ละครกับการพัฒนาการคิด


ละคร : พัฒนาการคิดได้จริงไหม

ครูครับ..เด็กชายเอ..ไม่มาแล้วครับมันบอกว่ามันอายครับ เพื่อนมันบอกว่าเป็นลูกผู้ชายทำได้แค่เต้นกินรำกิน

...............เป็นปัญหาครั้งแรกที่ข้าพเจ้าพบ...หลังจากไปอบรมการละครเพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ มมส. ทำให้รู้ว่าทุกอย่างมันเกิดขึ้นที่การเปิดใจก่อน....

...............ละครพวกเรารับรู้แต่ในเชิงบันเทิงเท่านั้น...เรายังไม่เห็นกระบวนการกว่าจะได้ซึ้งละคร ข้าพเจ้าได้เห็นโปสเตอร์เชฺิญชวนบุคลากรเข้ารับการอบรมครั้งแรกในปี 55 ที่ขอนแก่นสนใจมาก แต่ไม่สามารเข้าอบรมได้ ปี56 อยู่ๆก็ได้รับหนังสือเชิญชวนให้นำนักเรียนเข้าอบรมการละครเพื่อการเปลี่ยนแปลงจาก มมส. ข้าพเจ้าตอบรับทันที ข้าพเจ้าถูกนักเรียนสั่งว่าต้องนั่งจดนั่งสังเกตการณ์ทุกอย่างห้ามโดดเด็ดขาด

...............จากการเฝ้าสังเกตอย่างใจจดใจจ่อพบว่ากระบวนการละคร ก็คือกระบวนการเรียนรู้บนฐานของปัญหา (PBL) ที่เป็นพื้นฐานการดำรงชีวิตตามแนวอริยสัจ4 แต่ละครทำให้ไม่เบื่อด้วยทักษะละคร นั้นเอง...เท่าที่นั่งดูพบว่าทักษะละครล้วนแต่ฝึกความมีสติ สมาธิ จินตนาการ ความเชื่อมั่น ความคิดสร้างสรรค์ ความกล้าแสดงออก การสื่อสารทั้งนั้นเลย ครบทักษะศตวรรษที่21 คิดได้อย่างไร..เริ่มมีความกระหายอยากร่วมอบรมกับนักเรียนแล้วสิ....

...............การบ้านที่เราได้จากการอบรม กระดูกมาก..แค่อบรม 5 วันแล้วให้ทำละครสู่ชุมชน..การเรียนรู้อย่างแท้จริงจึงเกิดขึ้น เพราะการเรียนรู้ในพื้นที่ของชุมชนยากมาก ชาวบ้านไม่เปิดใจรับเลย ถึงแม้นักเรียนคลุกอยู่กับปัญหาอยู่แล้ว แต่พอจะนำเขียนบทละคร..ความรู้ที่นักเรียนคิดว่าใช่...มันไม่พอ พวกเขาต้องค้นและคว้าเพิ่มอีกมาก ข้าพเจ้าเข้าใจกับคำว่าเรียนรู้จากการปฎิบัติ ช่วงซ้อมละครเป็นช่วงที่นักเรียนได้ซึมซับ ทบทวนกับปัญหานั้นๆ นักเรียนที่เป็นตัวละครเป็นเด็กในชุมชนสะท้อนตัวตน สะท้อนในสิ่งที่พวกเขาต้องการสื่อสารได้ดีมาก...ข้าพเจ้าเริ่มเข้าใจคำว่า"ละครเพื่อการเปลี่ยนแปลง" ได้ชัดขึ้น ที่สำคัญคือการเปลี่ยนแปลงตนเองนั้นเอง เมื่อเริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลงในตัวนักแสดงเอง

................ข้าพเจ้าจึงนำกระบวนนี้มาเสริมกระบวนการคิดในกิจกรรมห้องเรียนสีขาว มาปรับพฤติกรรมเบียงเบนของนักเรียน....แต่ผลไม่ชัดเจน อาจเนื่องจากหนึ่งละเราไม่ได้ใกล้ชิดกับเขาและสองกลุ่มเป้าหมายใหญ่เกินไป และที่สำคัญคือเหมือนตัวครูเองยังไม่ลึกซึ้งกับกระบวนการและทักษะละคร เหมือนขาดอะไรไปสักอย่าง

..............และในปี57 มมส.ได้จัดละครเพื่อการเปลี่ยนแปลงสำหรับครู ข้าพเจ้ารีบจองก่อนใครเลย เพื่อเติมเต็ม แต่เหมือนไม่เต็มสักกะที..ยิ่งเรียนรู้ยิ่งตามไม่ทัน...สมาธิ ความเชื่อ จินตนาการ...ชั้นสูง..มีความรู้สึกว่าเราไม่เข้าไม่ถึง..เช่นนั้นจริงๆ...บอกตนเอง.ปฎิบัติ.ต้องปฎิบัติบ่อยๆ

.............ละครกับวิชาประวัติศาสตร์....(ขอบอกนิดหนึ่งว่าไม่ได้จบประวัติศาสตร์ ไม่ได้จบสังคมเลย เป็นครูไร้สาระ..ไม่อยากบอกว่าจบเกษตร..ฮา แต่สอนได้เพราะชอบ) รู้ตั้งนานแล้วละว่าละครกับวิชาประวัติศาสตร์เป็นสิ่งที่คู่กัน แต่ไม่เคยนำมาใช้จริงสักที..เมื่อจบสาระเรียนรู้การพัฒนาการสมัยรัตนโกสินทร์..เริ่มโยนคำถามให้นักเรียนว่า..นักเรียนคิดว่าเสี้ยวไหนของประวัติศาสตร์ไทยที่นักเรียนค้างคาใจมากที่สุด..บอกมาคนละเหตุการณ์ แล้วเลือกเหตุการณ์ที่พวกเราต้องการเรียนรู้เพียงเหตุการณ์เดียวเท่านั้น ท่านเชื่อไหมทีช่วงกิจกรรมแบ่งกลุ่มละสนุกสนาน แต่พอเริ่มเข้าสาระ เริ่มปวดหัว เพราะพวกเขาต้องกลับไปทบทวนเนื้อหาอีก..ปัญหาคือเด็กจับประเด็นไม่เป็น.?...ขาดความต่อเนื่องของเวลา..ประวัติศาสตร์ แค่ชัวโมงเดียวตค่อสัปดาห์ กว่าจะจับประเด็น กว่าจะเรียกสติ สมาธิได้ ก็หมดเวลาเเล้ว เริ่มใช้ 5 ภาพของการละคร เริ่มใช้ทั้งกระบวนการและ ทักษะ

.............กระบวนการละครกับวิชาการค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ (Independent Study, IS) เป็นความลงตัวที่สวยงาม เราสามารถนำทั้งกระบวนการละครและทักษะละครมาใช้ได้เลย...ทักษะละครจะใช้ได้มากเมื่อช่วงเด็กเครียด....เริ่มหมดความสนใจ

.......ผลที่ตามมาเด็กเกิดทักษะเกิดกระบวนการเรียนรู้ตามที่คาดหวังไหม..ตัวละครได้เต็มร้อย...โดยเฉพาะช่วงที่พวกเขาเขียนบท เกิดทักษะการสืบค้น ความคิดสร้างสรรค์ การทำงานร่วมกัน

.......ปัจจัยแห่งความสำเร็จคือ

.............1.การเปิดใจยอมรับทั้งตัวนักเรียน ครูในโรงเรียนและที่สำคัญคือตัวผู้ปกครอง เพราะเวลาในชั่วโมงเรียนไม่พอ ต้องใช้เวลาเสริม ทำให้เด็กกลับบ้านช้า และเสียเวลาในวันหยุด

.............2.ทีมงาน ต้องยอมรับว่ากระบวนการละครเป็นเรื่องใหม่สำหรับที่นี้ ความสำเร็จต้องยกให้ความมีจิตอาสาของทีมงานที่ผ่านการอบรมในปี56 ตัวขับเคลื่อนที่สำคัญคือ พี่แสนกับพี่แซม ที่เสียสละเวลาเป็นผู้ช่วยทั้งให้คำปรึกษากับน้องๆในทุกๆด้านโดยเฉพาะการเขียนบท

.............3 มีการสะท้อนบทเรียน ทุกครั้ง

.............4 ใช้กลยุทธที่เรียกว่าพี่สอนน้อง เช่นรายวิชาวิชาIS ครูจะให้น้องๆ ผ่านกระบวนการพูดคุยจากพวกพี่ก่อน จึงจะนำเสนอต่อครูได้ ประมาณนี้ คือได้ฝึกทั้งพี่ทั้งน้อง

.......อุปสรรคและปัญหาคือ

.............1 ความไม่ต่อเนื่องของเวลา

.............2 ความไม่ยอมรับของบุคลากรในโรงเรียน




หมายเลขบันทึก: 587526เขียนเมื่อ 17 มีนาคม 2015 05:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2015 06:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ดีจังค่ะ การเรียนแบบนี้ เด็กๆๆ จดจำได้ดี นะคะ

แม้ตอนนี้ ผมก็ยังมีความเห็นว่า ละคร คือ กระบวนการสะท้อนเพื่อสะท้อนเรียนรู้ตนเองด้วยใจอย่างใคร่ครวญ ... หากขาด "เนื้อ" หรือผลงานจากการลงมือปฏิบัติอย่างหนักในพื้นที่ ... ละคร ก็คือ บันเทิง ดีๆ เท่านั้นเอง....

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท