​ความหมายของรายงานทางการวิจัย


ความหมายของรายงานทางการวิจัย

อาจารย์ สุภัชชา พันเลิศพาณิชย์

รายงานทางการวิจัยเป็นเอกสารที่เกี่ยวกับการค้นคว้าวิจัยที่เรียบเรียงขึ้นใหม่อย่างมีระบบ ระเบียบ เพื่อเสนอหลักการ แนวคิดวิธีการทำวิจัยและผลการวิจัยในเรื่องนั้น สำหรับผลการวิจัยมีหลายประเภท ซึ่งบางชนิดไม่มีผลการวิจัยแต่บางชนิดมีผลการวิจัย ที่เราเรียกว่า รายงานการวิจัย

รายงานวิจัยหมายถึงเอกสารที่ได้จากการศึกษาค้นคว้า เก็บรวบรวมข้อมูลมาวิเคราะห์แล้วสังเคราะห์เรียบเรียงใหม่ อย่างมีระบบตามหลักสากลนิยมโดยมีเนื้อหาสาระครบถ้วนสมบูรณ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้อ่านทราบว่า ใครทำอะไร ทำไมจึงทำ ทำอย่างไรเพื่อให้ได้ผลของคำตอบ

ประเภทของรายงานทางการวิจัยที่สำคัญอาจแบ่งได้ ๕ ประเภท ดังนี้

๑.เสนอโครงการวิจัย(Research Proposal) เป็นเรื่องของแผนงาน โครงการและกลวิธีการวิจัยที่มีการกำหนดไว้ล่วงหน้าเพื่อให้รู้ถึงประเด็นหรือปัญหาว่าทำไมทำวิจัยเรื่องนี้และสามารถหาคำตอบในประเด็นที่สงสัยได้อย่างไร

๒.สารนิพนธ์(Independent study report)เป็นรายงานการศึกษาอิสระมีลักษณะเป็นการทบทวนวรรณกรรม กรณีศึกษา หรือทำวิจัยในขอบเขตที่เฉพาะเจาะจง มีเนื้อหา สาระวิธีการเช่นเดียวกับวิธีการทำวิจัยและจัดทำรายงานขึ้นเพื่อเสนอเป็นส่วนหนึ่งของกการศึกษา

๓.วิทยานิพนธ์(Thesis) ดุษฎีนิพนธ์(Dissertatation)เป็นการวิจัยที่ดำเนินตามขั้นตอนระเบียบวิธีวิจัยเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญามหาบัณฑิตหรือดุษฎีบัณฑิต

๔รายงานการวิจัย(Research Paper of Report)เป็นรายงานที่มีการค้นคว้าเรียบเรียงอย่างเป็นระบบ มีเนื้อหาสาระ ละเอียด สมบูรณ์ พิมพ์เผยแพร่เป็นเล่มเฉพาะ

๕.บทความวิจัย(ResearchArticie) เป็นรายงานเชิงวิเคราะห์ มีลักษณะเป็นบทความที่สั้น กระชับ ชัดเจน มีเนื้อหาครบถ้วนสมบูรณ์ เพื่อเสนอผลงานที่ได้มาจากการค้นคว้าวิจัยและส่งพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร วิชาการ โดยทั่วไปจะกำหนดความยาวของเนื้อหา จำนวนตารางหรือภาพประกอบและนอกจากที่กล่าวมาข้างต้นยังมีรายงานวิจัยอีกบางประเภทคือ

๖.รายงานความก้าวหน้า(Progress report)เป็นรายงานที่จัดทำขึ้นหลังจากทำวิจัยไปแล้วส่วนหนึ่ง เป็นรายงานให้ผู้ให้ทุนสนับสนุนในการทำวิจัยทราบ ตามเงื่อนไขที่ตกลงไว้ การทำวิจัยแต่ละเรื่องจะมีเนื้อหาแตกต่างกันและการรายงานความก้าวหน้าอาจจะมีหลายฉบับก็ได้

๗.รายงานการทำวิจัยเบื้องต้น(Preliminary report)เป็นรายงานการวิจัยที่เสร็จสมบูรณ์แล้วแต่ต้องแก้ไขในบางส่วนและยังไม่ได้พิมพ์เผยแพร่หรือพิมพ์เผยแพร่เฉพาะกลุ่ม เช่นผู้เข้าร่วมประชุมสัมมนาทางวิชาการ

๘.รายงานสรุปผลการวิจัย(Summary report) เป็นรายงานที่นำเสนอเฉพาะส่วนที่เป็นสาระสำคัญเท่านั้นและมีเนื้อหาครบถ้วนสมบูรณ์มักใช้เป็นส่วนหนึ่งของรายงานการวิจัยวิทยานิพนธ์(Thesis) หรือดุษฎีนิพนธ์(Dissertatation)

๙.รายงานการวิจัยสำหรับผู้บริหาร(Report for executives)เป็นรายงานที่จัดทำขึ้นเพื่อผู้บริหารโดยเฉพาะจะไม่มีรายละเอียดการทำวิจัยแต่มีแต่หลักการและข้อสรุปของผลการทำวิจัยและข้อเสนอแนะเท่านั้น(หน้า๑๗-๒o)

หลักการเขียนรายงานทางการวิจัย

รายงานทางการวิจัยจะแตกต่างกันทั้งรูปแบบและวิธีเขียนจากการเขียนโดยทั่วไปเพราะว่าการเขียนรายงานทางการวิจัยต้องเขียนตามข้อเท็จจริงจากข้อมูลที่ได้มา นำมาวิเคราะห์และแปลความตามนั้นไม่เพิ่มเติมเสริมแต่งความคิดส่วนตัวของตนเองลงไป และในการเขียนต้องสั้น กระชับได้ใจความไม่ใช้ภาษาพูดหรือภาษานวนิยายแต่ต้องใช้ภาษาเขียนที่เป็นทางการ เข้าใจได้ง่าย ตรงประเด็น ถูกต้องตามเนื้อหาที่สัมพันธ์กันเชิงเหตุผลและมีหลักฐานการอ้างอิงอย่างถูกต้องตามระบบการเขียนเชิงอรรถและสิ่งสำคัญต้องคำนึงถึงผู้อ่านเป็นหลัก(หน้า๒๒-๒๔)

การใช้ภาษาในการเขียนรายงานวิจัย

นับว่าเป็นสิ่งสำคัญมากการใช้ภาษาต้องสละสลวย กระชับ เข้าใจได้ง่าย และมีความน่าสนใจ น่าติดตาม ดังนั้นการเขียนรายงานวิจัยควรยึดหลักการใช้ภาษา(ปรับเพิ่มเติมจาก ประวีณ ณ นคร ๒๕๑๕;๗-๓๑)คือต้องเขียนให้ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์เป็นประโยคสมบูรณ์ไม่ใช่เขียนเป็นประโยคลอยๆไม่มีความหมายหรือมีประโยคเหตุแต่ไม่มีประโยคผลตามมาแต่ละไว้ในฐานที่ให้ตีความเข้าใจเองอาจทำให้การตีความคาดเคลื่อนไม่ถูกต้องได้ มีเนื้อหาสาระสมบูรณ์ มีเหตุมีผล ลำดับความในการเขียนต่อเนื่องในเรื่องที่เขียนไม่เขียนออกนอกประเด็น มีการแบ่งวรรค ตอน ประโยค และย่อหน้าอย่างถูกต้องและใช้ถ้อยคำที่สุภาพอ่านแล้วลื่นไหลไม่ติดขัดโดยเฉพาะตอนเขียนข้อเสนอแนะในการวิจัยทำให้เกิดความคิดคล้อยตาม การเขียนจึงต้องอ้างอิงหลักฐานที่ตรวจสอบได้ทำให้งานวิจัยมีความน่าเชื่อถือ(หน้า๒๖-๒๘)

ขอขอบคุณแหล่งที่มาคะ

(คู่มือการวิจัย การเขียนรายงานการวิจัยและวิทยานิพนธ์ ศ.บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์ ฉบับปรับปรุงครั้งที่๑o โรงพิมพ์เรือนแก้ว ๒๕๕๓)

หมายเลขบันทึก: 585486เขียนเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2015 22:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2015 22:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท