไกในการขับเคลื่อนการศึกษาที่เห็นจากการฟัง คือ การศึกษาจะเดินไปได้ต้องมี พ่อเเม่(ครอบครัว) ที่สนับสนุนลูก มีครู(โรงเรียน) ที่เข้าใจเเละพาเด็กๆไปเรียนรู้ เเละมีชุมชนที่เป็นห้องเรียนให้เด็กๆได้เรียนรู้ ส่วนมูลนิธิ หรือ องค์กรภายนอกที่เข้ามาสนับสนุนจะอยู่ภายนอก เป็นเเรงกระตุ้นให้ ครอบครัว โรงเรียน เเเเละชุมชน จัดการเรียนรู้กันเอง ...

.

.

หมายเลขบันทึก: 588474เขียนเมื่อ 4 เมษายน 2015 21:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 เมษายน 2015 21:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

โจทย์ใหญ่ของครู ทำอย่างไรให้ครูเข้าใจโจทย์นี้

เด็กได้รู้ประสบการณ์จริง รู้คุณค่าของตนเอง ได้ทักษะที่เราคาดหวัง เด็กเเละผู้ใหญ่ในชุมชนกลับมาหันหน้าเข้ามากันมากยิ่งขึ้น ทำให้เด็กไม่ลืมรากเหง้าของตนเอง ทำให้โรงเรียนได้ใกล้ชิดชุมชนมากยิ่งขึ้น งานกลับมีชีวิต เด็กคิดเป็นระบบมากยิ่งขึ้น ฯ ..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/588474

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท