ไขข้อสงสัยการนำไฟแช็คขึ้นเครื่องบิน


ที่มา : http://www.tsa.gov/traveler-information/prohibited...

Common Lighters - Lighters without fuel are permitted in checked baggage. Lighters with fuel are prohibited in checked baggage, unless they adhere to the Department of Transportation (DOT) exemption, which allows up to two fueled lighters if properly enclosed in a DOT approved case. If you are uncertain as to whether your lighter is prohibited, please leave it at home.

Torch Lighters - Torch lighters create a thin, needle-like flame that is hotter (reaching 2,500 degrees Fahrenheit) and more intense than those from common lighters. Torch lighters are often used for pipes and cigars, and maintain a consistent stream of air-propelled fire regardless of the angle at which it is held. Torch lighters continue to be banned.

ขึ้นเครื่องบินได้

ไม้ขีดไฟ (ไม้ขีดไฟธรรมดามิใช่ไม้ขีดมายากลที่ขีดกับวัตถุอะไรก็ได้ - Stike on Anywhare) ขึ้นเครื่องได้ 1 กล่องต่อ 1 ท่าน โดยใส่กระเป๋าเสื้อกระเป๋ากางเกงหรือใส่กระเป๋าถือ

ไฟแช็ค ที่บรรจุก๊าซบิวเทน หรือ แบบวัสดุซับของเหลวหรือลักษณะแบบไฟแช็คซิปโป้(Zippo) สามารถถือขึ้นเครื่อง หรือใส่ในกระเป๋าถือ ได้ 1 ชิ้น ต่อ 1 ท่าน

ไฟแช็คที่ปราศจากเชื้อเพลิง รวมทั้งไฟแช้คแบบเปลวไฟพุ่งแรง(Torch Lighters)ที่ปราศจากเชื้อเพลิง อนุญาตให้โหลดใส่กระเป๋าขึ้นเครื่อง ได้ ไม่เกิน 2 ชิ้น แต่ต้องแสดงให้เห็นว่าปราศจากเชื้อเพลิง และใส่ในกระเป๋าหรือภาชนะบรรจุ ตามรูปแบบที่กรมการบินพลเรือนกำหนด หากคุณไม่แน่ใจ ควรเก็บไว้ที่บ้านกรุณาอย่านำติดตัว

ห้ามนำขึ้นเครื่อง

ไม้ขีดไฟแบบมายากล ที่สามารถขีดกับวัตถุต่างๆแล้วติดไฟได้ (Strike Anywhere Match)

ไฟแช็คแบบเติมก๊าซได้ และน้ำมันไฟแช็ค

ไฟแช็คแบบเปลวไฟพุ่งแรง - ไฟแช็คแบบนี้มีความร้อนสูงมากถึง 1,300 องศาเซลเซียส (2,500 องศาฟาเรนไฮต์) มีเปลวไฟพุ่งรุนแรง มากกว่าไฟแช็คทั่วๆไป มักจะใช้ กับผู้ที่สูบไปป์และสูบซิการ์ มีเปลวไฟแรงและสามารถควบคุม แรงไฟที่เกิดจากกระแสลมหมุนและสามารถปรับองศาหรือมุมของการพ่นได้ ไม่ได้รับอนุญาตให้นำขึ้นเครื่องบิน ยกเว้นจะแสดงให้ จนท. ดู ณ จุดตรวจว่าไม่มีเชื้อเพลิงหรือก๊าซอยู่ภายใน

กฎระเบียบปฏิบัติ

ไม้ขีดปกติ หรือ ไฟแช็คก๊าซ 1 ชิ้น นำติดตัวหรือใส่กระเป๋าถือขึ้นเครื่องได้

ยกเว้น ไฟแช็คที่มี ชื้อเพลิงเหลว จะไม่ได้ รับอนุญาตให้ถือขึ้นเครื่องและใส่ไปกับกระเป๋าโหลด

Q&Aจตอ.

ถาม.... ผมสงสัยเรื่องไฟแช็คแก้ส กับไฟแช็คน้ำมัน ซิปโป มันสมควรให้โหลดขึ้นไหมครับ เพราะเห็นเขาก็ปล่อยให้โหลดขึ้นกันครับ

ตอบ.....ส่วน ไฟแช็ค แก๊ส น้ำมันซิปโป ถือเป็นวัตถุไวไฟเป็นสินค้าอันตราย ต้องดูจำนวนในการขนด้วยค่ะ(1ชิ้นต่อ1ท่าน หากมีเชื้อเพลิงอยู่ แต่หากไม่มีเชื้อเพลิง อนุญาตให้โหลดใส่กระเป๋าขึ้นเครื่อง ได้ ไม่เกิน 2 ชิ้น) แต่ต้องแสดงให้เห็นว่าปราศจากเชื้อเพลิง) มันจะมีระบุอยู่ใน ICAO Document 9284-AN/905 Technical Instruction for the Safe Transport of Dangerous Goods by Air บางตัวห้ามทำการขนส่งในเครื่องที่มีผู้โดยสาร ขนได้เฉพาะเครื่อง Cargo Only แต่อย่างไรก็ตามคนที่จะทำการขนส่งสินค้าหรือวัตถุอันตรายจะต้องแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบนะคะ

ความคิดเห็นเสริม : ที่ควรสังเกตุ คือไฟแช้คที่จุดติดไฟค้างไว้เอง ได้นานๆ เช่น zippo ติดไฟค้างได้ (อนุญาต) หรือไฟแช้คแบบอัดก๊าซมักมีปุ่มล้อคก๊าซให้ติดค้างได้ Torch Lighter (ไม่อนุญาต)เมื่อเราปล่อยมือ แบบนี้เสี่ยงในการนำไปก่อการร้าย และอีกแบบคือไฟแช้คอัดก้าซที่มีตัวยึดสูญญากาศ แบบนี้ปล่อยแก้ซค้างได้และบังคับทิศทางให้ค้างไว้ในตำแหน่งเดียวได้ แบบนี้สามารถทำความเสียหายได้มาก ต้องนำมาพิจารณาประกอบบริบทอื่นๆด้วย

ถาม....ความเห็นผม ไม่สมควรให้เอาติดตัวขึ้นไป เพราะเป็นวัตถุอันตรายโดยสภาพ แต่สังเกตหลายๆ ที่ เหตุใดยังคงปล่อยให้เอาขึ้นไปอยู่ครับ?

ตอบ.... "ส่วนไฟแช็ค แก๊ส น้ำมันซิปโป ถือเป็นวัตถุไวไฟเป็นสินค้าอันตราย ต้องดูจำนวนในการขนด้วยค่ะ มันจะมีระบุอยู่ใน TI " นี่คงเป็นคำตอบที่ว่าทำไม สายการบินบางสายถึงให้เอาไฟแช้คขึ้นเครื่องบินได้อันเดียวโดยอนุโลม สมัยก่อนสูบบุหรี่บนเครื่องบินได้สายการบินจะแจกไม้ขีดเป็นซองเล็กๆมียี่สิบก้าน สมัยก่อน ใช้ไม้ขีดก็โยนทิ้งไปได้ครับ แต่ไฟแช้คสมัยนี้ถูกพัฒนาให้มีแรงดันสูงๆ แบบนี้ควรให้โหลด

ตอบ.....แต่การจะอนุโลมให้ คงไม่ใช่การยอม แต่เป็นการที่ จนท. ได้ประเมินสิ่งต่างๆ นั่นคือ จนท.จะดูจากบริบทอื่นๆประกอบไปด้วยตามที่ได้ฝึกอบรมมาครับ ซึ่งตรงนี้แหละครับ ที่ผู้โดยสารไม่เข้าใจ ว่าแต่ละสนามบินปฏิบัติต่างกัน จริงแล้วสนามบินเดียวกันก็ปฏิบัติต่างกันได้ เพราะ… "จนท. สังเกตุสิ่งอื่นๆประกอบแล้วจึงประเมินและตัดสินว่าจะให้ขึ้นไม่ให้ขึ้น" …. …"ไม่ได้ห้ามเหมือนกันทุกคน ตรงนี้เองครับที่ผู้โดยสารมองว่า ปฏิบัติไม่เหมือนกัน"… แต่เราไม่สามารถอธิบายได้ตรงๆเพราะเป็นแค่การตรวจสอบด้วยสายตาเบื้องต้น พูดไปอาจผิดกฏหมายเรื่องสิทธิมนุษยชน หรือเข้าข่ายกล่าวหาไปได้อีก ทั้งที่เราปฏิบัติหน้าที่ด้วยความถูกต้องก็ตาม จนท.จึงเลี่ยงที่จะบอก "วิธีพิจารณาตัดสินใจ" กับผู้โดยสาร พอไม่บอก ผู้โดยสารก็เข้าใจว่า Double Std. เลือกปฏิบัติ จนท.ไม่วางตัวเป็นกลางปฏิบัติกับประชาชนไม่เหมือนกัน แบบนี้นั่นเอง

2500 องศาเซลเซียส = 1 371.111 degrees Celsius

หมายเลขบันทึก: 587071เขียนเมื่อ 5 มีนาคม 2015 05:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มีนาคม 2015 05:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท