แนวทางการบริหารสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียน


แนวทางการบริหารสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนวัดนาค

โลกปัจจุบันเป็นยุคโลกาภิวัตน์ที่มีความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีและสารสนเทศ การเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว เป็นสังคมที่ต้องอาศัยองค์ความรู้ (knowledgebasedsociety) และเศรษฐกิจฐานความรู้ (knowledgebasedeconomy) ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 มุ่งเน้นยุทธศาสตร์ การเพิ่มสมรรถนะและขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ให้ความสำคัญกับการพัฒนาคนมีคุณภาพ ทำให้การจัดการศึกษาจึงจำเป็นต้องมุ่งสู่ความเป็นเลิศ เพื่อให้การศึกษามีคุณภาพควบคู่ไปกับการพัฒนาประเทศด้านอื่นๆ (กระทรวงศึกษาธิการ. 2549 : 1) การบริหารโรงเรียนในปัจจุบันจึงจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนวิธีการบริหารการจัดการมาให้ความสำคัญกับการพัฒนาความเป็นเลิศของโรงเรียนเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณที่เปลี่ยนแปลง จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้บริหารโรงเรียนครูและบุคลากรทางการศึกษาต้องมีความรู้ความเข้าใจ ใฝ่รู้และพัฒนาโรงเรียนอย่างเป็นระบบโดยจัดการศึกษาที่มุ่งพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์และการมุ่งเน้นความเป็นเลิศทางการศึกษาเพื่อให้นักเรียนเป็นคนดี มีปัญญา มีความสุขและมีศักยภาพการจัดการศึกษาจึงบรรลุวัตถุประสงค์

ผู้บริหารโรงเรียนถือว่ามีบทบาทสำคัญในการที่จะบริหารงานต่างๆ ในโรงเรียนให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้โดยการอาศัยความร่วมมือจากบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาทุกฝ่าย เช่น ครูสอนในสถานศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษา เนื่องจากการบริหารงานในโรงเรียนจะเกิดประสิทธิภาพได้นั้นจำเป็นต้องอาศัยผู้บริหารและผู้ร่วมงานที่มีประสิทธิภาพ ผู้บริหารโรงเรียนจึงจำเป็นต้องใช้วิธีการที่หลากหลายทั้งที่เป็นศาสตร์และศิลป์มาประยุกต์ใช้เพื่อให้โรงเรียนมีศักยภาพยิ่งขึ้นและพัฒนาให้ทันต่อสภาวะการเปลี่ยนแปลงของสังคมปัจจุบันและอนาคตดังนั้นโรงเรียนที่มีคุณภาพเชิงบริหารจัดการย่อมก่อให้เกิดมิติแห่งความเป็นเลิศในระบบการจัดการศึกษายุคใหม่

การบริหารงานใดๆ ก็ตาม จำเป็นจะต้องมีหลักการ แนวคิด และทฤษฎีเป็นพื้นฐานการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศก็เช่นเดียวกัน ดังนั้นโรงเรียนวัดนาคได้นำแนวคิด แม่แบบซิปโป หรือ SIPPO model ของช่วงโชติพันธุเวช (2553) มาประยุกต์ใช้เป็นแนวทางการจัดการศึกษาเชิงคุณภาพ เพราะลักการ แนวคิด ทฤษฎีการบริหารการศึกษา จะเป็นหลักหรือเป็นพื้นฐานในการคิด พิจารณาและตัดสินใจ ทำให้สามารถบริหารงานได้อย่างมีทิศทาง ไม่สะเปะสะปะ เมื่อจะตัดสินใจก็มีหลักการ และทฤษฎีเข้ามาสนับสนุน สามารถบริหารงานในภารกิจหน้าที่ที่ตนกระทำอยู่อย่างชาญฉลาด มีความแนบเนียนในการปฏิบัติ ให้งานนั้นดำเนินไปได้โดยราบรื่น บรรลุเป้าหมายตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ ซึ่งการจัดการศึกษาตามแม่แบบSIPPO เป็นการนำเอาแนวคิดการจัดการเชิงระบบ (system management approach) มาใช้ที่ประกอบไปด้วย3 กระบวนการหลักได้แก่IPO ประกอบด้วย Iคือ ปัจจัยป้อน(input) P คือ กระบวนการผลิต(process) และ O คือ ผลผลิต(product) นำมาผสมผสานกับแนวคิดการจัดการคุณภาพทั่วทั้งองค์กรหรือ TQM ที่เริ่มจากการให้ความสำคัญที่ลูกค้าและสิ้นสุดที่ความพึงพอใจแก่ลูกค้านอกจากนี้ยังนำวงจรการปรับปรุงคุณภาพของ เดมมิ่งหรือ P-D-C-A มาใช้เพื่อเน้นให้ผู้บริหารและครูได้ให้ความสำคัญของการปรับปรุงคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง

แนวคิดการจัดการศึกษาเชิงระบบหรือ SIPPO เป็นการจัดการกระบวนการศึกษาที่ประกอบไปด้วย7 องค์ประกอบ คือ

1. นักเรียน(student) และผู้มีส่วนไดสวนเสีย(stakeholder)

2. ปัจจัยป้อนหรือระบบสนับสนุน(input system)

3. กระบวนการจัดการเรียนการสอน(process of teaching and learning management)

4. ผลผลิต(นักเรียน) (products)

5. ผลลัพธ์(ความพึงพอใจของลูกค้า) (outcomes)

6. การตรวจสอบและประเมินคุณภาพการศึกษา

7. การปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการศึกษา

1. นักเรียนและผู้มีส่วนไดสวนเสียการศึกษาหาความต้องการของลูกค้าได้แก่ผู้ปกครอง นักเรียน ชุมชน เป็นปัจจัยแรกที่ผู้บริหารโรงเรียนให้ความสำคัญเป็นลำดับแรกก่อนที่จะดำเนินการใดๆ ในการจัดการศึกษาเนื่องจากการศึกษาที่ดี และมีคุณภาพจะต้องสนองตอบความต้องการของลูกค้าดังกล่าว ถาผลผลิตของโรงเรียนไม่สามารถสนองผลตอบดังกล่าวไดสุดท้ายคือจะส่งผลกระทบต่อคุณภาพของนักเรียนซึ่งจะส่งผลเสียอย่างร้ายแรงในการพัฒนาประเทศ การกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมายและวัตถุประสงค์ของโรงเรียนจำเป็นต้องตระหนักและคำนึงถึงบริบทหรือสภาพแวดล้อมต่างๆ ที่มีผลกระทบต่อโรงเรียนและกระบวนการจัดการศึกษานับตั้งแต่การวางแผนการจัดการศึกษากระบวนการออกแบบและพัฒนาหลักสูตรการจัดการเรียนการสอนและการวัดประเมินผล เป็นต้น ตองได้มาจากการศึกษาและวิเคราะห์(SWOT) บริบทและสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกของโรงเรียน เป็นข้อมูลที่จำเป็นและสำคัญต้องนำเอาข้อมูลสารสนเทศเหล่านั้นมาพิจารณาประกอบในการกำหนดวิสัยทัศน์ ทิศทาง นโยบายเป้าหมายและวัตถุประสงค์ในการวางแผนการจัดการศึกษาการจัดการเรียนการสอนการบริหารและการควบคุมคุณภาพการศึกษาทั้งจัดทำแผนการจัดการคุณภาพเชิงยุทธศาสตร์

2. ปัจจัยป้อนและระบบสนับสนุนการศึกษาในการบริหารการศึกษาและการเรียนการสอนผู้บริหารให้ความสำคัญเริ่มตั้งแต่กระบวนการออกแบบและวางแผนระบบปัจจัยป้อนหรือระบบสนับสนุนทางวิชาการ ได้แก่ วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมายยุทธศาสตร์ แผนการเงินและงบประมาณที่จะได้มาซึ่ง 5M คือ คน(man) หรือนักเรียน ครูและบุคลากร วัสดุ (material) เครื่องมือและอุปกรณ์(machine) หรือทรัพยากรการเรียนรู้อาคารสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวกการเงินและงบประมาณ (money) และการจัดการ(management) ที่ถือเป็นปัจจัยป้อนและเป็นระบบสนับสนุนที่สำคัญในกระบวนการจัดการศึกษาและการเรียนการสอนและปัจจัยจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อคุณภาพกระบวนการผลิตและคุณภาพผลการผลิตปัจจัยดังกล่าวข้างต้นไดรับการออกแบบและการวางแผนที่ดีและมีประสิทธิภาพ เพราะถือว่าเป็นวัตถุดิบที่จะนำสิ่งเข้าสู่กระบวนการผลิตหรือกระบวนการจัดการเรียนการสอนจะต้องมีคุณภาพมีคุณสมบัติที่พึงประสงค์มีมาตรฐานมีความรูดีมีความพร้อม มีความเพียงพอจะทำให้สามารถพัฒนานักเรียนให้มีคุณภาพและเป็นไปตามความต้องการของสังคม

3. กระบวนการจัดการเรียนการสอนกระบวนการผลิตทางการศึกษา หมายถึง กระบวนการจัดการเรียนการสอนถือว่าเป็นกระบวนการที่สำคัญคือ กิจกรรมการเรียนการสอนที่นักเรียนจะไดรับการพัฒนาและปรับปรุงทางด้านความรู้ บุคลิกภาพ ความคิด ประสบการณ์และสร้างเสริมคุณธรรมจริยธรรม

4. ผลผลิตนักเรียนเป็นผลผลิตที่เกิดจากกระบวนการเรียนการสอนคุณภาพของนักเรียนจะมีคุณภาพหรือไม่จะขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพปัจจัยป้อน หรือกระบวนการเรียนการสอนสำคัญดังนั้นระดับคุณภาพและมาตรฐานของนักเรียนเป็นเครื่องสะท้อนถึงประสิทธิภาพของกระบวนการผลิตของโรงเรียนโดยตรงและด้วยความรับผิดชอบที่มีต่อสังคมโรงเรียนจึงจำเป็นต้องพัฒนาคุณภาพของนักเรียนให้อยู่ในระดับที่อยู่ในเกณฑ์ที่มีคุณภาพและตรงกับความต้องการของชุมชนและสังคม

5. ผลลัพธ์ ผลลัพธ์ หมายถึง ผลลัพธ์ของนักเรียนที่มีคุณภาพตรงกับข้อกำหนดและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตรงตามความต้องการและเป็นที่ประทับใจและพึงพอใจของสังคมและตลาดแรงงานรวม ทั้งผลงานทางวิชาการงานวิจัยและบริการของสถาบันคณะอาจารย์ตองมีคุณภาพที่เป็นที่ยอมรับทางวิชาการระดับอุดมศึกษาทั้งในและต่างประเทศผลงานต้องมีประโยชน์และเกิดคุณค่าต่อชุมชนสังคมและสามารถนำไปสูการปฏิบัติและนำไปใช้ในธุรกิจและอุตสาหกรรมได้ตามความต้องการของสังคมและตลาดแรงงานเป็นที่ประทับใจและพึงพอใจของผู้ปกครองชุมชน

สังคมและผู้ประกอบการผลลัพธ์และประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของสถาบันที่มีคุณภาพเป็นไปตามข้อกำหนด

คุณลักษณะที่พึงประสงค์ตรงตามความต้องการเป็นที่ประทับใจของสังคมและตลาดแรงงานรวมทั้งผลงานทาง

วิชาการงานวิจัยและบริการของสถาบันตลอดจนอาจารย์ตองมีคุณภาพเป็นที่ยอมรับทางวิชาการระดับอุดมศึกษา

ทั้งในและต่างประเทศผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นต้องมีประโยชน์เกิดคุณค่าต่อชุมชนสังคมและสามารถนาไปสู่การปฏิบัติ

และนำไปใช้ทางธุรกิจการศึกษาอุตสาหกรรมได้แล้วตามความต้องการของสังคมและตลาดแรงงานเป็นที่ประ

ทับใจและพึงพอใจของผู้ปกครองชุมชนสังคมและผู้ประกอบการจากการที่มีระบบการบริหารจัดการศึกษาเชิง

คุณภาพดังกล่าวทั้ง5 กระบวนการถือว่าเป็นการวางแผนการออกแบบและการตรวจติดตามคุณภาพที่จะนำไปสู่

ระบบการประกันคุณภาพในที่สุดในแต่ละกระบวนการการจัดการศึกษาต้องนำมาออกแบบกำหนดและสร้าง

หัวข้อคุณภาพและดัชนีวัดคุณภาพขึ้นตามตัวชี้วัดคุณภาพผลที่ได้จะทำให้ลูกค้าเกิดความมั่นใจว่ากระบวนการ

จัดการศึกษาดังกล่าวไดดำเนินการไปอย่างมีคุณภาพและเป็นไปตามข้อกำหนดที่เขียนเป็นสัญญาให้แกผู้ศึกษา

ผู้ปกครองและสถานประกอบการจึงจำเป็นต้องมีการตรวจติดตามและประเมินคุณภาพการศึกษาเพื่อนำไปสู

การปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพของผลผลิต

6. การติดตามและประเมินผลผลการจัดการศึกษาและการเรียนการสอนจะต้องมีการตรวจติดตามและประเมินคุณภาพเพื่อตรวจสอบและให้ทราบถึงคุณภาพของนักเรียนเป็นไปตามความต้องการและเป็นที่พึงพอใจของชุมชนและสังคมเพียงใดอย่างไรก็ตามการตรวจติดตามต้องเป็นไปตามกระบวนการออกแบบและการจัดการศึกษาทั้ง 5 กระบวนการองค์ประกอบและดัชนีวัดคุณภาพของแต่ละกระบวนการ

7. การปรับปรุงคุณภาพหลังจากการตรวจติดตามและประเมินคุณภาพกระบวนการจัดการศึกษาและการเรียนการสอน จะไดวิธีการปฏิบัติที่ดีของโรงเรียนที่จะนำไปเป็นมาตรฐานในการจัดการเรียนการสอนต่อไปนอกจากนี้ปัญหาและข้อบกพร่องจากการศึกษาและการจัดการเรียนการสอนจะถูกนำไปหาวิธีการปรับปรุงและแก้ไขให้ดีขึ้นต่อไปอย่างไม่สิ้นสุดระบบการบริหารจัดการศึกษาเชิงคุณภาพประกอบไปด้วย7 กระบวนการจำเป็นต้องนำมาวางแผนออกแบบและสร้างระบบการประกันคุณภาพในแต่ละกระบวนการของการจัดการศึกษา ต้องนำมากำหนดและสร้างหัวข้อคุณภาพและตัวดัชนีวัดคุณภาพขึ้นต่อจากนั้นจึงหาวิธีการบริหารจัดการให้คุณภาพเกิดขึ้นตามตัวชี้วัดคุณภาพผลที่ไดทำให้ลูกค้าเกิดความมั่นใจว่ากระบวนการจัดการจัดการศึกษาดังกล่าวไดดำเนินการไปอย่างมีคุณภาพและเป็นไปตามข้อกำหนดที่เขียนเป็นสัญญาให้แกนักศึกษาผู้ปกครองและสถานประกอบการจึงจำเป็นต้องมีการตรวจสอบและประเมินคุณภาพการศึกษาเพื่อนำไปสูการปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพของบัณฑิตอย่างต่อเนื่อง

ผลงานที่ภาคภูมิใจ

ผู้บริหารหรือสถานศึกษาได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติในระยะเวลา5ปี ระดับประเทศ10 รายการดังนี้

ที่

รางวัลที่ได้รับ

จากหน่วยงาน

วัน.เดือน.ปี

1.

ผู้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความมุมานะ อุตสาหะ เสียสละ อดทนและพัฒนาคุณภาพชีวิตได้เป็นแบบอย่างที่ดี

สำนักงาน สกสค.

16 มกราคม 2552

2.

ผู้บริหารได้รับรางวัล "คุรุสดุดี" ประจำปี 2553 จากคุรุสภา

คุรุสภา

5 ตุลาคม 2553

3.

โรงเรียนชนะการประกวดส้วมสุขสันต์

ปีการศึกษา 2553 ประเภท โรงเรียนประถมศึกษา ขนาดใหญ่

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

25 พฤศจิกายน 2553

4.

ผู้บริหารได้รับพระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 2 ประจำปี 2553

สำนักงานคณะกรรมการลูกเสือแห่งชาติ

12 มกราคม 2554

5.

โรงเรียนคงสภาพโรงเรียนรางวัลพระราชทาน ระดับประถมศึกษาขนาดใหญ่ปีการศึกษา 2554

กระทรวงศึกษาธิการ

7 ธันวาคม 2554

6.

ผู้บริหารได้รับการคัดเลือกให้รับรางวัล

"หนึ่งแสนครูดี" ประจำปี 2554

คุรุสภา

16 มกราคม 2555

7.

โรงเรียนได้รับการรับรองมาตรฐานการศึกษา

ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานด้านปฐมวัย

และประถมศึกษารอบที่สาม

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(องค์การมหาชน)

23 พฤศจิกายน

2555

8.

รางวัลต้นแบบการจัดการเรียนรู้การสหกรณ์ ประจำปี พ.ศ.2555

กรมส่งเสริมสหกรณ์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

29 พฤศจิกายน

2555

9.

ผู้บริหารได้รับการคัดเลือกเป็นผู้บังคับบัญชาลูกเสือดีเด่น ประจำปี 2555 ประเภท ผู้บริหาร

สำนักงานคณะกรรมการลูกเสือแห่งชาติ

1 กรกฎาคม 2556

10.

รางวัล "สถานศึกษาพอเพียง 2555"

กระทรวงศึกษาธิการ

31 พฤษภาคม 2556

สรุป
การบริหารโรงเรียนสู่ความเป็นเลิศ นั้นต้องมีองค์ประกอบหลายอย่างที่จะนำมาใช้ในการบริหารงานให้ประสบความสำเร็จ ผู้บริหารโรงเรียนมีความสำคัญอย่างยิ่งที่ต้องกำหนดยุทธศาสตร์การบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพสูงสุด ให้เกิดการพัฒนาคุณภาพ เป็นโรงเรียนคุณภาพก้าวสู่ความเป็นเลิศได้ต่อไปในอนาคต


บรรณานุกรม


กระทรวงศึกษาธิการ. (2549 ). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา

ลาดพร้าว

ช่วงโชติพันธุเวช. (2553). ชุดคู่มือการพัฒนากระบวนการบริหารจัดการสถานศึกษาสู่คุณภาพ. กรุงเทพฯ :

มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

คำสำคัญ (Tags): #SIPPO
หมายเลขบันทึก: 587241เขียนเมื่อ 10 มีนาคม 2015 10:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มีนาคม 2015 10:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท