ม.ฝรั่งเศส พยากรณ์ ประเทศไหนเสี่ยงฝนแล้ง-น้ำท่วม


แผนที่: พยากรณ์ประเทศ "บัวแล้งน้ำ (สีแดง)" มีลักษณะคล้าย "เข็มขัด (belt)" จากอาฟริกาเหนือ-ตะวันออกกลาง-เอเชียใต้ส่วนใหญ่-ครึ่งบนของจีน และ อาฟริกาใต้ ทำให้มีโอกาสเกิด สงครามแย่งชิงน้ำสูงขึ้น

.

แผนที่: แสดงความเสี่ยงภัยฝนแล้ง-น้ำท่วม จาก ทีมวิจัย มหาวิทยาลัยนอตเตรอดาม ฝรั่งเศส

สีเขียวเข้มดีกว่า เขียวจาง - เขียวเหลือง - เหลือง - ส้ม - ส้มแดง/แสด - แดง ตามลำดับ

.

ประเทศที่เสี่ยงน้อย คือ ยุโรป โดยเฉพาะยุโรปเหนือ - รัสเซีย - แคนาดา - สหรัฐอเมริกา - ญี่ปุ่น - ออสเตรเลีย - นิวซีแลนด์

หรือ ประเทศที่พัฒนาแล้ว อยู่ในเขตอบอุ่น (ไม่ร้อน)

......................................................

ประเทศที่เสี่ยงมาก คือ อาฟริกา ใต้ต่อทะเลทรายซะฮารา โดยเฉพาะ ประเทศที่ไม่ติดทะเล

การอยู่ไกลจากทะเล เสี่ยงฝนทิ้งช่วงมาก และ ยากจนกว่า ประเทศที่อยู่ติดทะเล

อัฟกานิสถาน และประเทศรอบๆ ในเอเชียใต้ เสี่ยงมากเช่นกัน

.

ความเสี่ยงนี้ รวมความเสี่ยงตามธรรมชาติ และ ความไม่พร้อมของประเทศ

เช่น ประเทศรวย จะเสี่ยงน้อยกว่า ประเทศยากจน

เนื่องจาก การจัดสรรน้ำ จะใช้เงินมาก

เช่น ซาอุดี อาระเบีย ทำน้ำจืดจากน้ำทะเล ฯลฯ

......................................................

ตาราง: คะแนนความเสี่ยง ยิ่งสูงยิ่งดี ยิ่งต่ำยิ่งเสี่ยง [ ND-GAIN ]

อิสราเอล กับ ซาอุฯ เสี่ยงน้อย

เพราะ ค่อนข้างรวย ทำน้ำจืดจากน้ำทะเลได้

และ อิสราเอล มีระบบเก็บน้ำใช้แล้ว มารีไซเคิล ทำน้ำจืดใหม่ ตั้งแต่ปี 1967/2510

.

กลุ่มประเทศอาเซียน มีคะแนนเรียงจากดีมาก ไปหาดีน้อย คือ

สิงคโปร์ - มาเลเซีย - ไทย - อินโดนีเซีย - เวียดนาม - ฟิลิปปินส์ - กัมพูชา - ลาว - พม่า

......................................................

......................................................

ทีมวิจัย มองประเทศไทยว่า

มีจุดอ่อนใหญ่ 3 เรื่องได้แก่

(1). ความสามารถในการสำรองน้ำจืด (dam capacity)

การสำรองน้ำ อาจทำโดยการทำเขื่อน อ่างเก็บน้ำ หรือ เก็บน้ำในรูปแบบต่างๆ

.

เช่น สิงคโปร์ ทำอ่างเก็บน้ำฝน-น้ำรีไซเคิล ใต้ถนน

ประเทศไทย ยังไม่มี แหล่งสำรองน้ำกระจายไปทั่วไทย

เช่น ไม่มีอ่างเก็บน้ำ ระดับตำบล-หมู่บ้าน

......................................................

(2). บุคลากร สาธารณสุข-สุขภาพ มีไม่พอ

ประเทศไทย มีสัดส่วน หมอ-พยาบาล-หมอฟัน ต่อประชากร ต่ำ

.

เรื่องนี้ สอดคล้องกับสถิติของธนาคารโลก

เพราะ เมื่อเกิดภัยพิบัติ เช่น ฝนแล้ง น้ำท่วม น้ำขัง

มักจะมี โรคระบาดเพิ่ม

และ สัดส่วนคนสูงอายุ-โรคเรื้อรัง ก็เพิ่มเช่นกัน

......................................................

(3). การมีส่วนร่วมใน การประชุม-วิจัย-พัฒนา ด้านสิ่งแวดล้อม ต่ำ

การส่งคนไปร่วมประชุม ดูงาน หรือ ไปเที่ยวเกือบฟรี คงจะช่วยได้น้อย

ที่สำคัญ คือ ต้องลงมือทำ

เช่น วิจัย-พัฒนา การเก็บสำรองน้ำ-รีไซเคิลน้ำ-ป้องกันน้ำท่วม

ลงมือส่งเสริม พลังงานทางเลือก โดย เริ่มที่การผลิตไฟฟ้า

ลงมือทำด้วย เก็บข้อมูลไปร่วมประชุมด้วย

......................................................

แผนที่: ประเทศที่เปราะบางต่อ ภาวะโลกร้อน-ฝนแล้ง-น้ำท่วม

บังคลาเทศกับลาวเสี่ยงที่สุด

รองลงไปเป็น พม่า - กัมพูชา - เนปาล - ภูฏาน

บังลา อยู่ใกล้ระดับน้ำทะเล เสี่ยงน้ำทะเลท่วม รุกเข้าแม่น้ำลำคลอง

ลาว มีน้ำมากใกล้แม่น้ำโขง ส่วนอื่นจะขาดน้ำ

.

ขอแสดงความชื่นชม ทีมวิจัย มหาวิทยาลัยนอตเตรอดาม ฝรั่งเศส

ที่ กรุณา มอบผลงานวิจัยนี้ ให้สาธารณะ

ถึงตรงนี้... ขอให้ทุกๆท่าน มีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

......................................................

From > http://index.gain.org/ranking

From > http://www.businessinsider.com/climate-change-infographic-2015-1

From > https://www.youtube.com/watch?v=4j7gb0hIQpo

......................................................

หมายเลขบันทึก: 584984เขียนเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2015 12:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2015 12:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท