เปรียบเทียบอาชีวศึกษาไทยกับอังกฤษ (ต่อ)


วิทยาลัยในประเทศอังกฤษมีสิ่งหนึ่งที่วิทยาลัยในประเทศไทยขาดไป คือ ระบบการช่วยเหลือผู้เรียน หรือ Tutor ที่จะทำหน้าที่สนับสนุนผู้เรียนรายบุคคลที่มีปัญหา

หลักสูตรที่ใช้สอนจะยึดตามแนวมาตรฐานอาชีพที่สมาคมอาชีพต่างๆ จัดทำขึ้น เพื่อให้มั่นใจว่า ผู้จบการศึกษามีสมรรถนะตามที่เจ้าของอาชีพต้องการจริงๆ โดยมีผู้สอนจำนวนมากที่มาจากอาชีพนั้นๆ ไม่ใช่จบมาจากมหาวิทยาลัย ดังนั้นบรรยากาศการสอนจึงเป็นลักษณะการสอนเน้นการปฏิบัติจริงมากกว่าทฤษฎี

ในประเทศไทยมักได้ยินคำว่า Semi – Skill หรือ กึ่งฝีมือ ซึ่งมักจะหมายถึง คนที่มีทักษะยังไม่สมบูรณ์ เช่น เด็กที่จบระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ แต่ในประเทศอังกฤษจะไม่มีคำนี้ เพราะการพัฒนาแรงงานให้ทำงานได้ตามความต้องการของภาคเอกชน ต้องมีทักษะที่สมบูรณ์หรือ Full Skill เท่านั้น การสอนแบบ Semi Skill ดูเหมือนว่ายังไม่มีสมรรถนะ จึงไม่สมควรรับเข้าทำงาน ดังนั้นเป็นหน้าที่ของสถานศึกษาต้องผลิตบุคลากรที่มีสมรรถนะทำงานได้อย่างสมบูรณ์แบบเท่านั้น (สิ่งนี้บอกเป็นนัยๆ ว่า การแยกประเภทของประกาศนียบัตรวิชาชีพและประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงจำเป็นหรือไม่)

สภาพการสอนในวิทยาลัย มีความพร้อมของวัสดุอุปกรณ์ในระดับดีมาก เช่น วิทยาลัยที่สอนด้านอาหารแห่งหนึ่ง มีอุปกรณ์การสอนเหมือนอยู่ในโรงแรม ห้องเรียนเป็น Theater สามารถถ่ายทอดสดไปยังผู้เรียนที่อยู่ห่างไกลได้ และมีภัตตาคารให้ผู้เรียนได้ฝึกงาน ซึ่งเป็นภัตตาคารขนาดใหญ่ดำเนินธุรกิจอย่างจริงจัง

ส่วนผู้สอนวิชาชีพจำนวนมากเป็นผู้ที่เคยผ่านการทำงานในอาชีพนั้นมาก่อน ไม่ได้จบปริญญาตรี ปริญญาโท เหมือนในประเทศไทย สามารถให้ความรู้ในการทำงานได้อย่างดี นอกจากนั้นยังสามารถให้ประสบการณ์ในฐานะผู้ประกอบการได้อีกด้วย

ผู้บริหารวิทยาลัย เรียกว่า Director ได้รับการคัดเลือกและแต่งตั้งจากคณะกรรมการสถานศึกษา ระยะเวลา 4 ปี แต่จะประเมินทุกปีโดย คณะกรรมการบริหารวิทยาลัย และจะถูกตรวจสอบ โดยผลการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษา ซึ่งผู้บริหารวิทยาลัยจะมีเป้าหมายชัดเจนในการผลักดันให้วิทยาลัยตอบสนองความต้องการของภาคเอกชน

วิทยาลัยอาชีวศึกษาในอังกฤษและออสเตรเลีย มีสิ่งหนึ่งที่เหมือนกัน คือ การพยายามปรับตัวเองตลอดเวลา เพื่อให้ตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงาน ความต้องการของภาคเอกชน และการแก้ปัญหาการว่างงาน เราจึงเห็นการเปลี่ยนแปลงต่างๆ เช่น การควบรวมของสถานศึกษา การเลิกสอนในสาขาที่ไม่ประสบความสำเร็จ โการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการบริหารสถานศึกษา โดยจะมีคณะกรรมการที่สภาแต่งตั้งเข้ามาตรวจสอบQuality เพื่อเป็นการทบทวนรูปแบบในการบริหารงานของสถานศึกษา

วิทยาลัยในประเทศอังกฤษมีสิ่งหนึ่งที่วิทยาลัยในประเทศไทยขาดไป คือ ระบบการช่วยเหลือผู้เรียน หรือ Tutor ที่จะทำหน้าที่สนับสนุนผู้เรียนรายบุคคลที่มีปัญหาในการเรียนและการใช้ชีวิตให้ประสบความสำเร็จในการเรียน ฉะนั้นอัตราผู้จบการศึกษาจึงสูงมาก เมื่อเทียบกับประเทศไทย นอกจากนั้นวิทยาลัยบางแห่งมีระบบให้คำปรึกษาในการหางานหลังจากจบการศึกษาด้วย

เปรียบเทียบการอาชีวศึกษาไทยและอังกฤษ

อาชีวศึกษาอังกฤษ
อาชีวศึกษาไทย
สถานะของวิทยาลัย เป็นองค์กรของรัฐแต่บริหารอย่างอิสระ วิทยาลัยส่วนใหญ่เป็นของรัฐ รัฐควบคุมใกล้ชิด
ผู้บริหาร แต่งตั้งโดยคณะกรรมการบริหารวิทยาลัย แต่งตั้งโดยรัฐบาลกลาง
หลักสูตร ตามแนวทางสมรรถนะที่กำหนดโดยสมาคมอาชีพ เน้นให้ความรู้วิชาการและทักษะในอาชีพ โดยวิทยาลัย (กระทรวงศึกษาธิการ) เป็นผู้กำหนดหลักสูตร
เป้าหมายการพัฒนาบุคลากร ตามความต้องการของตลาดแรงงาน ตามความพร้อมในการจัดสอน
ผู้สอน มีประสบการณ์ในอาชีพ มีความรู้จากสถานศึกษาระดับมหาวิทยาลัย
การจัดการสอน ยืดหยุ่นด้านเวลาและสถานที่ เป็นแบบแผนตามระเบียบ

เมื่อเปรียบเทียบอาชีวศึกษาไทยกับอังกฤษ จะเห็นความแตกต่างที่สำคัญ ได้แก่ วิธีการบริหารจัดการที่ในประเทศอังกฤษ มีลักษณะที่เรียกว่า Demand Side มากกว่า คือ ตอบสนองความต้องการของภาคธุรกิจได้มากกว่า (แม้จะไม่ 100% เหมือนสถานประกอบการจัดการฝึกอบรมเอง) ส่วนของไทย อาชีวศึกษายังมีลักษณะที่เรียกว่า Supply Side ที่สถานศึกษาและภาคราชการ ยังเป็นผู้กำหนดหลักสูตร ระยะเวลา สาขาที่เปิดสอน การประเมินผล ที่ไม่ตอบสนองภาคธุรกิจอย่างที่ควรจะเป็น

www.CBTthailand.com

หมายเลขบันทึก: 586906เขียนเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2015 21:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2015 21:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท