เห็น "คน" พิการ


ดีใจมากที่ได้รับโอกาสให้มาร่วมงานกับทีมผู้ร่วมเวทีที่ทำงานกับคนพิการ

เป็นกลุ่มที่ถึงพร้อมมาก สังเกตจากจังหวะการเต้นและการหายใจของตัวเอง

ค่อนข้างสม่ำเสมอ สบาย ๆ ผ่อนคลาย ไม่มีภาวะให้รู้สึกว่าจะเต้นขึ้นเร็วขึ้น

ยกเว้น ตอนพากย์เสียงบางกิจกรรม ที่ต้องการเร่งจังหวะกระชั้นให้ผู้ร่วมเวทีตื่นตัว .... อันนั้น จงใจนะคะ

(ภาวะสังขารไปล่วงหน้ากว่าวัยจริง กลายเป็นเหนื่อยง่ายไปนิด อิ อิ ออกกำลัง ๆ ๆ ๆ)

^_,^

ผู้ร่วมเวทีมากันเป็นทีมพื้นที่ระดับอำเภอ

จากเมืองน่าน อุบลราชธานี อำเภอสูงเนิน โคราช อำเภอน้ำพอง บ้านฝาง ขอนแก่น

อำเภอศรีบุญเรือง นากลาง หนองบัวลำภู และพื้นที่เจ้าภาพจัดประชุม อำเภอกุมภวาปี และเมืองอุดรธานี

ส่วนใหญ่มีความแข็งแรงของการทำงานเป็นทีมทันตสาธารณสุขอยู่แล้ว

คราวนี้ เพิ่มเติมมาเป็นทีมสหวิชาชีพ วิชาชีพทางด้านสุขภาพ ที่กำลังขยายการทำงานกับกลุ่มคนพิการ

แม้ยังไม่ครบทุกสาขา แต่มาด้วยหัวใจของผู้ริเริ่ม ผู้นำการเปลี่ยนแปลง ฉายความกระตือรือร้นชัดเจน

อย่างน้อยหัวหน้าทุกทีม "ใจ" ถึงพร้อมอยากทำงาน พื้นที่มีความเข้มแข็งของระบบงานสุขภาพ ผลงานดีเยี่ยมมาก่อนทั้งนั้น

เพียงบางส่วนของสมาชิกทีม อาจจะคิดล่วงหน้าว่างานยาก สำหรับบางคนที่เพิ่งเริ่ม ....

ดังนั้น ปรับทัศนคติกันก่อนนะคะ

^_,^

ผู้เหนี่ยวนำ (Mentor) เลือกใช้แนวคิดการระดมจิตใจ (Mind storming) เป็นหลักในการออกแบบกิจกรรมเวทีวันแรก

เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภายใน ที่เข้าใจตัวเองมากขึ้น สร้างสัมพันธภาพกับคนอื่น จนเป็นเพื่อนกัน

และเชื่อมโยงตัวเองกับบรรยากาศรอบตัว

(เช่น ไปศึกษาผังเมือง ภูมิทัศน์ ภูมิประวัติฯ เมืองอุดรตอนย่ำค่ำ ตอนเช้า เป็นต้น)

ใช้ความรักกันฉันเพื่อนมนุษย์เป็นสิ่งเชื่อมสัมพันธ์ด้วยใจที่ดีงาม เมตตา เอื้ออาทร ปรารถนาดีต่อกัน

^_,^

ค่อย ๆ ให้ทำความรู้จักตัวเอง บอกเล่าให้คู่เพื่อน กลุ่มเล็ก ๆ ฟัง แลกเปลี่ยนเหตุการณ์ เรื่องราวความประทับใจในชีวิต

ใช้เวลาอยู่กับตัวเอง บันทึกความรู้สึกกับตัวเอง ความรู้สึกกับภายนอกอย่างไร

เข้าใจคนตรงหน้าเพิ่มขึ้น ย้อนเห็นตัวเองในเรื่องราวบางสิ่งของเพื่อน

ด้วยกติกาการฟังอย่างตั้งใจ ยังไม่ให้ถาม ฝึกทักษะการฟัง เรียนรู้ภาษากาย แววตา การรับรู้ผ่านใจ

รับรู้ความรู้สึกจากคนแปลกหน้า เรื่องราวกระทบใจหลายคน ตื้นตัน น้ำตาคลอ ....

ใช้กิจกรรมปิดตาขับรถค่อย ๆ สร้างความไว้วางใจ การเปลี่ยนบทบาทกัน ออกแบบการสื่อสาร

ดูคลิปดี ๆ สื่อการป็นผู้ให้และรับ อย่างมีความสุข เริ่มจากจุดเล็ก ๆ เช่นตัวเราเอง

^_,^

สิ้นสุดกิจกรรมวันแรก ที่ได้คุยเยอะก็สนิทเร็ว ยังไม่ได้คุยก็ทักทายยิ้มแย้มไปพลาง แต่ก็ถือว่าเป็นเพื่อนกันทั้งห้อง

ทีมที่ไม่ได้ขับรถมามีเพื่อนดูแลอย่างดี นั่งรถชมเมือง ศึกษางานหัตถกรรมพื้นบ้านที่นาข่า ศูนย์วัฒนธรรมไทย-จีน อุดรธานี ศาลเจ้าปู่ย่า

หาอาหารเย็นรับประทานด้วยกัน สร้างสัมพันธภาพต่อเนื่อง .... ใช่ว่าจะได้เพบเจอกันง่าย ๆ

กรรมดีแน่นอนที่เหวี่ยงให้พวกเรามาพบกัน

^_,^

วันสอง เนื้อหาความรู้ใหม่ ประสบการณ์ผู้เล่าเข้มข้น

แต่ผู้ร่วมเวทีสะท้อนว่า เข้าใจง่าย ได้พลังและแรงบันดาลใจต่องานและชีวิต

โปรดติดตามนะคะ

ขอบคุณค่ะ

^_,^

(ขอบคุณภาพสวยส่วนใหญ่จากพี่เมย์ สถาบันราชานุกูลนะคะ)

หมายเลขบันทึก: 585488เขียนเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2015 22:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2015 16:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เป็นโครงการที่ดีมากๆ นะครับ ที่จะช่วยเหลือผู้พิการครับ ต้องเข้มข้นทั้งงานเชิงรับและรุกนะครับพี่หมอ

ชอบสำนวน "กรรมดีแน่นอนที่เหวี่ยงให้พวกเรามาพบกัน" จ๊าบสุด

กับชอบภาพนี้

ตอนเด็กๆ ชั่วโมงวาดเขียน จะเริ่มด้วยวาดภูเขาสองลูก เติมพระอาทิตย์ ใส่นกบิน เติมกระท่อม เติมต้นไม้ ๕๕๕๕

พระอาทิตย์เป็นรูปหัวใจซะด้วย

สุดคลาสสิคจริงๆ

ค่ะคุณทิมดาบ ร่วมวางแผนเป็นทีมสหวิชาชีพ และกับภาคี หน่วยงานอื่น อปท. ที่เกี่ยวข้องนะคะ

รวมทั้ง เสริมสร้างศักยภาพคนพิการเองด้วยค่ะ

ขอบคุณค่ะพี่ Nui ใคร ๆ ก็ชอบความสุขในวัยเด็กกันนะคะ อิ อิ ^_,^

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท