พหุวัฒนธรรมในสังคมอเมริกัน: Rosa parks กับชัยชนะของคนผิวสี บนรถเมล์สาธารณะ


เมื่อบทความก่อนกล่าวถึงนักศึกษาผิวดำคนแรกของอเมริกาไปแล้ว ซึ่งสะท้อนปัญหาทางวัฒนธรรม ซึ่งแม้ปัจจุบันเองมรดกทางวัฒนธรรมแบบนี้ยังมีให้เห็นอยู่เสมอ ดู http://en.wikipedia.org/wiki/Shooting_of_Michael_Brown

อะไรที่เป็นเหตุปัจจัย ให้เกิด อคติ การแบ่งแยกทางชาติพันธุ์ การเหยียดสีผิว คำตอบของผมก็คือ วัฒนธรรมนั่นเอง วัฒนธรรมไม่ได้เกิดขึ้นและล่องลอยอยู่ในอากาศ แต่วัฒนธรรมเกิดขึ้นจากการผลิตสร้างของมนุษย์ ผ่านการเพาะบ่มจากประวัติศาสตร์ เกิดจากการเรียนรู้ของมนุษย์ในการสืบทอดกันขึ้นมานั่นเอง การเหยียดผิวก็เป็นเช่นเดียวกัน เป็นผลมาจากการค้าทาส และความคิดที่เห็นว่าคนผิวขาวยุโรป หรือ อเมริกัน เหนือกว่าชนชาติอื่นในโลก การที่คิดค้นอาวุธอันตรายสามารถควบคุมคน การยึดพื้นที่ให้เป็นอาณานิคม การลดคุณค่ามนุษย์ลงด้วยการนำเอาคนแอฟริกันผิวดำเข้ามาเป็นทาส
ใช้แรงงานให้กับคนผิวขาวเป็นระยะเวลานาน เกิดความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์คือ ความสัมพันธ์ระหว่างนายทาสกับทาส ซึ่งนายทาสเป็นผู้ขูดรีดแรงงานทาสทุกอย่าง ทาสมีหน้าที่ในการทำงานให้นายทาสทุก ๆ อย่าง ความสัมพันธ์ต่าง ๆ ก็จะมีความคิดหรืออุดมการณ์เข้ามากำกับด้วย ได้แก่ ความคิดที่เห็นว่าทาสไม่ใช่มนุษย์ ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องได้รับการศึกษา
ไม่จำเป็นต้องได้รับค่าแรงงานที่เป็นธรรม ความสัมพันธ์ในยุคทาสดังกล่าวได้ถูกผลิตซ้ำในระยะเวลาที่ยาวนานมาก ทำให้เข้าใจว่าสิ่งที่เกิดขึ้นนี้เป็นสิ่งที่ถูกต้องชอบธรรม เป็นสัจธรรม ระบบความคิดอุดมการณ์ในการมองโลกมองชีวิตแบบนี้ ไม่ได้ครอบงำเฉพาะนายทาสเท่านั้น แม้แต่ทาสก็ยอมรับในความสัมพันธ์ที่สร้างขึ้นแบบนี้ คิดว่าเป็นเรื่องปกติธรรมดา แต่เมื่อในยุคสมัยที่เปลียนแปลงไป คนรู้จักตั้งคำถามมากขึ้น และเริ่มไม่เชื่อในระบบความคิดความเชื่อหลักที่ผลิตขึ้นมา ที่ยกตัวอย่างในสังคมอเมริกันคือเรื่องของฮิปปี้ ฮิปปี้เป็นผู้ปฏิเสธความคิดความเชื่อแบบทุนนิยม จึงสร้างวัฒนธรรมแบบใหม่ของเขาขึ้นมา ก็คือ วัฒนธรรมฮิปปี้ ก็คือทำตรงกันข้ามกับระบบสังคม ก็คือ ไว้ผมยาว เสพกัญชา ไม่ทำมาหากิน แสวงหาสัจธรรมทางศาสนา และในยุคที่ผู้คนตั้งคำถามเช่นนี้ คนผิวดำก็มีปัญญาชนของเขาเองที่คิดว่าระบบที่เป็นอยู่ไม่ได้เอื้ออำนวยให้เกิดความเป็นธรรมในสังคม เขาเหมือนกันพลเมืองชั้นสอง ดังนั้นจึงมีวันที่คนผิวดำคนแรกที่กล้าที่จะแหกกฎของคนผิวขาว ด้วยการปฏิเสธให้คนผิวขาวนั่งบนที่นั่ง คนผิวดำคนนี้ชื่อนางโรซ่า พาร์ค Rosa Parks โดยตอนนั้นคนผิวสีไม่สามารถใช้สถานที่สาธารณะ รวมถึงระบบบริการสาธารณะร่วมกับคนอเมริกันผิวขาวได้ คนผิวสีไม่สามารถโดยสารรถประจำทาง และนั่งบริเวณด้านหน้าของรถได้ แต่นั่งได้เฉพาะที่นั่งด้านหลังเท่านั้น และเมื่อมีผู้โดยสารเป็นจำนวนมาก คนผิวสีต้องลุกยืนให้คนอเมริกันนั่งแทน นางโรซ่า พาร์ค ได้ถูกดำเนินคดี และได้ถูกประกันตัวออกมา ด้วยจำนวนที่แพงพอสมควร ต่อมาเธอได้ร่วมขบวนการกับ สมาคมพัฒนามอนต์โกเมอรี (Montgomery Improvement Association; MIA) ซึ่งเป็นองค์กรสนับสนุนการต่อต้านการเลือกปฏิบัติในมลรัฐอลาบามา และได้ต่อสู้เพื่อต่อต้านการเลือกปฏิบัติ จนต้องยกเลิกกฎหมายฉบับนี้ นางโรซ่า พาร์ค ได้เสียชีวิตเมื่ออายุ 92 ปี และถือว่าเป็นบุคคลสำคัญคนหนึ่งในประวัติศาสตร์ของอเมริกา และในวันที่ 20 ธันวาคม 1956 ศาลฎีกาได้ตัดสินว่าการแบ่งแยกที่นั่งตามสีผิวบนรถเมล์เป็นเรื่องที่ขัดกับรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นชัยชนะของคนผิวสีที่เกิดจากการรณรงค์โดยไม่ใช้ความรุนแรง

คำสำคัญ (Tags): #พหุวัฒนธรรม
หมายเลขบันทึก: 587215เขียนเมื่อ 9 มีนาคม 2015 15:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มีนาคม 2015 14:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

คนผิวสีในเมกาต่อสู้ยาวนานกว่าจะได้สิทธิเท่าเทียมคนขาว ดิฉันดูหนังที่เล่าประวัติศาสตร์ช่วงนี้หลายเรื่อง



ยินดีที่..เรื่องราว..ชนิดนี้..ถูกบันทึกให้อ่านเป็นภาษาไทย..ที่สะท้อนให้เห็น..อีกหนึ่งมุมมอง..ของคำว่าทาส..และการต่อสู้..

ที่แตกต่าง.ไป..ในแง่..วัฒนธรรมไทย..ที่ไม่เคย..มีความคิดเรื่องต่อสู้..เนื่องจาก การสมยอม..และเลื่อนไหลไปตามธรรมดาๆของความนิยม..ในด้าน..ต่างๆ...

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท