plc วันที่ 17 มกราคม 2558


สิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้คือ "ชุมชนแห่งการเรียนรู้" หรือ Personal Learning Community (PLC) ซึ่งในตอนแรกยังไม่เข้าใจว่ามันคืออะไร? มีกระบวนการหรือรูปแบบการทำอย่างไร? ถึงจะบอกได้ว่านี่คือ กระบวนการทำ PLC รวมถึงความสำคัญ และเป้าหมายของทำ PLC เพื่ออะไร ?
" PLC เป็นกระบวนการทำที่เป็นรูปแบบ แต่ไม่ใช่รูปแบบ"

กิจกรรมแรกที่ได้เรียนรู้คือ อาจารย์ได้นำเสนอตัวอย่างการทำ PLC ที่ผ่านมาของอาจารย์เอง จึงทำให้เราเริ่มค่อยๆมองเห็นภาพของคำว่า PLC ชัดเจนขึ้นๆ เป็นลักษณะของการรวมตัวกันของกลุ่มคนที่มีความสนใจในเรื่องเดียวกัน มีปัญหาคล้ายๆกัน มีความต้องการ มีความเชี่ยวชาญ ในเรื่องเดียวกัน เพื่อที่จะหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาหรือแนวทางในการพัฒนาเรื่องนั้นๆร่วมกัน ซึ่งเป็นการแสดงออกซึ่งความร่วมมือกัน ร่วมใมจกันของคนต่างๆในองค์กรที่มีความเกี่ยวข้อง ได้แสดงออกซึ่งบทบาทและหน้าที่ของตนเอง เพื่อช่วยขับเคลื่อนสังคมให้ดียิ่งขึ้น เพราะฉะนั้นจึงมองว่าการทำ PLC นั้นไม่ได้เฉพาะเจาะจงในเรื่องการศึกษาเท่านั้น แต่สามารถนำกระบวนการนี้ไปปรับใช้ได้ในทุกๆวงการ และคำถามต่อมาคือ แล้วกระบวนการทำ PLC มีขั้นตอนอย่างไร

กิจกรรมวันนี้ หลังจากที่เราได้เห็นตัวอย่างของการทำ PLC แล้ว ขั้นตอนต่อมา อาจารย์เริ่มให้เราได้ลองปฏิบัติจริง ซึ่งเป็นหนึ่งในขั้นตอนสำคัญของกระบวนการทำ PLC นั่นคือ การพูดคุยกันในประเด็น "ความหมายของ PLC" ซึ่งก็ได้มุมมองแนวคิด ของนิยามคำว่า PLC จากเพื่อนๆในห้องแตกต่างกันไป เช่น PLC คือ บริบทที่มีความแตกต่างกัน,เป้าหมายที่ชัดเจนร่วมกันของทุกคน, การรวมกลุ่มกัน ร่วมมือกัน, การปฏิบัติอย่างแท้จริง และเป็นการรวมกลุ่มกันของผู้เชี่ยวชาญเฉพาะเรื่องเพื่อหาทางออกร่วมกัน หลังจากนั้นเพื่อความเข้าใจและได้มองเห็นภาพมากยิ่งขึ้น ทุกคนได้วาดภาพเพื่ออธิบายความหมายของคำว่า PLC เพื่อให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ซึ่งภาพที่ออกมาก็บ่งบอกถึงแนวคิดของแต่ละคนชัดเจนขึ้น เช่น บางคนวาดออกมาเป็นเป้าธนู, ยีราฟที่ถูกเชือกแขวนคอ, หนุ่มหล่อ,เครื่องกรองปุ๋ย และการทำงานของปลวก แล้วแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน

สิ่งที่ได้จากการทำกิจกรรมวันนี้คือ ได้เรียนรู้กระบวนการทำ PLC ด้วยตนเอง ได้เรียนรู้ว่าสิ่งสำคัญที่นอกเหนือจากกระบวนการ/การมีเป้าหมายร่วมกันแล้ว ก็คือ ความศรัทธา และความเชื่อ ว่าสิ่งที่ทำนั้นจะช่วยในการแก้ปัญหาหรือช่วยพัฒนาสิ่งที่เราต้องการได้เพราะเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่อง ใช้เวลาในการพัฒนาหรือแก้ไขปัญหา ดังนั้นถ้าขาดความศรัทธาหรือความเชื่อร่วมกันว่าจะสามารถพัฒนาหรือแก้ไขปัญหาได้แล้ว ขั้นตอนต่างๆต่อมาก็เป็นไปได้ยาก รวมถึงการรู้จักเปิดใจรับฟังซึ่งกันและกัน การยอมรับในความคิดเห็นที่แตกต่างกันของกันและกัน ก็จะช่วยให้การทำงานนั้นราบรื่น ทุกคนได้มีบทบาทและหน้าที่ร่วมกัน เกิดความรู้สึกของการมีส่วนร่วม ทำให้ทุกคนอยากที่จะแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาสิ่งนั้นๆร่วมกัน

และสิ่งที่ได้เรียนรู้อีกอย่างคือมีการฟังอยู่ 4 แบบ คือได้ยินแต่ไม่ได้ฟัง ฟังแล้วลอย ฟังแล้วจม ฟังแล้วรู้สึกตัว

ครูไทยในศตวรรษที่ 21

1. มีวิญญาณความเป็นครู

2.นักออกแบบการเรียนรู้

3. ผู้นำการเปลี่ยนแปลงและพัฒนา

4. เป็นนักสร้างแรงบันดาลใจ

5. เป็นแบบอย่างที่ดี

6. นักประเมิน

7. นักสอน นักสื่อ นักประสาน

8. ผู้ใฝ่เรียนใฝ่รู้ผู้ตื่น

คำสำคัญ (Tags): #PLC เพื่ออะไร ?
หมายเลขบันทึก: 587809เขียนเมื่อ 23 มีนาคม 2015 14:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มีนาคม 2015 14:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

มาเขียนบ่อยๆนะครับ

จะได้ PLC ที่ยั่งยืนและกระจายไปทั่วประเทศ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท