วิธีการแบบคลังคำ (lexical approach) – วิธีการแบบคลังคำดูคล้ายกับอะไร (What does the lexical approach look like?) ตอนที่ 2


ทฤษฎีภาษา (ต่อ)

1. หลักการอันแรก-คลังคำที่ถูกหลักไวยากรณ์ (principle 1 –grammaticalized lexical)

เมื่อไม่ปีมานี้เริ่มมีการตระหนักรู้กันแล้วว่าผู้ที่พูดภาษาที่ 1 นั้นมีคลังของคำที่ปรากฏว่าอยู่ร่วมกัน (lexical chunk) เป็นจำนวนมาก และคำที่ปรากฏอยู่คู่กันนี้ทำให้ผู้ใช้ภาษาที่ 1 สามารถผลิตภาษาได้อย่างไม่จำกัด ความคล่องแคล่ว (fluency) ในภาษามิเกิดขึ้นมาจากไวยากรณ์ที่เป็นโครงสร้าง (generative grammar) และคำศัพท์เท่านั้น แต่ เกิดขึ้นมาจากหลักการวิเคราะห์โครงสร้างประโยค ที่เรียกกันว่า slot and filler การ slot คือการหาลักษณะเชิงหน้าที่ (function) ของประโยค และการ filler ก็คือ การนำคำหรือวลีมาใส่ให้เกิดความหมาย ซึ่งการทำดังกล่าวเป็นการกระทำทางเลือก (open choice principle) ที่ผู้ใช้ภาษาที่ 1 มีโอกาสในการเลือกคำที่อยู่ร่วมกันในแต่ละสถานการณ์มากกว่าการสร้างเป็นคำเดี่ยวๆ

หลักการพื้นฐานของวิธีการแบบคลังคำ ก็คือ ภาษามีลักษณะเป็นคลังคำที่ถูกไวยากรณ์ (grannaticalized lexis) ไม่ใช่ไวยากรณ์ที่ถูกทำให้เป็นคลังคำ (lexicalized grammar) กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ คลังคำเป็นศูนย์ในการสร้างความหมาย ไวยากรณ์มีหน้าที่เพียงเป็นตัวเสริมเท่านั้น ถ้าครูรับเรื่องนี้ได้ จึงเป็นการสมควรที่พวกครูควรใช้เวลาจำนวนมากในการช่วยเหลือผู้เรียนให้พัฒนาความรู้ในเรื่องคลังคำ และใช้เวลาให้น้อยกับไวยากรณ์

มาดูที่ตัวอย่างของการใช้กลุ่มคำที่ใช้อยู่ร่วมกันกันเถอะ

คริส: คาร์ลอสบอกฉันว่านาโอมีกำลังคลั่งไคล้เขา (Car;ps tells me Naomi fancies him)

อิวอร์: มันเป็นเพียงแค่เรื่องที่กุขึ้นในจินตนาการของเขา (It's just a figment of his imagination)

ตามทฤษฎีที่เราได้บรรยายมา เราจะเห็นได้ชัดเจนว่าอิวอร์ไม่ได้นำคำว่า เรื่องที่กุขึ้น (figment) และ จินตนาการ (imagination) จากคำศัพท์ที่เขามีอยู่ และนำมาใส่โครงสร้างงว่า it + to be + adverb + article + noun + of + possessive adjective + noun แต่ที่จริงแล้ว มีแนวโน้มว่าอิวอร์ได้เข้าถึงคลังคำในทันทีทันใด หลังจากนั้นจึงใส่โครงสร้างว่า It is/was + (just/only) + a figment of + possessive + imagination

โดยสรุป การเข้าถึง 8 คำในคราวเดียว ทำให้ฉันพูดอย่างคล่องแคล่ว และสามารถเน้นไปที่ลักษณะอื่นๆในวาทกรรม (discourse) นอกเหนือจากนี้เราสามารถสร้างประเด็นในเรื่องนี้ได้อีก 2 ข้อ ได้แก่ 1. เพื่อนของเราและผู้ร่วมงานสามารถทำภาระงานในเรื่อง figment พวกเขาสามารถที่จะให้ตัวอย่าง ซึ่งสอดคล้องกับตัวอย่างข้างบน เมื่อถามถึงนิยามของคำว่า figment น้อยคนนักที่จะให้ความหมายได้ถูกต้อง นี่เป็นตัวอย่างที่แสดงให้เราเห็นว่า คนที่พูดภาษาที่ 1 ใช้คลังคำไปตามปกติ โดยที่ไม่มีการวิเคราะห์ศัพท์คำนั้น

2. ถ้าเราจะหาความหมายของคำว่า figment เราจะได้ความหมายหนึ่ง แต่ทั้งนี้จะไม่มีความหมายใดผิดเกี่ยวกับคำ คำหลายคำถูกใช้โดยที่ไม่รู้ความหมาย นี่เป็นตัวอย่างถึงวิธีที่เราเก็บข้อมูลในเรื่องของคำ ที่อยู่นอกเหนือศัพท์ที่มีความหมายเดียว

หนังสืออ้างอิง

Carlos Islam and Ivor Timmis. Lexical Approach 1 - What does the lexical approach look like?. http://aaboori.mshdiau.ac.ir/FavouriteSubjects/lexical_approach_1.htm

หมายเลขบันทึก: 587370เขียนเมื่อ 12 มีนาคม 2015 19:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มีนาคม 2015 18:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท