​ถอดบทสนทนา งานเสวนาเรื่อง "การจัดการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน" ในวันที่ ๒๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ เวลา ๐๘.๓๐-๑๒.๐๐ น. ณ ศูนย์ปฏิบัติการโรงแรมเทา-ทอง มหาวิทยาลัยบูรพา


ในการเสวนา ผอ.อรสา ภาววิมล ผู้อำนวยการส่งเสริมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กล่าวว่า "บทบาทหน้าที่ของสกอ.มีอยู่ 2 ภารกิจ คือ 1. การสร้างคน บัณฑิตในการศึกษาระดับสูง 2. การสร้างองค์ความรู้ สร้างเทคโนโลยี นวัตกรรมเพื่อสร้างความเข้มแข็งของชุมชนฐานราก โดยทิศทางของสกอ.ในภายรวมนั้นจะพัฒนาคนให้เป็นคนที่มีความรู้(Knowledge worker) และ คนที่มีทักษะชั้นสูงตามสาขาวิชาชีพ(highly skill)

ในครั้งนี้พูดถึงภารกิจหลักคือการสร้างคน หรือพัฒนากระบวนการพัฒนาคน แผนของสกอ.พร้อมทั้งแผนอุดมศึกษา 15 ปี เน้นการยกคุณภาพบัณฑิตไทยให้สามารถอยู่ทั้งสังคมไทยและสังคมโลก จึงต้องหันมามองในการเตรียมความพร้อมของนักศึกษาในการเปิด AEC ซึ่งจะต้องผลักดันในด้านมาตรฐานหลักสูตร ตั้งแต่อดีตปี 2552 นั้นได้จัดให้มาตรฐานหลักสูตร TQF ซึ่งทางสกอ.ก็ได้ยืดหยุ่นให้ทางมหาวิทยาลัยได้จัดการเรียนการสอนให้บรรลุเป้าหมายได้ จึงควรเน้นที่ผลลัพธ์ Learning Outcome ว่าแต่ละหลักสูตรนั้นคุณลักษณะบัณฑิต จะต้องเป็นอย่างไร? เน้นด้านไหน? ซึ่งในปัจจุบันมหาวิทยาลัยเริ่มเข้าใจและมุ่งเน้นมากขึ้น แต่จริงๆแล้วเจตนารมณ์คือต้องการจะปรับคุณภาพบัณฑิต ปรับกระบวนการการเรียนการสอนให้เน้นที่ Learning Outcome

อันจะยกตัวอย่างล่าสุดที่ไปประชุมสมาคมวิชาชีพบัญชีตอนนี้ก็ได้มุ่งเน้นที่ Learning Outcome ทั้งหมดแล้ว เพราะฉะนั้นกระบวนการทำงานที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นมหาวิทยาลัย สภาวิชาชีพจะต้องมานั่งร่วมกันคิดแล้วว่ากระแสโลกมุ่งเน้น Learning Outcome เค้าจะไม่เน้นที่ Content แล้วว่าจะต้องเรียนอะไร? แต่จะต้องบอกว่าจบหลักสูตรนี้ทำอะไรได้บ้าง? ซึ่งในที่ประชุมจะพูดถึงการ Apply Apply Apply ทั้งหมด ดิฉันคิดว่าประเทศไทยมาถูกทิศทางแล้ว แต่สิ่งสำคัญคือทำอย่างไร?ให้เด็กไปถึงจุดนั้น

ซึ่งทางคณาจารย์จะต้องมา Design หลักสูตร ปรับกลยุทธ์การเรียนการสอนอย่างไร? สิ่งสำคัญปรับกระบวนการวัดและประเมินผลที่จะวัด Learning Outcome ให้ได้ สิ่งที่สกอ.ทำคือเรื่องของการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนซึ่งก็ดำเนินการมาถึงจุดนึงแล้ว ซึ่งในปัจจุบันสกอ.อยู่ในกระบวนการปรับเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร ซึ่งเดิมที่เรามีเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรกลางและให้มหาวิทยาลัยเดินตามนั้น และต้องบอกว่าเป็น minimum standard มหาวิทยาลัยสามารถบวกการเป็นอัตลักษณ์ เป็นความเชี่ยวชาญ เป็นความท้าทายของมหาวิทยาลัยได้ตลอดเวลา ตอนนี้กำลังปรับเกณฑ์มาตรฐานให้ล้อกับการส่งเสริมคุณภาพบัณฑิตที่จะเข้าสู่การทำงานจริงได้ ซึ่งจะมีอยู่ 2 track คือ 1. Academics track 2. Professionals track ซึ่งต่อไปเกณฑ์มาตรฐานจะมีการยืดหยุ่นมากขึ้น จัดการเรียนการสอนก็จะมีรูปแบบที่แตกต่างกันไป

เรื่อง WIL โดยปรัชญาแล้วประกอบด้วย 3 เรื่องหลัก คือ 1.School to work การที่นักศึกษาออกไปทำงานได้ 2. Continuing professional development การพัฒนาวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง อย่างที่ทราบใน Concept ของ Life-Long Learning 3. Meta competency การเพิ่มทักษะ สมรรถนะครบถ้วนก่อนที่จะออกไปทำงานจริง ทั้งเชิงวิชาการ วิชาชีพและวิชาชีวิต ซึ่งจะทำให้สามารถปรับตัว และเพิ่มวุฒิภาวะมากขึ้น ทั้ง 3 ส่วนเป็นการพัฒนาแบบองค์รวมเป็น Holistic โดยปรัชญาของ WIL แล้วเหมาะสมกับโลกปัจจุบัน ซึ่ง Competency ทั้งหมด WIL ตอบได้อย่างชัดเจนไม่ว่าจะเป็น สมรรถนะในการประกอบอาชีพ กระบวนการเรียนรู้ กระบวนการมีทักษะในอนาคต เช่น เทคโนโลยีการสื่อสาร ภาษา ต่างๆ เป็นต้น หรือแม้กระทั่งการเรียนรู้ที่จะอยู่กับผู้อื่นแบบพหุวัฒนธรรม

เมื่อก่อน สกอ.ส่งเสริมสหกิจศึกษามาก แต่ปัจจุบันสกอ.มองว่าสหกิจศึกษาค่อนข้างแข็งแรงแล้ว จึงมาขยายในส่วนที่เป็นการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงานส่วนรูปแบบอื่นเพิ่มขึ้น ซึ่งเมื่อไปยังหลายเครือข่ายพบว่ามีความหลากหลายมากขึ้นอยู่กับศาสตร์ สิ่งที่แตกต่างอย่างชัดเจนคือ Timeline ว่าแค่ไหนถึงจะเหมาะ? สัดส่วน ระยะเวลา ความเหมาะสม หน่วยกิจของภาคสนาม บางศาสตร์อาจจะเหมาะเพียงแค่การฝึกงานเท่านั้นซึ่งอาจจะมีเวลาไม่มากนัก บางศาสตร์ต้องฝึกตลอดเวลาเรียนไปด้วยฝึกไปด้วย ซึ่งในจุดนี้สกอ.ก็ได้มองเห็นว่าการส่งเสริมพัฒนาบัณฑิตให้สอดคล้องกับศาสตร์แต่ละศาสตร์เพื่อไม่ให้เป็นภาระของมหาวิทยาลัย จึงต้องให้อิสระกับศาสตร์ และหลักสูตรนั้นเหมาะกับรูปแบบใด ซึ่งต้องเรียนว่า 1.นโยบายออกมาแล้ว 2.ทำอย่างไรให้ WIL มีมาตรฐานอันนี้คือหัวใจสำคัญ ซึ่งนั่นก็เท่ากับว่าบัณฑิตมีมาตรฐานไปด้วย กระบวนการที่ใช้ กระบวนการสัมพันธ์ผู้ใช้บัณฑิตก็ต้องมีมาตรฐาน เพื่อให้เกิดสถานการณ์ WIN WIN situation สถาบันได้ประโยชน์ นักศึกษาได้ประโยชน์ และสถานประกอบการได้ประโยชน์ 3. มาตรฐานของผู้ใช้บัณฑิต ทำอย่างไรให้เข้าใจถึงมาตรฐานทั้งหมดให้เด็กได้ใช้วิชาชีพที่เรียนมา ซึ่งหมายความว่าควรมี Job description ให้กับนักศึกษาไม่ใช่ว่าจะได้ตำแหน่งที่ไม่ชัดเจน ซึ่งต้องทำให้เข้าใจในทุกฝ่ายทั้งหมดในด้านของมาตรฐานเริ่มตั้งแต่กระบวนการเตรียมความพร้อมให้กับนักศึกษา โดยทางสถานประกอบการมักพูดว่าเด็กยังไม่มีวุฒิภาวะ ขาดประสบการณ์และขาดการวางแผนที่ชัดเจน โดยเข้ามาจะทำอะไรบ้างให้สถานประกอบการ ซึ่งในปัจจุบันสกอ.ได้ทำวิจัยด้าน WIL เกี่ยวกับความเหมาะสมด้านรูปแบบการเรียนการสอน ต้องขับอย่างรวดเร็ว โดยต้องมองว่าแบบไหนจะสนับสนุนและเป็นแนวทางให้เหมาะสมกับสายาวิชาชีพนั้น ซึ่งจะต้องให้ทางสถานประกอบการภาคอุตสาหกรรมช่วยกันอีกด้วย ซึ่งต้องร่วมกันรับผิดชอบทุกภาคส่วน อันจะเป็นมาตรฐานที่ช่วยกันสร้างที่น่าจะชัดเจนมากที่สุด"

รศ.ดร. สมชาย จันทร์ชาวนา รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี กล่าวว่า " ต้องบอกก่อนว่าทางมจธ.เป็นมหาวิทยาลัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้ความสำคัญกับงานวิจัย เราพยายามพัฒนาคนให้มีคุณภาพ ซึ่งเราจะมองว่าการพัฒนาซึ่งถ้ามองก็จะเห็นว่าถูกหล่อหลอมมาในระดับนึงแล้วเมื่อมาเรียน อีก 4 ปี เราจะพัฒนาเค้าให้ดีขึ้นทั้งในแง่ของความรู้และทักษะต่างๆ โดยในมองในทุกๆด้านให้มีคุณภาพตรงตามผู้ใช้บัณฑิตต้องการโดยจัดเป็นนโยบายของ อันแรกคือ WIL อันที่ 2 คือ อุตสาหกรรมทุกสาขาคือหุ้นส่วนสำคัญของมหาวิทยาลัย เป็น stakeholder เราจึงจัดการศึกษาซึ่งให้ทั้งนักศึกษาเข้าไปสัมผัส เข้าไปมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาธุรกิจ เราก็ปรับให้มีความเหมาะสมกับสาขาโดยเน้น WIL และ Practice School

โดย Practice School เริ่มมาเมื่อ 10 ปีก่อนหน้านี้โดยนำหลักสูตรมาจาก MIT โดยนำมาจากคนที่จบ MIT มาตั้งสมาคมศิษย์เก่า MIT แห่งประเทศไทย แล้วหลังจากนั้นก็มีคุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา เป็นนายกสมาคมและต่อมาได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งนายกสภามหาวิทยาลัย ก็ได้มีนโยบายให้มจธ.ปรับ 2 เรื่อง คือ 1. กระบวนการ Learning คือต้องปรับให้เหมาะกับภาคอุตสาหกรรม กับผู้ใช้ 2. ต้องเน้นที่ productivity improvement มจธ.จึงได้แนวคิดและเทคโนโลยีผ่านศิษย์เก่าของสมาคมเข้ามาใช้ โดย Practice School เริ่มจากภาควิศวกรรมเคมี ในระดับปริญญาโท-เอก ซึ่ง Practice School ก็เป็น WIL รูปแบบหนึ่งซึ่งอยู่ในระดับบัณฑิตศึกษา เรียน 1 ปีในมหาวิทยาลัยเกี่ยวกับวิศวกรรมเคมีหลังจากนั้นก็เข้าฝึกในปีที่ 2 ซึ่งทางเรามี Partner เป็น ไทยออยล์ ปตท.เคมิคอล SCG chemical โดยเข้าไปร่วมว่าในกระบวนการมีปัญหาอะไรบ้าง โดยร่วมกัน โดยบุคคล 3 คน คือ วิศวกรที่บริษัท นักศึกษา และอาจารย์ ซึ่งอาจจะต้องใช้เวลาในการ Identify หลายวัน ซึ่งทางนักศึกษา และอาจารย์จะประจำอยู่ไซด์งานเลย ซึ่งเราเรียกอาจารย์ที่ประจำอยู่ว่า Side Director ซึ่งเป็น Key success มันจะเกิดความแตกต่างของอาจารย์เกิดขึ้น 2 ส่วนคือ อาจารย์ธรรมดาที่สอนทำงานวิจัยที่มหาวิทยาลัยและ อาจารย์ที่ต้องใช้ชีวิตอยู่ในอุตสาหกรรมซึ่งปีหนึ่งอาจจะต้องอยู่ถึง 50% ของเวลาทั้งหมดและต้องใช้เวลาดูแลกลุ่มวิทยานิพนธ์ ซึ่งทั้งหมดนี้ก็เป็นที่มาของการทำ WIL ในระดับปริญญาตรีโดยเริ่มต้นจาก สกอ. ที่มุ่งเน้นให้ทำงานร่วมกับอุตสาหกรรมโดยทาง มจธ.เริ่มจากคณะวิศวกรรม คณะวิทยาศาสตร์ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ และคณะสถาปัตยกรรม แต่ละคณะก็จะมีภาคธุรกิจ อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับคณะอยู่แล้ว ซึ่งทุกหลักสูตรสามารถพัฒนานักศึกษาให้ไป WIL ได้โดยเริ่มต้นยังไม่ได้ทำ 100 % อันเนื่องมาจากประเด็นความยังไม่พร้อมและนักศึกษาอาจจะทำให้ชื่อเสียงมหาวิทยาลัยออกไปทางลบ โดยจะเน้นเด็กที่มีเกรด 2.5 ขึ้นไป และผ่านการสอบวิชาต่างๆ ถ้าจะเจาะลงไปเด็ก 2.5 ไม่ได้วัดว่าฉลากกว่าเด็กที่มีเกรดต่ำกว่า แต่ผลสะท้อนมันมาจากการรับผิดชอบและมีวินัยสามารถแบ่งเวลาในการเรียนได้

ซึ่งทางมจธ.มีการดำเนินการด้าน WIL ดังนี้ 1. มีนโยบายเกี่ยวกับด้าน WIL ลงไปในแต่ละหลักสูตร คณะ และจัดให้มีการประเมินคณะตามค่า kpi ที่วางไว้ว่าอันไหนต้องดำเนินการ โดยประเมินทุก 6 เดือนโดยกรรมการสภา 2. เลือกสถานประกอบการที่จะทำ WIL ต้องคัดกรองก่อนว่าอันไหนมี Requirement อะไรบ้างมีโจทย์อะไรบ้าง โดยส่งทีมอาจารย์ลงพื้นที่เพื่อหาข้อมูล และบริษัทจะ Support อะไรได้บ้าง และเลือกหน่วยงานที่เหมาะกับนักศึกษา ไม่ใช่ว่าจะเอานักศึกษาไปเป็นแรงงานราคาถูก 3. มีการเตรียมนักศึกษาให้พร้อม อย่างน้อย 30 วัน นอกจากนั้นจะต้องมี อาจารย์ประจำเพื่อรับผิดชอบและมีโบนัส หรือ Career part เนื่องจากบางครั้งต้องไปอยู่ไกล การที่ส่งนักศึกษาไปความคาดหวังคงไม่ใช้ด้าน Knowledge ซึ่งอาจจะได้บ้าง แต่สิ่งที่มุ่งเน้นคือ competency หรือ Skill เราต้องมีการเช็ค skill ต้อง Identify เป็นระยะๆ

ในกลุ่มประเทศอาเซียนมีการประชุมเพื่อการถ่ายเทวิชาชีพ ที่เรียก ASEAN Krabi Initiative ระบุไว้ว่า skill ที่สายอาชีพวิทยาศาสตร์ในกลุ่มอาเซียนมี 11 ประการ ซึ่งจะสามารถเปลี่ยนถ่านโอนกันในเอเซียนได้ซึ่งในทีนี้คงไม่พูดถึง แต่ก็คงไม่หนีในเรื่องของ communication skill ประมาณนี้ครับ เวลาไปอยู่ในไซท์งานก็ควรมี project หรือควรมีพี่เลี้ยงเป็น supervisor คอยควบคุมดูแล และต้องให้นักศึกษาปฏิบัติให้เสร็จ และ project ต้องถูก identify แล้วจากบริษัทมีคุณค่าทางบริษัทและมีคุณค่าทางวิชาการ เมื่อเสร็จแล้วก็ส่งให้บริษัทว่างานนี้ Implement หรือไม่ ส่วนเรื่องของการ assessment ตัวนักศึกษานั้นจะมี progress report โดยมี check list และ Oral presentation ซึ่งมีทุกเดือนโดยมีกรรมการทั้งหลายภาคส่วน โดยบริษัทให้ present เป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งจริงนโยบายมีเพียง 2 ข้อเท่านั้นโดยเปิดโอกาสให้มี WIL ในทุกสาขา

ผู้จัดการฝ่ายสรรหา บริษัท เวสเทิร์นดิจิตอล ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า "ต้องแบ่งสถานประกอบการออกเป็น 2 ส่วน คือ บริษัทที่อยู่ใน BOI และอยู่นอกกรอบ BOI เพราะว่าถ้าอยู่นอกกรอบจะสามารถใช้แรงจูงใจของเรื่องการลดภาษีได้ 200% แต่ถ้าอยู่กลุ่ม BOI จะได้รับการลดหย่อนภาษีอยู่แล้วขึ้นอยู่กับว่าเราจะได้อายุสิทธิบัตรกี่ปี นโยบายของการรับนักศึกษาของเราจะเน้นอยู่แล้ว ถ้าจะพูดเรื่องของ STI = Science Technology and Innovation ซึ่งทางเราเกิดมาจากจุดนั้นเมื่อ 10 ปีที่แล้วซึ่งเป็นโครงการที่ดี โดยจากที่เราไปร่วมสอนกับบางสาขาวิชาใน ม.เกษตรศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ ประมาณ 6 ปี ซึ่งตอนนี้อุตสาหกรรมด้านฮาร์ดิสกำลังเพิ่งเข้ามาแล้วทางหลายมหาวิทยาลัยก็มีหลักสูตรด้วย เช่นของ มจธ.ก็มี FIBO โดยทำมาประมาณ 4 ปีปรากฏว่าก็ไม่ค่อยได้เท่าไหร่ ประจวบกับเมื่อเหตุการณ์น้ำท่วมทำให้ฮาร์ดดิสขนาดตลาดโลก ราคาขึ้นเป็น 3 เท่าเพราะโรงงานของเราทั้ง 2 ที่จมน้ำเมื่อสัก 2 ปีที่แล้วทำให้ซัพพรายเออร์หายไปเยอะครับ

เมื่อ 10 ปีที่แล้วทางทีมงาน สวทช. และของเราได้สร้างเด็กไว้ในวิชาฮาร์ดดิส ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการร่วมมือกันระหว่างองค์กรผู้ใช้บัณฑิตกับด้านการศึกษา มันก็เหมือนไฟไหม้ฟาง และบริษัทก็มาคิดต่อว่าทำอย่างไรได้คนเข้ามาทำงานตรงกับที่เราต้องการ ซึ่งต้องบอกว่าคนที่ท่านสอนไม่ใช่คนที่เราอยากจะได้ และที่สอนมาบางครั้งเราก็ต้องสอนเอง สุดท้ายทางบริษัทก็ต้องมาฝึกฝนทักษะเอง อย่างเช่น พนักงานฝ่ายผลิตมีการพัฒนาทักษะจาก skill labor เป็น semi skill Labor ต้องอบรม 3 เดือน งบประมาณ 30,000 บาท/คน ในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งแน่นอนว่าช่างเทคนิคระดับ ปวส. ปวช. ก็ประมาณ 70,000 บาท/คน ขึ้นไป ระดับปริญญาตรี ก็ประมาณ 100,000-200,000 บาท/คน ทำไมเราถึงจะต้องกระโดดมาพัฒนาภาคการศึกษา นั่นคือ stakeholder ดังนั้นเราจึงต้องมีความร่วมมือที่แท้จริง ซึ่งจะต้องมองให้ลึก ถ้าส่วนใหญ่ส่งไปที่ HR โดยตรงอาจจะไม่ได้อะไรเนื่องจากเขาก็ทำตามแค่นโยบายเท่านั้น ซึ่งผู้บริหารจะมองว่าเป็นแค่ Relation องค์กรที่จะมีผลอยู่ 2 แบบ คือ 1. มีฝ่ายฝึกอบรม ซึ่งต้องใช้ต้นทุนสูงมากๆ ในการอบรม 2. อบรมเสร็จแล้วเขาลาออก อย่างบริษัทผมก็มีคน 30,000 กว่าคน ซึ่งในแต่ละปีก็รับ Operation 10,000 กว่าคน แสดงว่า turnover สูงมาในอุตสาหกรรมนี้ สมมุติเราอบรมคนไปแค่ 5,000 คน ลองคิดง่ายว่า 5000 x 30000 = 15,000,000 บาทครับ ซึ่งในปัจจุบันไม่ต้องพูดถึงวิศวกร เราไม่กลัวนะครับเรากล้าจะรับคนเก่งมาได้ เรากล้าซื้อตัว และต้องทำอย่างไรให้เขาอยู่ได้นาน ต้องรู้จักเรา ไม่มีทางหรอกว่าแค่สัมภาษณ์เพียงไม่กี่นาทีจะทราบว่าเขาเป็นอย่างไร แต่ถ้า 3 เดือน 4 เดือน 6 เดือน อันนี้เรารู้จักเขาแน่นอนครับ จึงมองว่าสหกิจศึกษาเป็นอะไรที่ดีมากครับ ซึ่งคุณสัมพันธ์ก็เป็นนายกสมาคมสหกิจศึกษา และในปี 2542 ทำ MOU กับสมาคมสหกิจศึกษาโลกซึ่งปัจจุบันก็มีเด็กจากต่างประเทศเข้ามาสหกิจในบริษัทและทำความร่วมมือกัน 9 มหาวิทยาลัยในต่างประเทศ ทำให้เรารู้ว่า World Education เป็นอย่างไรในต่างประเทศนั้นเค้าจะเป็น Cooperative + WIL ทางเราจึงต้องเปลี่ยนแปลงเป็น Work integrated learning and Cooperation Learning Programs

จากการทำสหกิจศึกษานานาชาติมา 10 กว่าปี มันต้องอยู่บนพื้นฐานของคำว่ามาตรฐาน คือ นักศึกษาที่เข้ามาต้องตรงตามแผนกที่เขาจบมา และต้องมีกลุ่มงานที่ชัดเจน อีกอันหนึ่งคือความต่อเนื่องจะทำให้โครงงานมีความชัดเจนมากขึ้นและสำเร็จได้ ซึ่งจะเห็นได้จาก 4+2 หรือ 4+4+2 และหลายที่ยังส่งในช่วงปิดเทอม และหลายที่ยังมีปัญหาในเรื่องการจัดการสหกิจศึกษาและเด็กต้องมาทำ Engineering Project โดยหลายที่บูรณาการโดยนำงานมาใช้จากสหกิจศึกษา โดยในวิชาสัมมนาก็ให้อาจารย์มาทำที่บริษัทเลยได้ฟังของจริง ซึ่งเด็กก็สามารถมาอยู่กับ 8-10 เดือน ปัจจุบันก็มีมหาวิทยาลัยบางส่วนแบ่งเด็กออกมา 2 กลุ่มคือ กลุ่มหนึ่งเรียน กลุ่มหนึ่งออกสหกิจศึกษาเพื่อให้เด็กได้อยู่กับบริษัททั้งปี ซึ่ง WIL เป็นกระบวนการที่เปิดกว้างมากขึ้น

ทุกๆครั้งต้องเปิดกว้างให้เด็กเข้ามาเช็คว่าตัวเขาใช่หรือไม่ใช่กับอุตสาหกรรมนี้ ซึ่งในบางที่มีการจัดการศึกษาแบบนี้โดยในปีแรกก็ให้เข้าไปศึกษาว่าเขาเหมาะสมหรือไม่ ถ้าใช่ก็เดินต่อไป ส่วนในปีถัดมาก็จะให้อยู่นานขึ้น 1 เดือนเพื่อให้เขาหาโจทย์เพื่อเตรียมตัว แล้วสิ่งจะมาสะท้อนต่อในปี 3 หรือปี 4 มันก็ค่อยๆขยับไปสู่ความลุ่มลึกในศาสตร์นั้นๆ หลักเลยที่มองเป็นปัญหาคือการสื่อสาร เพราะภาษาอังกฤษเป็นหัวใจหลัก ในแง่ของความรู้คงไม่แตกต่างกันเท่าไหร่นัก ซึ่งทางเราต้องทำโครงการจับคู่นักศึกษาต่างชาติกับนักศึกษาไทย สิ่งที่เห็นแตกต่างระหว่างเด็กไทยกับเด็กต่างชาติคือ การวางแผน โดยเด็กไทยจะเกาะติดกับพี่เลี้ยงมากกว่า ส่วนเด็กต่างชาติจะคุยกับเพื่อนๆในเรื่องงานมากกว่า เรื่องการสื่อสารเด็กไทยในเดือนแรกๆค่อนข้างพูดภาษาอังกฤษได้น้อยแต่เมื่ออยู่ไปสักพักเดือนที่ 3-4 จะพูดได้คล่องมาก ซึ่งทางเราก็ขอขอบคุณมหาวิทยาลัยต่างๆที่ให้การร่วมมือครับ ขอบคุณครับ

ในช่วงถาม-ตอบ

Q1 ขอถามทางมจธ.ที่บอกว่ามี side director นั้นอาจารย์ที่ไปอยู่ไปอยู่นานแค่ไหน คิดภาระงานอย่างและได้ผลตอบแทนอย่างไร

A1 รศ.ดร. สมชาย จันทร์ชาวนา กล่าวว่า " Side director ของเราคืออาจารย์ที่จบปริญญาเอก แล้วก็เข้ามาเป็น Supervisor ที่บริษัทโดยปกติเราจะมีนักศึกษา ป.โท มาทำโครงงาน ซึ่งประจำอยู่ที่นั่นเลยและคอยให้ความรู้กับนักศึกษา การดูแลนักศึกษาคือการสอนไปในตัว และตอนที่ทำวิทยานิพนธ์จะต้องมีการตีพิมพ์ แต่บางบริษัทในบางเรื่องเป็นความลับของบริษัท ทางอาจารย์ต้องเขียน report ให้กับทางบริษัทเพื่อพิจารณาในการแก้ไปหา และทางเราก็ตั้งกรรมการเพื่อสอบนักศึกษา และนำงานส่วนนี้มาเป็นส่วนหนึ่งทางด้านวิชาการซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการประเมินผลการปฏิบัติงาน การขึ้นเงินเดือน การให้โบนัสต้องมีเพิ่มขึ้น เพราะเสียสละมากในการทำงานในบริษัทตลอดเวลาซึ่งเค้าจะได้พบครอบครัวเพียงแค่เสาร์-อาทิตย์ และ Key of success นั้นคือตัวอาจารย์ ถ้าปล่อยเด็กไว้เฉยกับบริษัทก็อาจจะไม่ได้มากเท่าไหร่ ซึ่งอาจจะมีดีมากและไม่ดี สิ่งที่สำคัญคือนโยบายของผู้บริหารในมหาวิทยาลัยซึ่งต้องชัดเจนในเรื่องนี้ที่จะมอบหมาย และต้องทีมงานเพื่อลงไปทำงานแบบนี้ ซึ่งผมจะยกตัวอย่างทางมจธ.ที่เรียกว่า Early recruitment ซึ่งอยากที่บอกว่าเราไม่ทราบพฤติกรรมในการสัมภาษณ์เพียง 1-2 ชม.ว่าเขาเป็นอย่างไร ก็คือให้เด็กไปฝึกกับเขาในปีที่ 2 โดยบริษัทจะจองตัวและเรียนต่อในปีที่ 3 และ 4 โดยใน 2 ปีนี้จะให้เงินเดือนและค่าเทอมจนจบ โดยรายละเอียดคือในปีที่ 2 จะให้ไปอยู่ที่บริษัท 1 เดือนมีพี่เลี้ยงดูแล และในช่วงระหว่าง ปี 3 เทอม 1 และ เทอม 2 ไปอยู่อีกครั้งหนึ่งซึ่งเป็นครั้งที่ 2 และในช่วงระหว่าง ปี 4 เทอม 1 และ เทอม 2 ไปอยู่อีกครั้งหนึ่งซึ่งเป็นครั้งที่ 3 และมีการประเมินตลอดเวลาและโปรเจ็คต่อเนื่อง เป็นเพียง Customize ส่วนหนึ่งเท่านั้น

Q2 จะมีแรงจูงใจอย่างไรให้เป็น side director

A2 รศ.ดร. สมชาย จันทร์ชาวนา กล่าวว่า "จริงๆแล้วแรงจูงใจนั้นอาจจะไม่มากนักแต่เราจะรับบุคลากรมานั้นจะใส่ Job descriptions ให้กับตัวอาจารย์ใหม่ซึ่งจะต้องมีที่สอนใน 3 ปีแรกในงานอุตสาหกรรม ไม่ใช่จบตรี-โท-เอก แล้วมาสอนเลย ซึ่งอาจจะไม่มีทักษะและความสามารถในด้านธุรกิจอุตสาหกรรมเลย โดย Intensive ที่เราจะให้คือโจทย์ที่ทำกับบริษัทเลย โดยจะมีอาจารย์อาวุโสเข้ามาช่วยดูแล ซึ่งก็ case นึงที่อาจารย์เป็นนักเรียนทุนเรียนจบโท-เอกมาแล้วไปเป็น side director ที่ไทยออยล์ ปรากฏว่ามีครอบครัวแถวนั้นก็เลยคิดว่าจะลาออก ทางมหาลัยเลยมาคิดว่าให้เค้าประจำอยู่ตรงนั้นเลยแล้วไม่ต้องลาออกซึ่งจะต้องใช้ทุนเป็นล้าน แต่ต้องกลับไปรายงานตัวที่มจธ.ด้วยก็พอดีลงล็อค ซึ่งก็เป็นรายๆไป

โดยอาจารย์ที่อยู่มาก่อนที่จะระบบแบบนี้อาจจะชินกับการสอนในมหาวิทยาลัย ซึ่งปัจจุบันทางมหาวิทยาลัยไม่ต้องการให้อาจารย์อยู่ที่มหาวิทยาลัยมัวแต่สอนอย่างเดียว ต้องออกไปรับข้อมูลและเทคโนโลยีข้างนอก ไม่งั้น Vision มันจะไม่กว้างส่งผลให้เด็กแคบตามไปด้วย ซึ่งอันนี้ต้องคุยกับบริษัทขนาดใหญ่ซึ่งบางครั้งต้องให้อาจารย์รับเงินเดือนจากบริษัท แต่เราก็มีบางส่วนให้เพราะเด็กของเราไปทำงานด้วย ซึ่งมีหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นสหกิจศึกษาหรือรูปแบบอื่นๆ อย่างเช่น ที่ทำ MOU กับบริษัท ยางมิตเชอลิน ให้นักศึกษาจบปี 3เทอม 1 แล้วออกไปอยู่กับบริษัท 1 ปีเต็มส่วนวิชาทางทฤษฏีทำยังไง? ก็ไปสอนที่บริษัทเลย คนสอนก็คืออาจารย์จากมจธ.และวิศวกรของบริษัทสอนในสาขานั้น ในปี4นี้เราจะเลือกหมวดวิชาส่วนใหญ่เป็นเลือกเสรี ทางบริษัทจะสอนเทคโนโลยีที่ทั่วไปไม่มี สอนให้นักศึกษาของเรา เด็กของเราจะเป็นที่ต้องการของบริษัทยางในหลายๆที่ เช่น บริสสโตน

มีอาจารย์บางท่านมาบอกกับผมว่าทำ WIL ไม่ได้ผมบอกเลยนะครับว่าทำได้ทุกสาขา เพียงแต่ว่ายังคิดไม่ออก หรืออาจจะมองไม่เห็นทาง ทางมจธ.ทำทุกสาขาแต่ไม่ใช่ 100 % โดยเฉลี่ยทำเพียงแค่ 10% จากสถิติที่รวบรวมมา จะส่งนักศึกษาไป WIL ประมาณ 500 คน อีก 90% เรียนอยู่ในมหาวิทยาลัย ถ้าในปัจจุบันอาจจะต้องปรับหลักสูตรไม่ว่าจะเป็นบัญชี หรือสายสังคมอื่นๆ ก็สามารถทำได้ ถ้าไม่ได้ก็ต้องพูดว่า we are doing good, Not good is not enough, be come better. สิ่งที่ทำอยู่เนี้ยดีอยู่ในระดับนึงแล้ว แต่เราต้องการ conclude improvement แล้วเราต้องดูว่าทำอย่างไรให้ดีที่สุด ซึ่ง Outcome ดีในระดับนึงแล้ว แต่เราต้องดีกว่านี้สิอยู่แบบนี้ไม่ได้ และต้องทำให้ดีที่สุด

Q3 ใครเป็นคนติดต่อ SCG, Thai oil, Western digital ให้กับมหาวิทยาลัย

A3 รศ.ดร. สมชาย จันทร์ชาวนา กล่าวว่า "อันนี้เป็นเรื่องที่ต้องเน้นและเป็น Key success นั่นก็คือกรรมการสภามหาวิทยาลัย ในการเลือกกรรมการสภามหาวิทยาลัยต้องเลือกให้ตรงกับภารกิจของสภามหาวิทยาลัย อย่างมจธ.จะเน้นวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิศวกรรม การเลือกกรรมการสภานั้นต้องเน้นคนทางด้านอุตสาหกรรมและเน้นผู้เชี่ยวชาญด้านอุตสาหกรรม เมื่อก่อนเราเชิญคุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยามาเป็นนายกสภา ตอนนี้เราเชิญดร.ทองฉัตร หงศ์ลดารมภ์ มาเป็นนายกสภาท่านก็อยู่ SCG มาก่อน อีกท่านก็อยู่ ปตท.มาก่อน และก็นำมาจากอุตสาหกรรมและท่านก็จะลิงค์เราเข้าไป แต่เมื่อเข้าไปแล้วงานชิ้นแรกก็จะต้องประทับใจ ถ้าเสียชื่อเสียงก็เลิกกันเลย และต้องเน้นสำคัญ จะอะไรก็แล้วแต่คุณภาพสำคัญ เมื่อมีคุณภาพได้ในระดับนึงแล้วก็ต้อง Improve อยู่เสมอ พรุ่งนี้จะต้องดีกว่าวันนี้ ต้องปลูกฝังอยู่ในบุคลากร ซึ่งบุคลากรของ มจธ. ทำทั้งหมดไม่มีหรอกว่าไม่ทำ ได้ mission มาแล้วรับไว้ก่อน ไม่มีตอบปฏิเสธครับ ผลงงานเต็มห้องเลยครับ ถึงแม้ผู้บริหารจะเปลี่ยนไปตามเกณฑ์แต่นโยบายจะอยู่ในแนวทางเดียวกันเสมอ เรามีทำ Roadmap 2020 มีการทำ Roadmap 2030 โดยผู้บริหารสูงสุดของเรา และสภา จะต้องเข้าใจ Roadmap อย่างลึกซึ้ง ว่าปี 2030 ว่าเป็นอย่างไร ไม่ว่าจะเปลี่ยนคณบดี หัวหน้าภาควิชา

ในส่วน Roadmap เราก็ต้องมีการทำร่วมกันทุกคน ซึ่งผมก็ต้องเข้าไปร่วมกันเขา ว่าจะต้องทำอะไร แล้วอะไรที่ดีบ้าง ซึ่งก็จะทราบว่าอันนี้ผมเคยมีส่วนร่วมด้วยครับ"

Q4 ประเด็นที่1 สถานประกอบการณ์จะรับนักศึกษาอย่างไรและพูดคุยประเด็นอะไร กับนักศึกษาเมื่อนักศึกษาไปฝึกประสบการณ์ หรือสหกิจศึกษาในธุรกิจแบบเดียวกันกับบริษัทท่าน

ประเด็นที่2 เรียนท่านอาจารย์เมื่อที่ยกตัวอย่างมากจะเห็นได้ว่าเป็นลักษณะขนาดใหญ่ที่มีการบริหารชัดเจน ส่วนบริษัทของมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณีจะเน้นไปทางบริษัท SME และขนาดเล็กซึ่งมีการบริหารจัดการไม่ซับซ้อน บางอย่างไม่สามารถบอกได้ว่าการรับนักศึกษาอาจจะมีที่ไม่ใช่เฉพาะสาขาวิชา หรือตรงตามสาขาวิชาที่ชัดเจน ซึ่งต้องขอคำแนะนำ

A4 ผู้จัดการฝ่ายสรรหา บริษัท เวสเทิร์นดิจิตอล ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า "การที่เรารับนักศึกษาเข้าสถานประกอบการส่วนใหญ่ก็มาจากรูปแบบสหกิจศึกษา ซึ่งก็มีหลายระดับไม่ว่าจะเป็น ป.ตรี-โท-เอก และล่าสุดมี Post-Dr. เข้ามาด้วยประมาณปีละ 100 คน ตอนนี้มี 200 คน ซึ่งอย่างที่บอกนโยบายเรารับเด็กตลอดไม่ว่าจะน้ำท่วมก็ตาม แต่สิ่งที่เห็นได้ชัดคือเมื่อบริษัทที่เป็น supply หรือ บริษัทที่อยู่ในธุรกิจนี้ เมื่อเห็นเด็กจบหรือสหกิจผ่าน WD รับหมดเลยครับ หลายครั้งมีการโทรมาขอนักศึกษาที่ฝึกอยู่ก็มี และที่ WD จะรับเด็กที่จบและมีสหกิจศึกษา 6 เดือนหรือ 1 ปีก็จะรับครับ ไม่งั้นก็ต้องทำงานด้านนี้มาก่อน 2-3 ปีครับ ซึ่งภาพความรู้เราคิดว่าเท่ากัน แต่จะเน้นเรื่องการทำงานได้จริง และมุมมองของการทำงานมากกว่า"

รศ.ดร. สมชาย จันทร์ชาวนา กล่าวว่า "แล้วถ้าบริษัทขนาดเล็กทำอย่างไร 1. เลือกสถานประกอบการก่อน เพียงพอที่จะให้ความรู้และประสบการณ์กับนักศึกษาหรือเปล่า และเพียงพอที่จะทำ WIL บางอันถ้าเกิดไม่พอเนี่ยก็ส่งไปแค่ฝึกงานก็ได้ ถ้าเกิดว่ามีศักยภาพมากพอที่จะส่งนักศึกษาไปได้ 4 เดือน 6 เดือน ก็ต้องทำกรอบมาตรฐานว่าเค้าจะให้อะไรได้บ้าง ซึ่งมจธ.มีกรอบ 6 อันคือ 1. Setup กรอบการส่งนักศึกษา คือการเลือกนักศึกษา ว่าสถานประกอบการมี requirement และต้องทำ List management ว่าเด็กจะมีความเสี่ยงอย่างไร ได้อะไร 2. เตรียมนักศึกษา ให้พร้อม 3. การ Super Vision มีทั้งฝ่ายเค้าและฝ่ายเรา 4. ทางบริษัทจะสารมารถสร้าง Competency ตามที่มหาวิทยาลัยต้องการให้นักศึกษาได้ไหม 5. การที่นักศึกษาเข้าไปจะมีโปรเจ็คได้ไหม มีอะไรให้นักศึกษาเรียนรู้ การที่เพิ่ม communication skill อย่าง การ Oral presentation มีไหมทำได้หรือเปล่า ซึ่งต้องบอกตรงๆว่าบางสถานประกอบการต้องการนักศึกษาไปเป็นแรงงานเด็กราคาถูก อาจจะต้องพิจารณาว่าบางอันไม่เหมาะกับ WIL แต่อาจจะเป็น training สัก1-2 เดือนได้ ไม่ใช่ได้หมดทุกสถานประกอบการควรจะต้องดูคุณภาพเป็นหลัก"

Q5 นโยบายของทางสกอ.ที่จะลงสู่การปฏิบัติ

A5 ผอ.อรสา ภาววิมล กล่าวว่า "ก่อนที่จะถ่ายทอดนโยบายนั้น มีตัวช่วยให้อาจารย์จากราชภัฏว่าต้องเข้าใจบริบทมหาวิทยาลัยภูมิภาค ในด้านอุตสาหกรรมขนาดใหญ่อาจจะเข้าไม่ถึง มันก็จะมีช่องทางของ SME. โดยสภาหอการค้าไทยยินดีสนับสนุน ซึ่งเคยไปขอความร่วมมือในการประชุมสภาหอการค้า และเค้าก็มีกลุ่มสภาหอการค้าทั่วประเทศ 18 กลุ่ม และสามารถจะติดต่อได้โดยมี List รายชื่อของสถานประกอบการที่มีมาตรฐาน ส่วนเรื่องผลประโยชน์ต้องคุยรายละเอียดเพิ่มเติม

ในเรื่องการสู่การปฏิบัตินั้นทางสกอ.ต้องทำ คือ 1. มาตรฐานจากทั้ง 2 ท่านที่พูดมา เพราะฉะนั้นจะต้องมีกระบวนการตั้งแต่มาตรฐานนักศึกษา การเตรียมความพร้อม นักศึกษา กระบวนการการสร้างมาตรฐานภายในมหาวิทยาลัย การเตรียมอาจารย์ side director กระบวนการการประเมิน ต้องมาสร้างเป็นไกด์ไลน์ และต้องมาทำความเข้าใจกันใหม่ว่าเราไม่ได้ทิ้งสหกิจศึกษา แต่สหกิจศึกษาก็เป็นรูปแบบหนึ่ง แต่จะเปิดกว้างในทุกๆรูปแบบ ซึ่งต้องให้ตรงตามหลักสูตรแต่ละสาขา 2. สกอ.จะผลักดันให้อยู่ในรูปแบบ Internationalization ผลักให้เป็นหลักสูตรนานาชาติ นอกเหนือจากสหกิจนานาชาติซึ่งเราจะก้าวเข้าสู่ AEC โดยในปีนี้เราเริ่มให้ทุนนักศึกษาที่ไปสหกิจนานาชาติแล้ว ซึ่งคงจะต้องเตรียมตัวให้พร้อมในด้านภาษา วัฒนธรรม และทางมหาวิทยาลัยจะต้องเตรียมให้พร้อมกับเด็กที่จะไปประเทศนั้น รวมทั้งเรื่องกม.แรงงานแต่ละประเทศ ที่ออกไปยังภูมิภาค เรื่องสุดท้ายที่ สกอ.ทำในปีนี้คือการทำความร่วมมือกับ EU ก็คือต้องการให้เด็กไปทำงานในประเทศแถบยุโรปที่มีมาตรฐานเราจะไปไม่ได้ถ้าเราไม่พร้อมและคงไม่ง่ายนัก

อันที่หนึ่งที่สกอ.จะทำคือการ Tuning standard ว่าขณะนี้มาตรฐานการเรียนการสอนแบบ WIL ของเขาเป็นอย่างไร ของเราเป็นอย่างไร ปรับกันได้ไหม ซึ่งของเราเป็น TQF แล้วคงไม่ยากมากนัก เพราะคณาจารย์ที่มาทำกรอบมาตรฐานจะหันไปมองของต่างประเทศเสมอ โดยต้องมองบริบททั้งสองฝ่ายว่าจะยอมรับกันมากแค่ไหนอันนี้ก็คือเบื้องต้น ถ้าไม่มีอะไรก็น่าจะได้โปรเจ็คนี้ปลายปี ของเราส่งไป 3 สาขาที่มีความเข้มแข็ง คือ สาขาวิศวกรรมศาสตร์ สาขาการท่องเที่ยวและการโรงแรม สาขาอุตสาหกรรมเกษตร เป็นสาขานำร่อง ถ้าอยู่ในสาขานี้ควรเตรียมความพร้อมให้ดี ทั้งอาจารย์ และนักศึกษา

อีกตัวหนึ่งซึ่งทางสกอ.มองว่าเป็นประโยชน์ให้กับคณาจารย์คือการสร้างความร่วมมือกับผู้ใช้บัณฑิต และเน้นการวิจัยที่เน้นนวัตกรรม โดยมีความเชื่อมโยงกับภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม ซึ่งในที่สุดก็จะนำมาสู่การเรียนการสอน เทคโนโลยีที่ก้าวไป ว่าภายนอกไปถึงขนาดไหน ซึ่งต้องกลับมาปรับหลักสูตรในการเรียนการสอน และอีกตัวหนึ่งที่สกอ.จะผลักคือในการจัดการศึกษา WIL จูงใจในการคิดภาระงานให้กับอาจารย์ ว่ามันได้อะไร โดยดิฉันฟังมาหลายที่แล้วพบปัญหาว่า อาจารย์ทำตรงนี้ภาระเพิ่มมากขึ้น นอกเหนือจากการสอนในชั้นเรียน ต้องติดต่ออุตสาหกรรม ต้องดูแลเด็กในอุตสาหกรรรม นั้นสิ่งเหล่านี้สกอ.ได้เห็นและต้องมีแนวทางในการจูงใจ ซึ่งทางมหาวิทยาลัยก็คงต้องเห็นความสำคัญ เรื่องฐานข้อมูลที่มีความเชื่อมโยงกับภาคอุตสาหกรรม ต้องมีการทำเพื่อบอกว่าหลักสูตรไหนมีการจัด WIL และสถานประกอบการไหนต้องการ ซึ่งก็เป็นความต้องการที่ตรงกันสำหรับเป็นพื้นฐานการทำงาน"

หมายเลขบันทึก: 587213เขียนเมื่อ 9 มีนาคม 2015 15:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มีนาคม 2015 15:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท