งานวิจัยกับความหมายและคุณลักษณะของตัวแปร(อาจารย์สุภัชชา พันเลิศพาณิชย์)


งานวิจัยกับความหมายและคุณลักษณะของตัวแปร

อาจารย์สุภัชชา พันเลิศพาณิชย์

ความหมาย

ตัวแปร (variables) หมายถึง คุณสมบัติหรือคุณลักษณะ หรือปรากฏการณ์ของสิ่งต่าง ๆ ที่

ผู้วิจัยต้องการจะศึกษาหาความจริง ซึ่งอาจจะเป็นสิ่งที่มีชีวิตหรือไม่มีชีวิตก็ได้ เช่น คน วัตถุสิ่งของ

สัตว์ พืช ครอบครัว ขนาดธุรกิจ หรือเหตุการณ์ต่าง ๆ เป็นต้น ตัวแปรจะต้องมีค่าเปลี่ยนได้อย่าง

น้อยตั้งแต่ ๒ ค่าขึ้นไป เช่น คน (เพศ อายุ การศึกษา รายได้) เพศ สามารถแปรได้เป็นหญิงและชาย,

อายุ สามารถแปรได้เป็นกลุ่มตามที่ผู้วิจัยกำหนด เช่น ต่ำกว่า ๒o ปี, ๒o – ๒๙ ปี๓o – ๓๙ ปี และ ๔oปีขึ้นไป, ขนาดธุรกิจ อาจแปรได้เป็น ธุรกิจขนาดเล็ก ธุรกิจขนาดกลาง และธุรกิจขนาดใหญ่ เป็นต้นคุณสมบัติของสิ่งใดก็ตาม ถ้าเป็นได้อย่างเดียวคุณสมบัตินั้นก็ไม่เป็นตัวแปร เช่น ความสูงของคน ถ้า

ทุกคนสูงเท่ากันหมด ความสูงก็จะไม่เป็นตัวแปรหรือรายได้ของผู้บริโภค ถ้ารายได้เท่ากันหมดก็ไม่เป็น

ตัวแปร เป็นต้น (นภาภรณ์ จันทรศัพท์, ๒๕๔๗ : หน้า๗๒)

ลักษณะของตัวแปร

ลักษณะของตัวแปรสามารถแบ่งออกได้เป็น ๒ ลักษณะ คือ

๑.ตัวแปรรูปธรรม (Concept) หมายถึงตัวแปรที่แสดงความหมายในลักษณะ

ที่คนทั่วไปรับรู้ได้ตรงกันหรือสอดคล้องกัน ตัวแปรประเภทนี้มักเป็นตัวแปรที่เป็นรูปธรรม เช่น เพศ

อายุ ความสูง เชื้อชาติ อาชีพ ระดับการศึกษา เป็นต้น

๒.ตัวแปรนามธรรม (Construct) หมายถึง ตัวแปรที่แสดงความหมายในลักษณะเฉพาะตัวบุคคล คนทั่วไปอาจรับรู้ได้ตรงกันหรือไม่ตรงกันก็ได้ ตัวแปรประเภทนี้มักเป็นตัวแปรที่เป็นนามธรรม ตัวแปรลักษณะนี้ บางครั้งเรียกตัวแปรสมมติฐาน (hypothetical variable) เช่นความวิตกกังวล ความเกรงใจ ทัศนคติ ความเป็นผู้นำ แรงจูงใจ เป็นต้น ตัวแปรในลักษณะที่ ๒ นี้สังเกตโดยตรงไม่ได้ ต้องอาศัยเครื่องมือบางอย่างในการวัด ตัวแปรในลักษณะนี้จึงต้องนิยามให้ชัดเจนและต้องระบุด้วยว่าวัดได้อย่างไร

ความหมายและชนิดของตัวแปร

๑. ตัวแปรอิสระ (independent variable) หมายถึงตัวแปรที่เกิดขึ้นก่อนและเป็นตัวเหตุทำให้เกิดผลตามมาตัวแปรอิสระ อาจเรียกชื่อได้ว่า ตัวแปรทดลอง หรือตัวแปรที่จัดกระทำขึ้น

(treatment variable or manipulated variable มักแทนด้วยสัญลักษณ์ x)

๒.ตัวแปรตาม (dependent variable) หมายถึงตัวแปรที่เกิดขึ้นเนื่องจากตัวแปรอิสระ หรือกล่าวได้ว่า เป็นตัวแปรที่เป็นผลเมื่อตัวแปรอิสระเป็นเหตุตัวอย่างของตัวแปรทั้ง 2 ชนิดนี้ เช่น การที่ผู้ชายกับผู้หญิงมีพฤติกรรมบริโภคแตกต่างกัน เช่นนี้กล่าวได้ว่า เพศเป็นตัวแปรอิสระ และพฤติกรรมบริโภค เป็นตัวแปรตามหรือการที่คนมีคุณวุฒิต่างกัน เช่น คนมีคุณวุฒิต่ำกว่าปริญญาตรีกับคนมีคุณวุฒิสูงกว่าปริญญาตรีทำงานมีประสิทธิภาพต่างกัน เช่นนี้ กล่าวได้ว่า วุฒิเป็นตัวแปรต้น และประสิทธิภาพในการทำงาน

เป็นตัวแปรตาม เป็นต้น

๓.ตัวแปรแทรกซ้อนหรืออาจเรียกว่าตัวแปรเกิน (extraneous variable)เป็นตัวแปรที่ไม่ต้องการศึกษาของงานวิจัยเรื่องหนึ่ง ๆ ในขณะนั้น มีลักษณะเหมือนตัวแปรอิสระ ตัวแปรแทรกซ้อนนี้จะส่งผลมารบกวน ตัวแปรอิสระที่ศึกษา ทำให้ผลการวัดค่าตัวแปรคลาดเคลื่อนไปได้ตัวแปรชนิดนี้จึงต้องทำการควบคุมให้เกิดขึ้นน้อยที่สุด ตัวแปรชนิดนี้ผู้วิจัยคาดการณ์ได้ว่าจะมีอะไรบ้าง จึงสามารถทำการควบคุมได้ล่วงหน้ตัวอย่าง เช่น ในการทดลองขาย ๒ วิธี เพื่อจะดูว่ายอดขายแตกต่างกันหรือไม่ สิ่งที่เป็นตัวแปรแทรกซ้อนจะได้แก่ ผู้ขาย ถ้าใช้ผู้ขายคนละคนอาจมีผลทำให้ยอดขายต่างกันได้ ดังนั้นจึงต้องควบคุมโดยใช้ผู้ขายคนเดียวกัน นอกจากนี้ พื้นฐานของผู้บริโภคเช่น ทัศนคติและความสนใจของผู้บริโภคที่มีต่อวิธีการขาย เพศของผู้บริโภค เป็นต้น สิ่งเหล่านี้เป็นตัวแปรแทรกซ้อน ผู้วิจัยจะต้องทำการควบคุมตัวแปรเหล่านี้ให้เกิดมีขึ้นน้อยที่สุด เพื่อให้ตัวแปรตามที่วัดเกิดจากการกระทำของตัวแปรอิสระแต่เพียงอย่างเดียว ผลวิจัยจึงจะถูกต้องมากที่สุด

๔.ตัวแปรสอดแทรก (intervening variable) เป็นตัวแปรอีกชนิดหนึ่งที่ส่งผลกระทบต่อตัวแปรตามคล้าย ๆ ตัวแปรแทรกซ้อน แต่มีลักษณะต่างกันตรงที่ว่าตัวแปรชนิดนี้ ผู้วิจัยไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่า มีอะไรบ้างและจะเกิดขึ้นเมื่อใด จึงไม่สามารถหาทางควบคุมได้ เช่น ความวิตกกังวล ภาวะของสุขภาพ ความคับข้องใจ ความตื่นเต้น ภาวะทางเศรษฐกิจ เป็นต้น ตัวแปรชนิดนี้มักจะเกิดขึ้นเนื่องจากกระบวนการ ทางจิตวิทยา ภาวะทางเศรษฐกิจและสังคม (พวงรัตน์ ทวีรัตน์, ๒๕๔o : หน้า ๔๔ – ๔๕)

สรุป ตัวแปรคือคุณลักษณะหรือสภาวการณ์ต่างๆที่แบ่งออกเป็นพวกหรือเป็นระดับหรือมีได้หลายค่า เช่นเพศเป็นตัวแปรหนึ่งแบ่งออกเป็นเพศชายและเพศหญิงหรือเรื่องผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ที่มีทั้งผลการเรียนสูง ผลการเรียนต่ำหรือปานกลางแล้วแต่บุคคลแต่จะไม่มีผลสัมฤทธิ์ในเรื่องนั้นหลายระดับหรือหลายค่าในขณะเดียวกัน

-ตัวแปรที่มีลักษณะจัดเป็นพวก ได้แก่ วิธีสอน เพศ อาชีพ เชื้อชาติ ศาสนา

-ตัวแปรที่มีคุณลักษณะจัดเป็นระดับ ได้แก่ วัย (ทารก เด็ก วัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ และวัยชรา) ระดับสติปัญญา(สูง กลาง ต่ำ) ขนาดโรงเรียน(พิเศษ ใหญ่ กลาง เล็ก)

ตัวแปรที่มีค่าได้หลายค่า เช่นผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ไม่ว่า ด้านพุทธิวิสัย ด้านจิตพิสัย และด้านทักษะพิสัยที่สามารถวัดออกมาในรูปแบบของคะแนนทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเครื่องมือเป็นสำคัญ

ตัวแปรบางตัวมีค่าได้หลายค่าเช่นในการวิจัยผู้วิจัยจัดออกเป็นระดับ อย่างเช่นประสบการณ์ในการทำงาน อายุ รายได้

ประเภทตัวแปรมีหลายประเภท ดังนี้

ก.ตัวแปรอิสระหรือมีชื่อเรียกอีกหลายชื่อเช่น ตัวแปรต้น ตัวแปรจัดกระทำ ตัวแปรเร้า ตัวแปรป้อน เป็นต้น

สาเหตุในการเรียกชื่อตัวแปรที่ต่างกัน

-ที่เรียกว่า ตัวแปรอิสระเพราะว่าตัวแปรชนิดนี้ไม่ขึ้นกับตัวแปรตามและสันนิษฐานได้ว่า ตัวแปรอิสะคือสาเหตุมีอิทธิพลต่อตัวแปรตาม

-ที่เรียกว่า ตัวแปรจัดกระทำ ใช้เรียกตัวแปรในกรณีวิจัยเชิงทดลองถ้ากรณีผู้วิจัยจัดสภาพระดับความเข้มข้น เช่น ตัวแปรอิสระเป็นวิธีสอน ผู้วิจัยจะใช้วิธีสอนต่างกัน

-ที่เรียกว่าตัวแปรเร้า เนื่องจากตัวแปรเร้าให้เกิดการตอบสนอง เช่นในการสอนใช้วิธีการสอนเป็นตัวเร้าให้ผู้เรียนมีพฤติกรรมที่จะช่วยให้เกิดการเรียนรู้

-ที่เรียกว่าตัวแปรป้อน เป็นการเรียกในการวิจัยเชิงทดลอง

ข.ตัวแปรตามหรือตัวแปรผลหมายถึงขึ้นอยู่กับผลกับหรือเปลี่ยนแปลงไปตามตัวแปรอิสระหรือได้รับอิทธิพลหรือผลจากตัวแปรอิสระจึงเรียกอีกชื่อว่าตัวแปรผลเช่นผลจากการเรียนรู้ เป็นต้น

ค.ตัวแปรสอดแทรกหรือตัวแปรแทรกซ้อนเป็นตัวแปรที่เกิดขึ้นระหว่างการทดลอง เช่น การรับรู้ ความต้องการ ความรู้สึก แรงจูงใจ ความวิตกกังวล เป็นต้น

ง.ตัวแปรเกินหรือตัวแปรภายนอกคือตัวแปรที่ผู้วิจัยไม่ได้มุ่งศึกษาผลของตัวแปรนั้นและไม่ได้ควบคุม แต่อาจมีอิทธิพลต่อตัวแปรตามทำให้ข้อสรุปขาดความเที่ยงตรง ตัวอย่างเช่น การทดลองเพื่อเปรียบเทียบวิธีสอน ๒ วิธี ว่าวิธีการใดจะช่วยให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่า ตัวแปรอิสระคือวิธีการสอน ตัวแปรตามคือผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ตัวแปรภายนอกที่อาจส่งผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคือ สติปัญญา ทั้งนี้ผู้วิจัยสามารถควบคุมตัวแปรเกินได้โดยใช้วิธีสุ่มตัวอย่าง

และตัวแปรที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ เช่น เพศ อายุ เชื้อชาติ เป็นต้น(บุญชม ศรีสะอาด การวิจัยเบื้องต้น ฉบับพิมพ์ครั้งที่๙ แก้ไข เพิมเติม สุวีริยาสาส์น ๒๕๕๔หน้า๒๗-๒๙)

หมายเลขบันทึก: 586708เขียนเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2015 23:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2015 23:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท