งานวิจัยกับคำว่า...วรรณกรรม.......


ทำไมต้องทบทวนวรรณกรรม

งานวิจัยกับคำว่า...วรรณกรรม...

อาจารย์สุภัชชา พันเลิศพาริชย์

สิ่งที่เป็นแนวทางทำให้งานวิจัยประสบผลสำเร็จคือที่มาของข้อมูลที่ได้มากเอกสารและวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยซึ่งได้มาจากตำรา หนังสือ เอกสารอ้างอิง รายงานการวิจัย บทคัดย่อการวิจัย วารสาร จุลสารและ บทความวิชาการที่มีเนื้อหาสอดคล้องกับงานวิจัยที่ตนเองดำเนินการอยู่ การที่นักวิจัยได้ศึกษา ค้นคว้า อ่านอย่างละเอียด ทบทวนทำความเข้าใจแล้วลงมือเขียนเรียบเรียงตามความเข้าใจตนเองจะทำให้ผู้วิจัยรู้ทิศทางการทำการวิจัยและเป็นประโยชน์ในการทำวิจัยในบทอื่นๆต่อไป

ความหมายคำว่าวรรณกรรม

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน หมายถึง งานนิพนธ์ที่ทำขึ้นทุกชนิดเช่น หนังสือ จุลสาร สิ่งที่เขียน สิ่งพิมพ์ ปาฐกถา เทศนา คำปราศรัย สุนทรพจน์และรวมถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ด้วย(๑)

สิทธา พินิจภูวดลและคณะให้ความหมายว่าหมายถึงงานเขียนในรูปแบบบทกวีนิพนธ์ ร้อยกรอง และข้อเขียนทั้งหมดที่ใช้ในภาษาร้อยแก้ว ได้แก่ เรื่องสั้น เรียงความ บทความ สารคดี บทละคร บทโทรทัศน์ บทภาพยนตร์ ตลอดจนคอลัมภ์ต่างๆในหนังสือพิมพ์(๒)

สรุปคำว่า วรรณกรรมหมายถึงเอกสาร แนวคิดทฤษฎี ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ผู้วิจัยกำลังศึกษาค้นคว้าอยู่ซึ่งมีอยู่ใน หนังสือ ตำรา บทความ เอกสารอ้างอิง บทคัดย่องานวิจัย นิตยสาร วารสารและจุลสารที่อยู่ในรูปสื่อสิ่งพิมพ์รวมถึงรูปแบบสื่อทางอินเตอร์เน็ทและข้อมูลที่ได้มาสามารถทำให้ผู้วิจัยมีแนวทาง กำหนดกรอบความคิดทำให้ผู้วิจัยไม่หลงประเด็นทำให้ผลการวิจัยมีประสิทธิภาพสมบูรณ์แบบ

หลักสำคัญคำว่า การทบทวนวรรณกรรม

ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญในการทำวิจัยโดยเฉพาะถ้าเป็นเรื่องเกี่ยวกับทางวิชาการในการเสนอแนวคิดทฤษฎีกับหัวข้อเรื่อง ผู้วิจัยจะต้องมีความรู้และความเชี่ยวชาญในเรื่องที่ทำอยู่แล้วหรือเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องในสาขาการสอนงานของตนเองเพราะว่าการได้ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อเรื่อง ที่ตนเองมีความถนัด ความสนใจจะทำให้งานวิจัย มีคุณภาพ(หน้า๖๑)

ทำไมต้องทบทวนวรรณกรรม

สาเหตุที่เราต้องทบทวนวรรณกรรมก่อนลงมือทำวิจัยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ ๑.ทำให้ทราบข่อเท็จจริงในเรื่องที่ศึกษาอยู่ว่าเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับอะไรบ้าง ๒.นำมาวางกรอบการวิจัยและเป็นแนวทางในการตั้งสมมุติฐาน ๓.ป้องกันในการทำวิจัยซ้ำกับผู้อื่น ๔.รู้แนวทางเทคนิคในการทำวิจัยในการศึกษาประชากรเพื่อเป็นกลุ่มตัวอย่าง รวมถึงเทคนิคการสร้างแบบสอบถาม การวิเคราะห์ให้เหมาะสมกับงานวิจัยที่ตนศึกษาอยู่ ๕.ช่วยในการอภิปรายผลแปลความหมายให้ถูกต้องสมบูรณ์๖.ทำให้รู้ถึงปัญหาอุปสรรคในการทำวิจัยในอดีตและหาทางแก้ไขข้อบกพร่องทำให้ออกแบบการวิจัยได้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น๓.

ความสำคัญของการทบทวนวรรณกรรม

๑.เป็นเครื่องมือเชื่อมโยงความรู้ทางวิชาการ ระหว่างงานวิจัย และข้อความรู้ในอดีตกับงานวิจัยที่กำลังทำ

๒.เป็นบทสรุปสังเคราะห์องค์ความรู้ทั้งมวลในเรื่องที่กำลังทำ

๓.เป็นเครื่องมือในการแสวงหาวิธีวิจัยที่มีคุณภาพ

๔.เป็นเครื่องมือบ่งชี้คุณภาพของงานวิจัย เช่น ไม่ซ้ำซ้อน หรือ มีการเสริมสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ

๕.เป็นการลงทุนทางวิชาการของนักวิจัย

๖.เป็นหลักฐานประกันความสำเร็จของงานวิจัย กล่าวคือ มีความรู้จริงในเรื่องที่จะทำ (๔)

วัตถุประสงค์ของการทบทวนวรรณกรรม

โดยทั่วไปนักวิจัยจะทำการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องเพื่อวัตถุประสงค์สำคัญ ดังนี้

๑. เพื่อศึกษาแนวคิดพื้นฐานเชิงทฤษฎีที่มีความเกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะทำการวิจัย การที่ผู้วิจัยได้มีโอกาสศึกษาแนวคิด (Concept) ทฤษฎี (Theory) และเอกสารงานวิจัยตลอดจนตำราวิชาการต่างๆ เพื่อที่ผู้วิจัยจะได้ทำความเข้าใจหลักการ แนวคิด ทฤษฎี และเหตุผลที่สำคัญของเรื่องที่ต้องการศึกษามากขึ้น และทำให้เข้าใจตัวแปรที่เคยมีการศึกษาวิจัยได้อย่างละเอียด รู้ว่าตัวแปรชนิดใดมีความสำคัญมากน้อยเพียงใดและมีความสัมพันธ์กันอย่างไร เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการกำหนดกรอบแนวคิด (Conceptual framework) หรือ กรอบทฤษฎี (Theory framework) และจะนำไปสู่การตั้งสมมติฐานการวิจัยต่อไป

๒. เพื่อกำหนดกรอบแนวคิดในการวิจัย (Conceptual framework) หมายถึง ชุดตัวแปรสำคัญในการวิจัยเชิงปริมาณ (quantitative major variables) หรือชุด Typology ที่หมายถึงรูปแบบ (pattern) สิ่งที่จำแนก (category) / เรื่องราวหรือประเด็นหลัก (theme)ที่ถูกกำหนดขึ้น(analyst-constructed typology) เพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ

๓. เพื่อศึกษาพัฒนาเครื่องมือและตัวแปรที่เหมาะสม การทบทวนวรรณกรรมทำให้ผู้วิจัยทราบถึงชนิดของเครื่องมือที่เหมาะสมที่จะใช้วัดตัวแปร โดยมีศึกษาวิธีการสร้างเครื่องมือ ขั้นตอนในการสร้างเครื่องมือ ตลอดจนผลการใช้เครื่องมือแต่ละชนิดในงานวิจัยอื่นๆที่เกี่ยวข้องหรือใกล้เคียงงานวิจัยของตน ทำให้ผู้วิจัยสามารถตัดสินใจเลือกวิธีการสร้างพัฒนาเครื่องมือที่เหมาะสมกับงานวิจัยของตนได้

๔. นำมาออกแบบการวิจัย จากการเปรียบเทียบระเบียบวิธีการวิจัยกับข้อค้นพบของงานวิจัยที่มีอยู่เดิมว่า มีความสัมพันธ์กันอย่างไร มีจุดอ่อน จุดแข็ง อุปสรรคและโอกาสอย่างไรต่อข้อค้นพบนั้น และนำข้อสรุปดังกล่าวมาปรับปรุงแก้ไข เพื่อกำหนดวิธีการวิจัยในเรื่องที่ต้องการศึกษาได้

๕. เพื่อช่วยในการอภิปรายผล และแปลความหมายของผลการวิจัย ผู้วิจัยสามารถอภิปรายผลและแปลความหมายของผลการวิจัยได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้นและในการนำผลการวิจัยที่ได้มาเขียนอภิปรายผลหรือแปลความหมายจะต้องมีแนวคิด ทฤษฎีหรือผลงานวิจัยครั้งก่อนมารองรับ และเปรียบเทียบว่าข้อค้นพบที่ได้จากการวิจัยในครั้งนี้แตกต่างหรือคล้ายกับทฤษฎี และผลงานวิจัยที่ค้นคว้ามาแต่ต้นหรือไม่ เพราะเหตุใด และทำไมถึงเป็นเช่นนั้น

๖. เพื่อทราบปัญหาและอุปสรรคของการดำเนินงานวิจัย การทบทวนวรรณกรรมทาให้ผู้วิจัยเข้าใจบริบทของปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในการทาวิจัย จุดอ่อน จุดแข็ง ช่องว่างหรือขีดจากัดของการวิจัย ซึ่งจะทำให้ผู้วิจัยต้องใช้ความระมัดระวังในการทำวิจัยเพิ่มขึ้น และพยายามหลีกเลี่ยงปัญหาที่จะเกิดขึ้นกับการดำเนินการวิจัยของตน และพยายามหาวิธีการป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสมต่อไป

๗.การทบทวนวรรณกรรมถือได้ว่าเป็นการสะท้อนศักยภาพของผู้วิจัยว่าสามารถเก็บรวบรวมข้อมูล ประมวลผล (organize) หรือแปลผลข้อมูลต่างๆ ได้ดีเพียงใด การเขียนงานทบทวนวรรณกรรมที่ดีต้องสามารถเชื่อมโยงผลงานเหล่านั้นเข้ากับโครงการวิจัยให้เห็นชัดเจน(๕.)

สรุป ในการทบทวนวรรณกรรมเหมือนการที่เรามีเข็มทิศหรือแผนผังในการทำวิจัยทำให้ผู้วิจัย ไม่หลงทาง เสียเวลา และประหยัดงบประมาณรวมถึงทำให้ทราบว่างานวิจัยใดมีผู้อื่นทำไว้แล้วทำให้ไปเกิดความซ้ำซ้อนแต่ถ้ามีการทำซ้ำเกิดขึ้นแต่ประเด็นรายละเอียดนั้นต่างกันจะทำให้ได้ข้อมูลเชิงลึก เห็นที่สิ่งที่งานวิจัยเรื่องนั้นมีความหมายซ่อนอยู่แต่ยังไม่ศึกษา ทำให้งานวิจัยมีคุณค่าสมบูรณ์แบบยิ่งขึ้นและเกิดองค์ความรู้ใหม่ที่น่าสนใจ

ประเภทวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง

แบ่งออกได้ดังนี้ คือ ๑.หนังสือเกี่ยวกับหลักการแนวคิด ทฤษฎี ๒.หนังสืออ้างอิงเช่น จดหมายเหตุ สารานุกรม พจนานุกรม พระราชกฤษฎีกา เป็นต้น ๓.บทความเชิงวิชาการที่มีอยู่ในวารสารและจุลสารที่จะออกทุกๆ๓เดือนหรือ๖เดือน รายชื่อวารสารต่างๆในประเทศไทยสามารถหาได้จากห้องสมุดที่รวบรวมรายชื่อวารสารทั้งหมดที่ตีพิมพ์ในประเทศไทยโดยใช้ชื่อว่า หนังสือรวมรายชื่อวารสารในประเทศไทย๔.ข่าวสารซึ่งอยู่ในรูปแบบบทความสั้นๆที่มีข้อมูลน่าเชื่อถือ๕.หนังสือพิมพ์ที่ผู้วิจัยต้องอ่านอย่างวิเคราะห์คำนึงถึงความน่าเชื่อถือและประโยชน์ของข้อมูลในภาพกว้างแล้วค่อยตีกรอบเลือกเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่กำลังศึกษาค้นคว้าอยู่๖.เอกสารรายงานฉบับสมบูรณ์ ๗.เอกสารที่ได้จากการอบรมสัมมนาที่ค้นหาได้จากกอินเทอร์เน็ทและจากเอกสารที่แจกที่เราได้เข้าร่วมการอบรม สัมมนาและเรื่องนั้นเกี่ยวข้องกับงานวิจัยที่กำลังดำเนินการอยู่ ๘.วิทยานิพนธ์ในหลักสูตรปริญญาโทและปริญญาเอกระดับอุดมศึกษา๙.สารนิพนธ์เป็นรายงานฉบับย่อของนิสิตนักศึกษาที่ใช้ประกอบการเรียนการสอนระดับอุดมศึกษา ๑o.เอกสารสิ่งพิมพ์อื่นๆเช่น คำสั่ง รายงานการประชุม หนังสือเวียน รายงานประจำปี ๑๑.ไมโครฟิล์ม และจดหมายเหตุแห่งชาติ ๑๒.ฐานข้อมูลที่แบ่งเป็น๑.ฐานข้อมูลในรูปแบบบรรณานุกรม๒ฐานข้อมูลเชิงตัวเลขและฐานข้อมูลแบบเต็ม๑๓.ระบบเครือข่าย ทางเทคโนโลยี่การสื่อสาร คอมพิวเตอร์ระบบสารสนเทศ โดยเฉพาะระบบHytelnet บริการฐานข้อมูลหรือขอค้นหนังสือในห้องสมุดผ่านเครือข่าย(๖)

..........................................................................................................................................

ขอบคุณแหล่งที่มาคะ

(๑.ราชบัณฑิยสถาน, พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิยสถาน พ.ศ.๒๕๕๒,(กรุงเทพมหรนคร;นานมีบุ๊คพับลิเคชั่นส์, ๒๕๕๖),หน้า๑o๕๔.(๑.๑ผศ.ดร.สุรพล สุยะพรม นางสาวสุทธิรัก ศรีจันทร์เพ็ญ ระเบียบวิธีวิจัยทางการจัดการ มหาจุฬาบรรณาคาร พิมพ์ครั้งที่๑ ๒๕๕๓ หน้า๕๗,๕๙)

(๒.สิทธา พินิจภูวดลและคณะ,ความรู้ทั่วไปทางวรรณกรรมไทย (กรุงเทพมหานคร ;มหาวิทยาลัยรามคำแหง,๒๕๑๕),

(๒.๑ผศ.ดร.สุรพล สุยะพรม นางสาวสุทธิรัก ศรีจันทร์เพ็ญ ระเบียบวิธีวิจัยทางการจัดการ มหาจุฬาบรรณาคาร พิมพ์ครั้งที่๑ ๒๕๕๓หน้า๓๕)

(๓.ผศ.ดร.สุรพล สุยะพรม นางสาวสุทธิรัก ศรีจันทร์เพ็ญ ระเบียบวิธีวิจัยทางการจัดการ มหาจุฬาบรรณาคาร พิมพ์ครั้งที่๑ ๒๕๕๓หน้า ๕๙-๖o)

๔.๑การทบทวนวรรณกรรม, ดร.สุธีระ ประเสริฐสรรพ์ )

(๔.๒การทบทวนวรรณกรรมสำหรับนักวิจัย, นพ.เฉวตสรร นามวาท)

(๔.๓การทบทวนวรรณกรรมในการวิจัย, นิรมล เมืองโสม)

(๔.๔การทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง, รศ.ดร.ดุษฎี โยเหลา)

(๔.๕การวิเคราะห์อภิมาน, นงลักษณ์ วิรัชชัย)

(๕.การทบทวนวรรณกรรมในงานวิจัยทางสังคมศาสตร์ พระครูสังฆรักษ์เกียรติศักดิ์ กิตฺติปญฺโ, ดร.๒๕๕๗หน้า๓)

(๖.ผศ.ดร.สุรพล สุยะพรม นางสาวสุทธิรัก ศรีจันทร์เพ็ญ ระเบียบวิธีวิจัยทางการจัดการ มหาจุฬาบรรณาคาร พิมพ์ครั้งที่๑ ๒๕๕๓หน้า๖๒-๖๔)

หมายเลขบันทึก: 584982เขียนเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2015 12:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2015 12:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท