การจัดการอาหารกลางวันเด็กของ อบต.บางเสาธง #ขับเคลื่อนนโยบาบโภชนาการสมวัย


นายบุญชู ประมาตร ผอ.กองการศึกษา อบต.บางเสาธง

โครงการอาหารกลางวันของ อบต.บางบ่อ สำหรับศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทั้ง 5 ศูนย์ที่เราดูแล มีเด็กในการดูล 200 กว่าคน เราทำด้วยงบของ อบต. ศักยภาพของเราทำได้ ไม่เคยได้รับงบสนับสนุนจากหน่วยงานอื่น เราดูตามแลคุณภาพชีวิตมาตรฐานของศูนย์อนามัย แต่ก็มีในส่วนที่ต้องประสาน รพสต. เช่น การตรวจสุขภาพ เราดูแลเด็กตามมาตรฐานของแต่ละกระทรวง โครงสร้างอาจจะดูเรื่องของมหาดไทย และสาธารณสุข ศูนย์ปลอดโรคก็จะทำมาเสริมให้

ตอนนี้มีทั้งหมด 5 ศูนย์ ซึ่งแต่ละศูนย์ตั้งกระจาย เราดูแลทั้ง 2 ฝั่ง คือ ฝั่งเขตเกษตรกรรม และเขตอุตสาหกรรม อย่างเส้นบางนา-ตราด ซึ่งไม่เหมือนทื่อื่นที่มีน้อยทำให้ดูแลง่าย อย่างไรก็ดีพื้นที่ห่างกันขนาดนี้เราก็มีกองกาศึกษาดูแลเป็นศูนย์กลาง แต่ละศูนย์มีหัวหน้าศูนย์ดูแล มีขอบเขตการทำงานที่ชัดเจน แบ่งโซนการรับผิดชอบ

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กของเราดูแลคนนอกพื้นที่มากกว่าคนในพื้นที่เพราะมีโรงงานเยอะ เราก็ต้องดูแลเหมือนเด็กทั่วไป ให้รับทั่วไปตามหลักมนุษยธรรมไม่เช่นนั้นอาจจะเกิดปัญหาสังคมตามมา จำนวนเด็กมีเท่าไหร่ก็คิดตามอัตรา ซึ่งตอนแรกพ่อแม่ก็ไม่เชื่อใจ กลัวว่าเราจะไม่ดูแลเหมือนเด็กไทย ซึ่งเราก็ดูแลเหมือนเด็กไทย

เด็กต้องผ่านเกณฑ์ทุกศูนย์ ทุกคนต้องช่วยกันเราจะช่วยกันหมด ไม่ทอดทิ้ง ต้องไปด้วยกัน ตัวชุมชนเองก็จะต้องเข้ามามีบทบาทในการสอดส่องดูแล เพราะบริบทเรายังเป็นชุมชนชานเมือง แต่ตัว อบต.บางเสาธง บางส่วนเป็นเขตเมือง อาจจะตัวใครตัวมัน แต่การดูแลลูก การช่วยเหลือแต่ละศูนย์อาจจะต่างกันกันออกไป แล้วแต่ความเหมาะสมของบริบทพื้นที่นั้นๆ จะสรุปได้ไม่ทั้งหมดว่าทั้งหมดจะต้องเป็นแบบนั้นแบบนี้ทั้งหมด ศูนย์ยิ่งเล็กต้นทุนอาหารต่อมื้อจะน้อยมาก ที่เราทำได้เพราะเราอาศัยอยู่ใกล้กับโรงเรียนใหญ่ สพฐ. อาหารกลางวันไปอิงด้วย อย่างมี 10 คนค่าอาหาร 200 บาทก็ทำไม่ได้ เราก็ให้นักการภารโรงกับครูทำ รวมเป็น 100 คน กับนักเรียน สพฐ. เราโชคดีเจอแต่คนที่ดีๆ ให้ความร่วมมือ จิตอาสาช่วยทำอาหารให้เด็กในงบ 200 บางบ้านก็จะเอาของมาให้ สมัยก่อนงบต่อหัว 13 บาท นั้นบางครั้งขาดทุน

กรณีเรื่องของ ครัวกลางในระเบียบทำได้ แต่บริบทในพื้นที่ของเราทำไม่ได้ สภาพพื้นที่ไม่เอื้ออำนวยด้วยความเป็นเขตเมืองและชนบท ก็จะพบปัญหาการจราจรติดขัด

การจัดการศึกษาถ้าให้ท้อถิ่นงบริหารโรงเรียนเอง ก็จะดูแลได้ดีกว่าผ่านกระทรวง การแบ่งความสำคัญงบประมาณแต่ละกองไม่ได้เจาะจง เราทำไหวแค่ไหน ขอนายกฯไปก็ให้เท่านั้น เราก็ต้องทำข้อบัญญัติงบประมาณ ด้านคุณภาพชีวิต โครงสร้าง นานๆ ที ส่วนใหญ่เป็นเรื่องงบค่าใช้สอยในศูนย์ นม อาหารกลางวัน ให้กับโรงเรียน สพฐ. ด้วย

เราจะเน้นการเตรียมพร้อมเด็ก ใน 3 ขวบ ให้มีความพร้อมทุกด้านเพื่อการศึกษาชั้นสูงต่อไป ก็จะบอกพ่อแม่ว่าอย่าคิดหวังว่าลูกจะอ่านออกเขียนได้ ไม่ใช่บริบทของเรา แต่ถ้าลูกกลับไปแล้วอารมณ์ดี แจ่มใส่ เติบโตตามวัย นี่คืองานของเรา ไม่ต้องไปเร่งเด็กให้เรียนเร็ว เน้นเด็กมีความสุขมากกว่า

นายเกษม แซ่ลี้ นายก อบต.บางเสาธง

ไม่ได้กำหนดนโยบายเรื่องโภชนาการเท่าไหร่ แต่มอบหมายให้กองศึกษาจัดการ เน้นความสะอาด แม่ครัว อาหารครบ 5 หมู่ไหม คืน แต่ละพื้นที่รสชาดอาหารก็ไม่เหมือนกัน ตำบลข้างเคียงยังกินไม่เหมือนกัน แม่ครัวต้องทำอาหารให้กินได้ทุกคน แม่ครัวเราเน้นอยู่ใกล้กับศูนย์ เป็นคนในพื้นที่ เหมือนทำกับข้าวให้ลูกหลานเขากิน ต้องมีใจทำให้ลูกหลานเข้ากิน บางช่วงก็มีกองสาธารณสุขไปตรวจ

อย่างไรก็ดีตอนนี้เราได้ทำศูนย์เด็กเล็กแห่ใหม่ขนาด 9 ห้องเรียน รองรับเด็กได้ 200 กว่าคน ให้พาเด็กมาฝากไว้กับเรา แต่อยากบอกว่าใครอยู่ใกล้ไหนก็เรียนที่นั่น ให้ลูกหลานได้เรียนครบดีกว่า ของที่เราใช้สำหรับเด็กดีกว่าเอกชนด้วยซ้ำ

ในเรื่องการประมูลอาหารเป็นเพียงระเบียบ คนที่คิดว่าจะมาทำตรงนี้ต้องพร้อมทำให้เด็ก ถ้าไม่พร้อมเดี๋ยวก็เลิก ต้องมีใจรัก เสียสละ

เราเป็น อบต.ขนาดใหญ่ มีรายได้ปีละ 300 ล้าน แต่ใช้งบได้ไม่ได้ ถ้าระเบียบจัดการดีกว่านี้เราสามารถดูแลเราได้เอง แต่เพราะติดขัดระเบียบทำให้บางอย่างไม่อาจทำได้

หมายเลขบันทึก: 586250เขียนเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2015 21:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2015 21:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

_สวัสดีครับ.ตามมาเชียร์นโยบายครับ..

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท