การอบรมแบบสมรรถนะ ถาม-ตอบ


ทำไมต้องเปลี่ยนรูปแบบการฝึกอบรมในประเทศไทย?

การอบรมแบบสมรรถนะ ถาม-ตอบ

ถาม : ทำไมประเทศไทยต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการฝึกอบรมใหม่

ตอบ : จากประสบการณ์ 25 ปี ในการฝึกอบรมทั้งในการทำงานกับหน่วยราชการและเป็นผู้บริหารศูนย์ฝึกอบรม ของภาคเอกชน ทำให้ได้มีโอกาสเกี่ยวข้องกับทุกกระบวนการของการฝึกอบรม ตั้งแต่การจัดทำโครงการ ออกแบบหลักสูตร บริหารงบประมาณ การสอน การประเมินผล จนถึงการประเมินผลสำเร็จโครงการ ผมพบว่าการฝึกอบรมมีผลสำเร็จออกมาน้อยมาก ความสำเร็จในที่นี้ไม่ได้หมายถึงความพึงพอใจที่ผู้เข้ารับการสอนได้รับเมื่อการอบรมสิ้นสุด แต่ความสำเร็จของผมหมายถึง การที่ผู้ผ่านการอบรมนำเอาสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปทำงานได้จริง เป็นการนำความรู้เอาไปช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้หน่วยงาน เพิ่มผลผลิต ลดการสูญเสีย สร้างกำไรหรือผลประโยชน์ให้หน่วยงาน แต่ความสำเร็จที่ผมคาดหวังนี้เกิดขึ้นน้อยมากเมื่อได้ติดตามผลหลังฝึกอบรมเสร็จ จนกระทั่งมาเรียนรู้ การฝึกอบรมแบบสมรรถนะ

ถาม :การฝึกอบรมของเราส่วนใหญ่ มีข้อด้อยอย่างไรบ้าง

ตอบ : ส่วนใหญ่การฝึกอบรมในประเทศไทย ยังมีลักษณะที่ให้ความสำคัญกับผู้สอนมากไป การสอนขึ้นอยู่กับผู้สอนว่าจะกำหนดหัวข้ออย่างไร กำหนดวิธีการสอนเอง และมักจะเป็นหลักสูตรที่ สอนให้รู้ มากกว่าสอนให้ทำได้ ส่วนใหญ่ของหลักสูตรที่สอนจึงมักสอนในสิ่งที่ผู้สอน"อยากให้รู้" และไม่ให้ความสนใจกับการประเมินผลหลังผ่านการอบรมว่า ผู้เรียนเอาไปใช้ประโยชน์มากน้อยเพียงใด (เรียกว่าสนใจแต่ด้าน Supply Side มากกว่าด้าน Demand Side)

นอกจากนี้วิทยากรมักจะใส่เนื้อหาเข้าไปจำนวนมากในการสอน เช่นการสอนเรื่อง พัฒนาหัวหน้างาน มีหัวข้อย่อยที่ต้องสอนใน 6 ชั่วโมง ตั้ง 6-7 เรื่อง ตั้งแต่บทบาทหัวหน้างานยุคใหม่ จิตสำนึกของหัวหน้างาน ภาวะผู้นำ การสื่อสาร การสั่งงาน การบังคับบัญชา ฯลฯ ซึ่งเป็นไปไม่ได้เลยที่จะสอนให้ได้ดีทุกเรื่องในเวลาอันสั้น

ถาม : การอบรมแบบสมรรถนะ ดีอย่างไร

ตอบ : การอบรมแบบสมรรถนะ (Competency Based Training) มุ่งเพิ่มประสิทธิภาพการอบรมให้สูงขึ้นเพื่อให้ผู้ผ่านการอบรมสามารถทำงานได้ หรือมีสมรรถนะในการทำงานนั้นๆ โดยได้รับอิทธิพลแนวคิดมาจากกระแส Competency ที่มาแรงในทศวรรษที่ 80 โดยหลักการเบื้องต้นของการสอนแบบสมรรถนะ มีดังนี้

1. เป็นการสอนให้ผู้เข้ารับการอบรมทำได้ตามมาตรฐาน(Competency)ที่กำหนดไว้ในแต่ละงาน

2. ผู้สอนจัดทำหลักสูตรตามมาตรฐานที่ฝ่ายผู้ประกอบการ หรือสมาคมอาชีพเป็นผู้กำหนด

3. หลักสูตรถูกแบ่งออกเป็น Module สั้นๆ ที่จบในตัวเองและประเมินได้ทันที

4. ให้ความสำคัญกับการประเมินสมรรถนะผู้เรียนเมื่อผ่านการอบรมไปแล้ว

5. การประเมินไม่เน้นว่า ได้หรือตก แต่ประเมินว่าผ่าน/ไม่ผ่าน สิ่งที่ไม่ผ่านกลับมาขอประเมินได้ภายหลัง (เฉพาะที่ไม่ผ่าน)

6. รูปแบบการสอนจะไม่เน้นการบรรยาย การให้ทฤษฏี แต่เน้นการบรรยายประกอบกับกิจกรรมต่างๆ และมีการประเมินผู้เรียนตลอดเวลา

ถาม :การอบรมแบบสมรรถนะ สามารถใช้ได้กับทุกสาขาอาชีพไหม

ตอบ: ในยุคแรก ประเทศอังกฤษ นิยมเอาการสอนแบบนี้มาใช้กับการสอนในสาขาที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาทักษะ (Skill) เช่น พนักงานบริการในโรงแรม คนงานควบคุมเครื่องจักร ผู้ช่วยทันตแพทย์ พนักงานขายปลีก เป็นต้น ต่อมาได้มีการพัฒนาการสอนมาใช้กับหลักสูตรทางด้านการบริหารด้วย หัวหน้างาน ผู้จัดการ (เช่น หลักสูตร ภาวะผู้นำ การจัดทำงบประมาณ การบริหารสินทรัพย์ขององค์กร การสอนงาน เป็นต้น)

ถาม : ประโยชน์ที่จะได้จากการอบรมแบบสมรรถนะ คืออะไร

ตอบ : การอบรมแบบสมรรถนะ มีปรัชญาสำคัญคือการอบรมที่เน้น Output หรือการอบรมที่ต้องได้ผลลัพท์ ไม่ใช่ได้แค่การอบรมเท่านั้น ดังนั้นประโยชน์ที่จะได้กับหน่วยงาน มีดังนี้

1. ผู้ผ่านการอบรมมีสมรรถนะสามารถทำงานได้จริง

2. เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้องค์กร

3. ลดความสูญเสียที่เกิดจากการทำงานผิดพลาด

4. ประหยัดงบประมาณในการอบรมเมื่อไม่ต้องเสียกับการอบรมที่ไม่มีคุณภาพ

5. พนักงานมีความพีงพอใจเนื่องจากสามรถทำงานได้จริง ไม่ถูกตำหนิจากหัวหน้างาน

ถาม : ขอให้ยกตัวอย่าง ความแตกต่างหลักสูตรแบบเดิม กับ หลักสูตรแบบสมรรถนะ

ตอบ : ตัวอย่างเช่น หลักสูตรแบบเดิม Managerial Skills For Manager (6 ชม.)

1.ทักษะด้านการวางแผนงานและการบริหารเวลา

- แผนสามระดับกับผู้บริหาร

- ทำหนึ่งวันให้มากกว่า 24 ชั่วโมง :เทคนิคที่ผู้จัดการต้องรู้

- กฏเกณฑ์สู่ความสำเร็จในการบริหารเวลา

2.ทักษะด้านการแก้ไขปัญหาและการตัดสินใจ

- แก้ปัญหาและตัดสินใจอย่างมืออาชีพ

- รับมือและแก้ปัญหาด้วยการมองแง่ดี

3.ทักษะด้านการพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพงาน

- แนวคิดเกี่ยวกับการทำงานให้มีประสิทธิภาพ

- แนวคิดเกี่ยวกับการปรับปรุงคุณภาพงาน

- ECRS เครื่องมือสำคัญในการปรับปรุงคุณภาพงาน

ตัวอย่างหลักสูตรแบบสมรรถนะ การบริหารเวลา (6 ชม.)

  1. กำหนดเป้าหมายการทำงานในแต่ละวัน
  2. วางแผนการทำงานโดยกำหนดความสำคัญของแต่ละงาน
  3. กำหนดวิธีการทำงานที่ใช้เวลาประหยัดที่สุด
  4. ตรวจสอบและประเมินการใช้เวลาแต่ละวัน เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานให้ดีขึ้น

ตอบ : เมื่อ 10 ปีที่แล้ว ผู้เชี่ยวชาญจากอังกฤษและออสเตรเลีย เคยมาให้คำปรึกษากับสมาคมอาชีพค้าปลีกและสมาคมอื่น เรื่องการจัดทำมาตรฐานอาชีพ และการจัดอบรมตามแนวทางนี้ ในสาขาอาชีพต่างๆ เช่น พนักงานขายปลีก สาขาอิเลกโทรนิคส์ สาขายานยนต์ สาขาแม่พิมพ์ ปัจจุบันยังพัฒนาในอีกหลายสาขาได้แก่ สาขาไอซีที สาขาบริการยานยนต์ สาขาข่างผม สาขาช่างดอกไม้ สาขาออกแบบแฟชั่น เป็นต้น

การอบรมแบบสมรรถนะ ถาม-ตอบ

ดูเพิ่มเติมที่ ww.CBTthailand.com

หมายเลขบันทึก: 586858เขียนเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2015 20:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มีนาคม 2015 02:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท