เขียนข่าวนั้นไม่ยาก แต่ที่ยาก...


เขียนข่าวนั้นไม่ยากหากฝึกฝน แต่...เขียนอย่างไรจึงจะประสบความสำเร็จได้รับการลงพิมพ์เผยแพร่

ตอน  เขียนข่าวนั้นไม่ยาก  แต่ที่ยาก...

 เหล่าคนเขียนข่าวทั้งหลายต่างทราบกันดีว่า  ข่าวที่ดีนั้น  ต้องมีองค์ประกอบสำคัญ     อันประกอบด้วย  ใคร  ทำอะไร  ที่ไหน  เมื่อไร  อย่างไร  และทำไม  ต่างทราบกันดีว่ารูปแบบการเขียนข่าวนั้นมีด้วยกันหลายรูปแบบ    มีทั้งแบบปิรามิดหัวตั้ง  ปิรามิดหัวกลับ  และแบบผสมผสาน  ต่างทราบกันดีว่าข่าวที่ดีนั้นนอกจากจะมีองค์ประกอบครบถ้วนมีถูกต้องแล้ว  ข่าวยังต้องมีความสด  ทันต่อเหตุการณ์  เขียนได้น่าอ่านไม่วกวนจึงจะได้รับความสนใจ 

แล้วเคยมีบ้างไหมที่พบว่าทั้งที่ข่าวมีองค์ประกอบครบถ้วนอันเป็นคุณลักษณะของข่าวที่ดี  มีความรวดเร็ว  สดใหม่  น่าสนใจ  หรือทั้งที่บทความเรื่องนั้นเขียนได้ดีมาก  แต่ไม่ได้รับการลงพิมพ์เผยแพร่

จากที่ได้สังเกตเท่าที่ประสบการณ์การเป็นผู้นั่งเขียนข่าว  (ตัวเล็ก ๆ  และก็ข่าวเล็ก ๆ)  มาตั้งแต่จบออกจากรั้ววิทยาลัยครูสวนดุสิต  (ตอนนั้นยังไม่เป็นสถาบันราชภัฏ  และมหาวิทยาลัยราชภัฏดังเช่นปัจจุบัน)  และโชคดีทีได้ทำงานในสาขาวิชาที่จบมาโดยตรง  หน่วยงานแรกที่ได้มีโอกาสเข้าไปสัมผัสนั้นเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบประสานการแก้ไขปัญหาด้านการจราจรทั้งในกรุงเทพมหานคร  ปริมณฑล  และ  5  เมืองใหญ่ของประเทศ    ที่อยู่ในข่ายเมืองที่ประสบปัญหาด้านการจราจร  หน่วยงานปัจจุบันเป็นสถาบันการศึกษา  จากบทบาท     หน้าที่ความรับผิดชอบของหน่วยงานที่มีความแตกต่างกัน  จากการที่ต้องติดต่อประสานกับผู้สื่อข่าวแขนงต่าง ๆ  จากการที่ต้องย้ายหน้าส่งข่าวจากหน้าจราจร  หน้าการเมืองมาเป็นหน้าการศึกษา  และจากการเป็นผู้อ่านจึงสังเกตเห็นว่า    ในความเป็นหนังสือพิมพ์เหมือนกันนั้นจะมีความแตกต่างกัน  ไม่ว่าจะเป็นรูปลักษณ์  จุดยืนการนำเสนอข่าวสาร  หรือแม้กระทั่งรูปแบบการนำเสนอ  เราคงต้องศึกษาหรือพิจารณาสักนิดว่า

·       หนังสือพิมพ์ที่เราจะส่งข่าวนั้นเป็นหนังสือพิมพ์ประเภทใด    

·       คอลัมน์ที่เราจะส่งบทความ  หรือข่าวเผยแพร่นั้นมีรูปแบบการนำเสนอแบบไหน

·     หากจะเขียนลงคอลัมน์ที่หมายตาไว้  ข่าว  หรือบทความจะต้องมีความยาวเท่าใด จึงเหมาะสมกับพื้นที่คอลัมน์  คือ  ไม่สั้นจนทำให้เสียรูปคอลัมน์และไม่ยาวจนเกินไปเป็นหลายหน้า

·     ข่าวที่เราเขียนเป็นข่าวเกี่ยวกับอะไร  และพิจารณาส่งให้เหมาะสมกับหน้ารับผิดชอบของหนังสือพิมพ์แต่ละฉบับ  เช่น  ข่าวของเราเป็นข่าวเกี่ยวกับการศึกษาแต่กลับไปส่งข่าวให้กับหน้าบันเทิง  เป็นต้น

เห็นไหมว่าการเขียนข่าวนั้นไม่ยากหากได้รับการฝึกฝน  แต่เขียนอย่างไรจึงจะประสบความสำเร็จได้รับการลงพิมพ์เผยแพร่                                

การรู้จักประเมินสถานการณ์ก็เป็นสิ่งจำเป็นเช่นกัน...

จำเป็นอย่างไร  แหม...หน้ากระดาษหมดเสียแล้ว  เอาไว้โอกาสหน้าป้าจะเล่าให้ฟัง 

ป้าเม้า



ความเห็น (5)
เคยเขียนแต่บทความ ข่าวที่ดูเหมือนจะเป็นข่าว แต่พอมาอ่านบันทึกของป้าเม้าแล้ว องค์ประกอบที่เึคยเขีัยนไม่ครบจริงๆด้วย

โอกาสหน้าคงจะได้รับการถ่ายทอดกลยุธในการเขียนบทความในลักษณะต่าง ๆ จากนายบอนบ้างนะคะ

  • ชอบเขียนบทความ
  • เขียนเรื่องสั้นครับผม
  • เรื่องสั้นของอาจารย์ที่เขียนลงในบล๊อกอ่านสนุกค่ะ
  • บางตอนนั่งอ่านแล้วยังยิ้มไปด้วย

อยากเขียนข่าวให้เป็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท