หลักสูตร ตอนที่ 3: รู้ไหม อะไรคือ Big Idea



หลักสูตร ตอนที่ 3: รู้ไหม อะไรคือ Big Idea


เฉลิมลาภ ทองอาจ

โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม



ผมเคยถามนิสิตที่มาฝึกปฏิบัติการสอนว่า "เธอสอนเรื่องนี้ไปทำไม"

รู้ไหมครับ นิสิตตอบว่าอะไร

"เพราะมันอยู่ในประมวลรายวิชาค่ะ"

ผมพยักหน้ารับ เธอดูท่าทางยินดีและตอบเพิ่มอีกว่า

"เพราะนักเรียนจะต้องใช้สอบค่ะ"

ผมพยักหน้ารับอีกหนึ่งที แล้วก็ไม่พูดอะไรกับเธอแล้วให้เธอไปเขียนแผนเสีย

ผมอยากจะเห็นแผนการจัดการเรียนรู้ ที่นิสิตไม่รู้ว่า "ความคิดใหญ่" (ฺBig Idea) ในเรื่องที่ตนเองจะสอนคืออะไร

Jay McTighe นักการศึกษาที่มีชื่อเสียง ผู้วางแนวคิด Backward Design

เขียนไว้อย่างน่าสนใจว่า มีการวิจัยที่พบทั้งจากในวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ว่า

ครูส่วนหนึ่ง

สอนวิชาเหล่านั้น โดยไม่รู้ว่า อะไรคือความคิดใหญ่ ไม่รู้ว่าอะไรคือแก่นที่จะต้องกล่าวถึง

ไม่รู้ว่าอะไร คือ สิ่งที่เด็กจะต้องมีอยู่ หรือจำได้ หลังจากเรียนวิชานั้นไปแล้ว (นานๆ )

เพราะความคิดใหญ่ จะนำไปสู่คำถามอันเป็นแก่นสาระสำคัญ (essential questions)

ที่ในคาบนั้นต้องถาม ไม่ถามไม่ได้ ไม่ถามคือไปไม่ถึงเรื่องที่สอน

คำถามว่า เธอสอนเรื่องนี้ไปทำไม สอนไปเพื่ออะไร และต้องการให้เด็กรู้หรือเกิดอะไร

จึงเป็นคำถามอันเป็นสาระสำคัญของการฝึกหัดครูครับ

และในหลักสูตร จะต้องเขียนสิ่งอันเป็นความคิดใหญ่ ความคิดสำคัญ หรือแก่นของเรื่อง

เพราะหากผู้สอนไม่ทราบแก่น

แต่มัวไปสอนแต่เปลือก หรือรายละเอียดที่ไม่จำเป็น

ผลที่จะตามมาคือความสูญเปล่า !

และความสูญเปล่าทางการศึกษาเช่นว่านี้ คนเป็นครูนี่แหล่ะครับ ที่จะต้องรับผิดชอบ

____________________________________________________________


หมายเลขบันทึก: 586296เขียนเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2015 17:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2015 17:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สำคัญมากเลยครับ

นิสิตต้องชัดเจนว่าอะไรคือประเด้นหลัก

ขอบคุณมากครับอาจารย์

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท