ครูแอม(เชียงยืนสารคาม)
สุภัตรา ครูแอม(เชียงยืนสารคาม) สฤษชสมบัติ

2.ครูไทยในศตวรรษที่ 21


"การบริหารและพัฒนาการเรียนรู้ ครั้งที่ 2"

กับครูไทยในศตวรษที่ 21

(18 มกราคม 2558)

เสนอ

รศ.ดร.พิศมัย ศรีอำไพ

อาจารย์ ดร.ฤทธิไกร ไชยงาม

จัดทำโดย

นางสุภัตรา สฤษชสมบัติ

รหัสนักศึกษา 57010563008 สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน

เป็นส่วนหนึ่งของวิชา 0506913 การบริหารจัดการและพัฒนาการเรียนรู้

(Learning Management and Development)

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

"ครูไทยในศตวรษที่ 21"

สถานการณ์โลกมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เช่นเดียวกับระบบการศึกษา ต้องมีการพัฒนาเพื่อให้สอดคล้องกับภาวะความเป็นจริงแนวคิดเรื่อง "ทักษะแห่งอนาคตใหม่: การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21" ที่มุ่งเน้นทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม หรือ 3R และ 4C อันมีองค์ประกอบ ดังนี้

  • -3 R ได้แก่ Reading (การอ่าน), การเขียน(Writing) และ คณิตศาสตร์ (Arithmetic)
  • -4 C ได้แก่ Critical Thinking - การคิดวิเคราะห์, Communication- การสื่อสาร Collaboration-การร่วมมือ และ Creativity-ความคิดสร้างสรรค์ )

การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 นอกจากจะเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะ 3R4Cแล้ว ยังต้องพัฒนาทางด้านกระบวนการสอนการสร้างจิตสานึกและค่านิยมที่ดีแก่ครูผู้สอน อาทิเช่น

  • -การสร้างจิตวิญญาณความเป็นครู
  • -นักออกแบบการเรียนรู้
  • -ผู้นำการเปลี่ยนแปลง
  • -นักสร้างแรงบันดาลใจและผู้อำนวยการ
  • -เป็นแบบอ่างที่ดีที่มีคุณค่าแก่ศิษย์
  • -นักประเมินผล
  • -นักสอน นักสื่อ นักประสาน
  • -ผู้ใฝ่เรียนรู้ ผู้ตื่นตัว

ครูไทยในศตวรรษที่ 21 จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงและพร้อมที่จะเรียนรู้ตลอดเวลา ทักษะที่จำเป็น

สำหรับครูเพื่อศิษย์อาจเปรียบได้กับความรู้คิดที่เกิดจากสมอง การรู้จักควบคุมความรู้สึกที่เกิดจากการรับรู้ หรือแม้แต่การฝึกปฏิบัติที่เกี่ยวกับเนื้อหาและกระบวนการเรียนรู้ต่างๆ นอกจากนี้ครูไทยในศตวรรษที่ 21 ต้องมีหลักในการจัดกิจกรมเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนอย่างหลากหลายและเหมาะสม เช่น การรู้จักตนเอง การเข้าใจผู้อื่น การมีวิสัยทัศน์ค่านิยมร่วม การทำงานเรียนรู้เป็นทีม และการคิดอย่างเป็นระบบคิดแบบองค์รวมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 มีหลากหลายรูปแบบวิธีการ ดังตัวอย่างต่อไปนี้

  • 1.การเรียนรู้ด้วยการใช้คำถามหรือปัญหาเป็นฐาน ซึ่งมีการเรียนรู้เป็นขั้นตอนคือ

ขั้นที่ 1 การระดมสมองเพื่อมองปัญหาที่เกิด

ขั้นที่ 2 การวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา

ขั้นที่ 3 การมองหาผลกระทบที่จะเกิด

ขั้นที่ 4 การหาแนวทางแก้ไขปัญหา

ขั้นที่ 5 การสะท้อนและป้อนกลับผลที่เกิดจากการเรียนรู้

  • 2.การเรียนรู้ด้วยโครงการโครงงาน ซึ่งมีการเรียนรู้เป็นขั้นตอนคือ

ขั้นที่ 1 สำรวจผลกระทบของปัญหา

ขั้นที่ 2 ระดมปัญหา

ขั้นที่ 3 การวิเคราะห์สาเหตุ

ขั้นที่ 4 การกำหนดวิธีแก้ไข

ขั้นที่ 5 การลงมือแก้ไข

ขั้นที่ 6 การนำเสนอและสะท้อนผล

  • 3.การฝึกเรียนรู้ด้วยตนเอง ซึ่งมีการเรียนรู้เป็นขั้นตอนคือ

ขั้นที่ 1 กำหนดปัญหา

ขั้นที่ 2 การสืบค้น สำรวจ รวบรวมข้อมูล

ขั้นที่ 3 การตั้งสมมติฐาน

ขั้นที่ 4 ออกแบบวิธีทดลองหรือแก้ไข

ขั้นที่ 5 ลงมือแก้ปัญหา

ขั้นที่ 6 วิเคราะห์ อภิปราย สรุปผล

การเรียนรู้ที่ดีที่สุด คือ การเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติเพื่อค้นหาประเด็นปัญหา วิเคราะห์ปัญหา และหาวิธีแก้ไขปัญหาอย่างถูกต้องเหมาะสมที่สุด ทั้งนี้เพื่อผลที่เกิดหรือสะท้อนกลับแก่ตัวผู้เรียนรู้เอง

คำสำคัญ (Tags): #plc
หมายเลขบันทึก: 587812เขียนเมื่อ 23 มีนาคม 2015 14:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มีนาคม 2015 14:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท