RG..Empowerment in chronic illness


RG Empowerment

แบบรายงานความก้าวหน้าของโครงการวิจัยประเภทกลุ่มวิจัย ครั้งที่ 1

คณะแพทยศาสตร์ ประจำปีงบประมาณเงินรายได้ 2556 รอบ 3

โครงการวิจัย เรื่อง การเสริมพลังอำนาจในผู้ป่วยเรื้อรัง เลขที่โครงการ RG56301

วันที่ 20 พฤศจิกายน 2557

หัวหน้ากลุ่ม นางอุบล จ๋วงพานิช สังกัดภาควิชา /หน่วยงาน งานบริการพยาบาล

ชื่อโครงการ การเสริมพลังอำนาจในผู้ป่วยเรื้อรังEmpowerment in chronic illness patients

—ได้รับการจัดสรรทุนวิจัยประจำปีงบประมาณ 2556

รายงานผลความก้าวหน้าของการวิจัย ครั้งที่ 1

ระหว่างเดือน1 มีนาคม 2557 ถึง พฤศจิกายน 2557

รายละเอียดของโครงการวิจัย

กลุ่มวิจัยการเสริมพลังอำนาจในผู้ป่วยเรื้อรัง จัดตั้งขึ้นเป็นความร่วมมือของแพทย์ อาจารย์คณะพยาบาล มหาวิทยาลัยขอนแก่นและบุคลากรทางการพยาบาลในแผนกการพยาบาลต่างๆ ที่รับผิดชอบดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง ทั้งแผนกการพยาบาลบำบัดพิเศษที่ดูแลผู้ป่วยมะเร็งผู้ใหญ่ แผนกการพยาบาลอายุรกรรมที่ดูแลผู้ป่วยระบบหัวใจและหลอดเลือดและอื่นๆ แผนกการพยาบาลอุบัติเหตุและฉุกเฉิน ที่ดูแลผู้ป่วยเรื้อรังในระยะโรคกำเริบ (Exacerbation) นอกจากนี้ยังร่วมดูแลกับพยาบาลผู้เชี่ยวชาญทางคลินิก ซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง (Advanced practice nurses) และ Case manager ที่รับผิดชอบดูแลผู้ป่วยเฉพาะทางหรือเป็นผู้ดูแลโดยตรงกับกลุ่มผู้ป่วยเรื้อรังที่มีปัญหาซับซ้อน เป้าหมาย เพื่อให้การนำการเสริมพลังอำนาจในผู้ป่วยโรคเรื้อรังมาใช้ในการดูแลผู้ป่วยอย่างเป็นรูปธรรม

มีทีมวิจัยย่อยมี 7 กลุ่ม ประกอบด้วย

1.กลุ่มผู้ป่วยมะเร็งผู้ใหญ่

2.กลุ่มผู้ป่วยมะเร็งเด็กและมะเร็งเด็กไทรอยด์

3.กลุ่มผู้ป่วยเอดส์

4.กลุ่มผู้ป่วยเบาหวาน

5.กลุ่มผู้ป่วยหัวใจและหลอดเลือด

6.กลุ่มผู้ป่วยปลูกถ่ายไต

7.กลุ่มผู้ป่วยไตเรื้อรัง

วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัย

1. เป็นเวทีแลกเปลี่ยนความรู้ในเรื่อง การเสริมพลังอำนาจในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง

2. ศึกษาทบทวนองค์ความรู้และหลักฐานเชิงประจักษ์เกี่ยวกับการเสริมพลังอำนาจในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง

3. สร้างองค์ความรู้จากงานวิจัยไปใช้ในการป้องกันโรคและการสร้างเสริมสุขภาวะ ตลอดจนพัฒนาพฤติกรรมในการดูแลตนเองและพัฒนาคุณภาพชีวิตกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง

ตัวชี้วัดเมื่อสิ้นสุดปีที่ 3

1. ได้ Manuscript ที่พร้อมส่งตีพิมพ์ไม่น้อยกว่า 1 เรื่อง

  • อุบล จ๋วงพานิช จุรีพร อุ่นบุญเรือน จันทราพร ลุนลุด อาทิตยา ประนัดสุดจ่าและทิพวรรณ ขรรศร. ศึกษาประสิทธิผลการกดจุดด้วยตนเองและใช้สายรัดข้อมือเพื่อป้องกันอาการคลื่นไส้อาเจียนในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด.วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2557; 32 ( 2) :107-114.

2. มีโครงการวิจัยที่ส่งขอทุนภายนอก 1 เรื่อง

ได้รับทุนวิจัย คือ โครงการวิจัยสถาบัน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจำปีงบประมาณ 2557

2.1 การติดตามผลแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อลดอัตราการเกิดหลอดเลือดดำส่วนปลาย
อักเสบในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด

2.2 การประเมินผลการใช้โปรแกรมการวางแผนการจำหน่ายโดยการมีส่วนร่วมของผู้ป่วยและครอบครัวต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและมาตามนัดในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด

2.3 การติดตามผลแนวปฏิบัติการพยาบาลการออกกำลังกายแบบแอโรบิคเพื่อลดอาการชาในผู้ป่วยมะเร็งปอดที่ได้รับยาเคมีบำบัดสูตร Taxol และ Carboplatin

2.4 การศึกษาสมรรถนะของพยาบาลที่ดูแลผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด

3. ยื่นขอจัดตั้งกลุ่มวิจัยหรือศูนย์วิจัยเฉพาะทาง มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ขอจัดตั้งเมื่อสิ้นสุดโครงการวิจัยฯ คือ กลุ่มวิจัย การเสริมพลังอำนาจในผู้ป่วยเรื้อรัง

นำเสนอผลงานวิจัยระดับนานาชาติ วิชาการ "International Conferenceon "Research for Social Devotion"In Commemoration of the 50thAnniversaryof Khon Kaen University, Thailand" ระหว่างวันที่ 22-23 มกราคม 2558 ...................

บัดนี้ทำมา 3 ปีแล้ว ต้องขอบคุณสมาชิกกลุ่มวิจัยทุกท่านเป็นอย่างมาก

แก้ว

1 กุมภาพันธ์ 2558

คำสำคัญ (Tags): #apn#research group#empowerment
หมายเลขบันทึก: 584867เขียนเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2015 06:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2015 07:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท