ชื่อเรื่อง การศึกษาเรื่อง ปัญหาโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา
ผู้จัดทำ นางสาว ปฐมาวดี สุนทรสุวรรณ์
ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 4
ครูที่ปรึกษา ครูอภินันท์ สีสันต์
โรงเรียน ท่ามะกาวิทยาคม
ปีการศึกษา 2557
บทคัดย่อ
การศึกษาค้นคว้า เรื่อง ปัญหาโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลามีวัตถุประสงค์ในการศึกษาค้นคว้า
4 ประการ คือ 1. เพื่อศึกษาความเป็นมาและความสำคัญของโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา 2. เพื่อศึกษาผลกระทบของปัญหาโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา 3. เพื่อศึกษาแนวทางการป้องกันของปัญหาโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลาในแต่ละประเทศ 4. เพื่อศึกษาความคิดเห็นของบุคคลทั่วไปเกี่ยวกับปัญหาโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา
การศึกษาค้นคว้า เรื่อง ปัญหาโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา มีวิธีการศึกษาค้นคว้าดังนี้ คือ
ความเป็นมาของโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา ผลกระทบของปัญหาโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา และแนวทางการป้องกันของปัญหาโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลาในแต่ละประเทศ ศึกษาจากเอกสาร ตำรา บทความ หนังสือพิมพ์ และอินเทอร์เน็ต โดยใช้เครื่องมือ คือ แบบบันทึกข้อมูล การศึกษาความคิดเห็นของบุคคลทั่วไปที่มีต่อปัญหาโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา ศึกษาจาการสัมภาษณ์จากกลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชน
ในอำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 60 คน โดยใช้เครื่องมือ คือ แบบสัมภาษณ์ แล้วนำมา
เรียบเรียง และนำเสนอผลการศึกษา โดยใช้สถิติ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย
ผลการศึกษาพบว่า 1. โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา ได้ปรากฏขึ้นเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2519
ซึ่งเชื่อกันว่าค้างคาวผลไม้ น่าจะเป็นแหล่งรังโรค 2. ผลกระทบ คือ ส่งผลให้เกิดการสูญเสียสมาชิกครอบครัว เกิดการขาดแคลนแรงงาน ขาดแคลนอาหาร มีเด็กกำพร้าจำนวนมาก 3. แนวทางป้องกันของแต่ละประเทศ คือ มีการงดเดินทาง เฝ้าระวัง และกักตัวผู้ที่มาจากประเทศที่มีการระบาด 4. ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อปัญหาโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา จากการสัมภาษณ์ พบว่า ความคิดเห็นของประชาชนทั่วไปต่อปัญหาโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา คือ เห็นว่าสาเหตุของการระบาดที่เพิ่มมากขึ้นเนื่องจากประชาชนขาดความรู้ในการป้องกันโรค โดยรวมอยู่ในระดับมาก (X=3.98)
ดิฉันคิดว่าเป็นการศึกษาในเรื่องที่ดีเพราะจะได้ป้องกันการเกิดโรค และควรศึกษาให้ลึกกว่านี้และเผยแพร่ไปในหลายๆช่องทางเพื่อเป็นแนวทางให้กับคนที่สนใจศึกษาต่อในเรื่องนี้