บทสรุปการเรียนรู้เรื่อง การพัฒนาบุคลากรเพื่อเข้าสู่อาเซียน สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 5 จังหวัดนครราชสีมา


เหตุผล/ ความเป็นมา

กรมควบคุมโรคได้จัดทำ แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาข้าราชการกรมควบคุมโรค พ.ศ. 2557-2561 โดยกำหนดเป็นยุทธศาสตร์ที่ 4 เสริมสร้างศักยภาพข้าราชการให้มีความพร้อมในการปฏิบัติงานในบริบทของอาเซียน มีเป้าประสงค์การพัฒนาคือ บุคลากรสามารถประสานความร่วมมือระหว่างประเทศ โดยมีกลยุทธ์การพัฒนาคือ เตรียมความพร้อมของบุคลากรกรมควบคุมโรคเพื่อประสานความร่วมมือระหว่างประเทศ และ สคร.5 ได้มีการทบทวนและคัดเลือกหัวข้อความรู้สำคัญของหน่วยงานที่ต้องดำเนินการเร่งด่วน เพื่อกำหนดเป็นโจทย์ในการนำมาจัดการความรู้อย่างน้อย 3 เรื่อง (ตัวชี้วัดที่ 9 ระดับความสำเร็จของการจัดการความรู้ของหน่วยงาน) คณะทำงานการจัดการความรู้ (KM Team) สคร.5 จึงได้กำหนดให้มีการจัดการความรู้เรื่อง การพัฒนาบุคลากรเพื่อเข้าสู่อาเซียน สอดคล้องตามประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 6 การพัฒนาคุณภาพระบบบริหารจัดการองค์กรและบุคลากรให้มีขีดสมรรถนะสูงได้มาตรฐานสากล จึงได้มีการจัดทำแผนการพัฒนาบุคลากรเพื่อเข้าสู่อาเซียน ที่สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาข้าราชการกรมควบคุมโรค พ.ศ.2557-2561

โครงการและบริบทของโครงการ

การพัฒนาบุคลากรเพื่อเข้าสู่อาเซียน ประกอบด้วย การเรียนรู้วัฒนธรรมอาเซียนประเทศที่เกี่ยวข้อง ในบริบทของกรมควบคุมโรค ที่เกี่ยวข้องกับโรคและภัยสุขภาพ ได้แก่ สุขภาวะ สถานการณ์โรค ผลงานวิจัย วัฒนธรรมความเป็นอยู่ ของประเทศอาเซียน (เน้น ลาว เขมร พม่า) ตาม 11 บทบาทของ National Health Authority เน้น 3 เรื่องดังนี้

(1) พัฒนาระบบกลไกการเฝ้าระวังโรคและภัยสุขภาพ ตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน

(2) สร้างและจัดการความรู้ด้านสุขภาพ

(3) พัฒนาข้อมูลข่าวสารให้เป็นระบบเดียว มีคุณภาพใช้งานได้

และการพัฒนาทักษะด้านภาษาต่างประเทศ ซึ่งกิจกรรมประกอบด้วย การประชุมวางแผนการพัฒนาบุคลากรเพื่อเข้าสู่อาเซียนและพิจารณารูปแบบการพัฒนาที่เหมาะสม จัดทำแผนการพัฒนาบุคลากรเพื่อเข้าสู่อาเซียน การเสนอและสื่อสารรูปแบบการพัฒนาบุคลากรเพื่อเข้าสู่อาเซียนที่หลากหลายช่องทาง การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (ตามแผนพัฒนาฯ) และถอดบทเรียน เสนอผู้บริหาร เพื่อเผยแพร่ในหน่วยงานและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง

วัตถุประสงค์

เพื่อให้บุคลากรของกรมควบคุมโรคมีความรู้ ความสามารถในการดำเนินงานและประสานงานเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคระหว่างประเทศ เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ

ผลผลิต

มีการดำเนินงานตามแผนการพัฒนาบุคลากรเพื่อเข้าสู่อาเซียน

เป้าหมาย

ข้าราชการ/พนักงานราชการ อย่างน้อยกลุ่มงานละ 1 คน

ผลการดำเนินงาน

มีการประชุมวางแผนการพัฒนาบุคลากรเพื่อเข้าสู่อาเซียน วันที่ 22 มกราคม 2557 ณ ห้องประชุมชั้น 1 สคร.5 เพื่อจัดทำแผนการพัฒนาบุคลากรเพื่อเข้าสู่อาเซียน

เสนอแผนการพัฒนาบุคลากรเพื่อเข้าสู่อาเซียน ในที่ประชุมคณะกรรมการบริหารงานบุคคล สคร.5 ครั้งที่ 2/2557 วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2557 ณ ห้องประชุมชั้น 3 สคร.5 และเผยแพร่ผ่านช่องทางต่างๆ


มีการดำเนินการตามแผนการพัฒนาบุคลากรเพื่อเข้าสู่อาเซียน ดังนี้

(1) การนำเสนอภาษาอังกฤษ ในการประชุมผู้บริหาร, E-mail, Facebook, Line

(2) จัดแหล่งเรียนรู้ ASEAN ในห้องสมุด

(3) เสริมสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ ได้แก่ รายการเสียงตามสายภาษา/ความรู้อาเซียน จัดบอร์ดอาเซียน/ASEAN Way และ Facebook "ODPC5: ASEAN Club" เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ได้แก่ บอร์ดอาเซียน ในห้องสมุด สคร.5 จัดบูธอาเซียน ในงานตลาดนัดความรู้ สคร.5 (วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2557 ณ โรงแรมโคราชโฮเต็ล จังหวัดนครราชสีมา) จัดบูธอาเซียน ที่อาคาร สคร.5 (กุมภาพันธ์ 2557) จัดบูธอาเซียน ในงานสรุปบทเรียนผลการขับเคลื่อนงานแก้ไขปัญหาโรคและภัยสุขภาพผ่านกลไกอำเภอควบคุมโรคเข้มแข็งแบบยั่งยืน ปี 2557 "สุขภาพดี เริ่มต้นที่นี่ DHS & DCCD" (วันที่ 4 – 6 มีนาคม 2557 ณ โรงแรมปัญจดารา อ.เมือง จ.นครราชสีมา) มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ใน Facebook "ODPC5: ASEAN club" (เริ่มพฤศจิกายน 2556)

(4) เปิดคลิปวิดีโอวัฒนธรรม/ ภาษาอาเซียน (ก่อนการประชุม)

(5) พัฒนาสมรรถนะด้าน IT เพื่อใช้ในการช่วยฝึกภาษาอังกฤษ ได้แก่ การค้นคว้าแหล่งเรียนรู้ E-Learning ชุมชนนักปฏิบัติ (CoPs) ชมรม IT (ทุกบ่ายวันศุกร์) ได้แก่ การแต่งภาพและทำโปสเตอร์ (วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2557) Mind Mapper ชมรม IT (วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2557) E-Learning (วันที่ 28 มีนาคม 2557) Info graphic & Idea Management (วันที่ 8-9 กรกฎาคม 2557)

(6) จัดทำเว็บเพจ สคร.5 ภาษาอังกฤษ และเผยแพร่ข้อมูล ASEAN ที่เกี่ยวข้อง

(7) ชุมชนนักปฏิบัติ (CoPs) "พัฒนาบุคลากรสู่อาเซียน"ได้แก่ ASEAN language club (วันที่ 8 พฤศจิกายน 2556) ชุมชนนักปฏิบัติการพัฒนาบุคลากรเพื่อเข้าสู่อาเซียน (วันที่ 19 มิถุนายน 2557, 18 กรกฎาคม 2557, 29 สิงหาคม 2557)

(8) การฝึกปฏิบัติจริง เช่น หลักสูตรอบรมภาษา ร่วมรับต่างชาติดูงาน การใช้งานในพื้นที่ การศึกษาดูงาน

บทสรุปการเรียนรู้

(วันที่ 18 กรกฎาคม 2557 และวันที่ 29 สิงหาคม 2557 ณ ห้องประชุมชั้น 3 สคร.5 นครราชสีมา)

แพทย์หญิงผลิน กมลวัทน์ รองผู้อำนวยการ สคร.5 ประธานการประชุม กล่าวถึงอาเซียน ดังนี้

1.AEC การร่วมมือทางเศรษฐกิจ การเคลื่อนย้ายเสรี กรมควบคุมโรค ต้องคัดกรองโรค หาเครื่องมือคัดกรอง (Surveillance) ชายแดนไทยติดกับเขมร

2.การจัด CoP ฝึกภาษาอังกฤษ เป็นแรงกระตุ้นช่วยการพัฒนา ดูกระบวนการกิจกรรมที่แต่ละคนทำ ควรฝึกจาก You tube เช่น Voice of America, BBC News อย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ชั่วโมง ฟังและเรียนรู้ศัพท์ ให้ความสำคัญในการพัฒนาเน้นภาษาอังกฤษและ IT

3.แผนงานที่ทำต้องเกี่ยวกับการเฝ้าระวังโรค และพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ภาษาอังกฤษ ภาษาเขมร การวางแผนพัฒนา Talent Group ตามหลักสูตร และพัฒนาตนเอง

คุณนิ่มนวล ปุณยหทัยพงศ์ หัวหน้ากลุ่มพัฒนาองค์กร สคร.5 กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการประชุมเพื่อพัฒนาบุคลากรให้เตรียมพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงสู่อาเซียน "We are Change. We can do it."

ชุมชนนักปฏิบัติการพัฒนาบุคลากรเพื่อเข้าสู่อาเซียน มีการดำเนินกิจกรรมดังนี้

1.ดูคลิปเพลง The same sun เพื่อเรียนรู้การทักทายด้ายภาษาของประเทศอาเซียน

2.ผู้เข้าร่วมกิจกรรม แนะนำตัวของแต่ละประเทศ (มีเอกสารประกอบ)

3.สถานการณ์การติดเชื้อไวรัสโคโรน่าไวรัส สายพันธุ์ใหม่ 2012 (MERS-CoV) โดย คุณลักขณา สีนวลแล กลุ่มระบาดวิทยา มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ดังนี้

(1)ประเทศเพื่อบ้านที่เกิด Case มาเลเซีย ฟิลิปปินส์

(2)ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ใน Journal Club แล้ว เกี่ยวกับการเฝ้าระวังและสังเกตการณ์ระบาด

(3)แพทย์หญิงผลิน รองผู้อำนวยการ สคร.5 ให้เฝ้าระวังและเรียนรู้เรื่อง อีโบล่า

4.เรียนรู้การสนทนาภาษาอังกฤษจาก Clip You tube ในสถานการณ์ต่างๆ

แพทย์หญิงผลิน รองผู้อำนวยการ สคร.5 แนะนำให้เรียนรู้จาก You tube เช่น Voice of America ตัวอย่าง "Health Report VOA Learning English" ควรฟังอย่างน้อย 3 ครั้ง เริ่มจากฟังและอ่านข้างล่างไปด้วยกัน เรียนรู้คำศัพท์ แล้วฟังอย่างเดียว ฝึกการออกเสียง

ผู้เข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้จากการเข้าร่วม "ชุมชนนักปฏิบัติการพัฒนาบุคลากรเพื่อเข้าสู่อาเซียน" และข้อเสนอแนะในการประชุมครั้งต่อไป ดังนี้

1.แพทย์หญิงผลิน รองผู้อำนวยการ สคร.5 แสดงความเห็นว่า ควรมีการแบ่งกลุ่มพัฒนา เช่น นักวิชาการ และ Back office และใช้แบบทดสอบของกรมวิเทศ ให้รู้วิธีการพัฒนาตนเอง เช่น การค้นหาข้อมูลเพื่อฝึกเรียนรู้ เช่น แสดงละครภาษาอังกฤษ

2.คุณสุชัญญา หัวหน้ากลุ่มพัฒนาวิชาการ แสดงความเห็นว่า เห็นด้วยในการแบ่งกลุ่มผู้เรียนรู้ แต่กลุ่มนักวิชาการอาจเข้าร่วมได้น้อย เนื่องจากติดประชุม/ไปราชการ (เสริมสร้างจิตสำนึก)

-คุณนิ่มนวล หัวหน้ากลุ่มพัฒนาองค์กร กล่าวว่าในการประชุมมีคนเข้าร่วมกิจกรรมมาก/น้อยต่างกัน และไม่สามารถควบคุมได้

- ที่ประชุมเสนอให้ หารือในการประชุมหัวหน้ากลุ่มหรือกรรมการบริหาร

3.คุณญาดา กลุ่มพัฒนาวิชาการ แสดงความเห็นว่า ในการประชุมครั้งนี้ได้บรรยากาศสำหรับการฝึกและมีรูปแบบสนุกสนาน ซึ่งอาจเหมาะสำหรับ Back office หรือผู้ที่เริ่มต้น และถ้าเป็นนักวิชาการ ควรใช้เวที Journal Club และรู้ศัพท์ที่เกี่ยวข้อง/จำเป็นต้องใช้

4.คุณอรณิชา กลุ่มแผนงานและประเมินผล แสดงความเห็นว่า ชอบการจัดแบบนี้ได้ประโยชน์ มีความรู้มากขึ้น ได้ใช้ในชีวิตประจำวัน ใช้ในการสื่อสาร โดยเสนอให้แบ่งผู้เรียนรู้เป็น 2 กลุ่ม (นักวิชาการ และ Back office)

5.คุณอรสา กลุ่มบริหารทั่วไป แสดงความเห็นว่า ชอบบรรยากาศที่ไม่เคร่งเครียด และเสริมด้วยภาษา

6.คุณนงค์นุช งานโรคจากการประกอบอาชีพฯ แสดงความเห็นว่า ไม่ค่อยได้มีโอกาสเข้าร่วมพัฒนา ซึ่งในการเข้าร่วมกิจกรรมนี้ได้รับความรู้ ชอบการเรียนรู้แบบอาจารย์ประชาสรรค์

7.คุณพีระพล กลุ่มบริหารทั่วไป แสดงความเห็นว่า AEC จัดแบบนี้ดี ไม่เครียดมาก มีความเอื้ออาทร มีความสมดุล ควรเปิดกว้างให้เข้าร่วมกิจกรรมได้ทุกกลุ่มทั้งวิชาการและ Back office ซึ่งได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันดี เพื่อให้สคร.5 มีความเก่งคน เก่งงาน กลมกลืน

8.คุณพัชราภร งานเภสัชกรรม แสดงความเห็นว่า มีช่องทางเรียนรู้ด้านภาษาที่หลากหลาย และต้องไปฝึกตนเอง

มีการสรุปผลการดำเนินงานให้ผู้อำนวยการ ผู้บริหาร และบุคลากร สคร.5 รับทราบ ทาง Line และ Facebook

หมายเลขบันทึก: 585005เขียนเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2015 15:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2015 15:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท