ถอดบทเรียนการเรียนวิชาสัมมนา


การเรียนของชั้นปีที่ 4 เทอม2 เป็นปีที่เข้มข้น อาจารย์เน้นให้เราหาความรู้ใหม่ด้วยตนเองนอกจากจะหาความรู้ใหม่แล้วเราต้องสามารเลือกแหล่งความรู้ที่น่าเชื่อถือ สามารถวิเคราะห์ข้อมูลจากแหล่งต่างๆ และนำมาปรับระยุกต์ใช้กับบริบทไทยได้ ซึ่งกลุ่มของเราได้รวบรวมความรู้เกี่ยวกับ Fracture

จากบทความต่างประเทศ ดังนี้

-การรักษาในผู้ป่วย Distal Radius Fracture จะทราบว่ามีวิธีการดามแบบใดบ้าง เช่น percutaneous fixation with Kirschner wires, external bridging or nonbridging fixation ที่มีบางส่วนที่เป็นโลหะภายนอกร่างกาย และ Plate fixation ที่เป็นการดามด้วย Plate และ น๊อตอยู่ภายใน สังเกตไม่เห็น หรือการใส่เฝือก นอกจากนั้นยังได้ทราบถึงหลากหลายปัจจัยที่ส่งผลต่อระยะเวลาการรักษาตัวของผู้ป่วยว่าระยะที่เหมาะสมกับการรักษา คือ เราควรใส่เฝือกเป็นเวลา 18 สัปดาห์ หากเรามีการนำผ่าตัดนำ Plate ออกจะเกิดผลเสียทั้ง รู้สึกไม่สะดวกสบายข้อมือ มีอาการเจ็บมากขึ้น และ ความพึงพอใจในความสามารถในการใช้มือลดลงอีกด้วย สำหรับระยะเวลาในการรักษาที่เหมาะสมหลังถอดเฝือก เราควรคงหรือเพิ่มช่วงการเคลื่อนไหว เพิ่มแรงการบีบมือ ลดอาการปวดบวมได้เร็วที่สุดทันทีหลังได้รับบาดเจ็บ อาการเจ็บจะดีขึ้นใน 6 เดือน ช่วงความเคลื่อนไหวจะเพิ่มขึ้นใน 12 เดือน ส่วนกำลังในการบีบมือจะดีขึ้นใน 6-12 เดือน ขึ้นกับอายุของผู้รับบริการ ส่วนการเริ่มในกิจกรรม Hand function หลังถอดเฝือก 6 สัปดาห์ สุดท้ายความสามารถและความพึงพอใจในความสามารถในการใช้มือจะดีขึ้นได้ใน 24 สัปดาห์
และความรู้เพิ่มเติมจากอาจารย์และเพื่อนๆคือการทำ PROM Exercise สามารถช่วยลดอาการบวมได้ผ่านกระบวนการ Muscle pumping และกระบวนการการรักษาที่ควรจะเป็นที่ได้จากการอภิปรายกันท้ายการนำเสนอ คือ Immobilization >> Decrease Edema >> ROM exercise >> Scar management >> เพิ่มกำลังกล้ามเนื้อมือ >> Hand function >> Hand Dexterity >> ADL

-ผู้รับบริการที่Fracture หรือกระดูกหัก ซึ่งจะพบภาวะ Edema หรืออาการบวมเข้ามาร่วมด้วย และบทบาทหนึ่งของนักกิจกรรมบำบัดในการบำบัดฟื้นฟูในขั้นต้นๆ เลยคือการลดบวม เพราะอาการบวมจะส่งผลถึงPain(ปวด) Limit ROM (จำกัดการเคลื่อนไหว) พร้อมทั้งส่งผลต่อการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต ในทางกิจกรรมบำบัดก็จะมีวิธีการจัดการกับภาวะการบวมอยู่แล้วเช่น การจัดท่าขณะพัก หรือการmassage ทั่วไป โดยการศึกษาข้อมูลจากวารสารทางสื่อinternet นั้น จึงพบถึงวิธีการใหม่ที่จะสามารถลดภาวะการบวมได้เร็วยิ่งขึ้น ชื่อว่า mMEM หรือ modified Manual Edema Mobilization วิธีการนี้จะเป็นการลดบวมอีกวิธีหนึ่งโดยใช้การmassage เฉพาะจุดเป็นรูปตัว "U" และมีการนวดจากส่วนต้นไปส่วนปลาย และนวดกลับจากส่วนปลายไปต้น แตกต่างจากแบบปกติ ซึ่งนวดจากส่วนปลายไปต้นอย่างเดียววิธีการนี้จะใช้เวลาในการบำบัดฟื้นฟูที่น้อยกว่า หรือพูดง่ายๆ คือ หายบวมได้เร็วขึ้น แต่ในฐานะนักศึกษากิจกรรมบำบัด นี่เป็นองค์ความรู้ใหม่ซึ่งอาจจะนำไปปรับประยุกต์ใช้ได้อีกทีในอนาคต แต่ก็ขึ้นอยู่กับการที่เราจะต้องไปอบรมเพื่อให้รู้จักวิธีการนี้อย่างแน่ชัดเพื่อนำมากลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

คนไข้ Fracture ระยะแรกในบางรายเมื่อ x-ray แล้วพบว่า กระดูกร้าว อาจมีการใส่ Splint เพื่อเป็นการจำกัดการเคลื่อนไหวของข้อที่บาดเจ็บ เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนและเป็นระยะที่รอให้กระดูกมีการเชื่อมติดกัน ตัวอย่าง เช่น Humeral fracture splint ช่วยในการประคองแขนในส่วนที่หักไม่ให้มีการเคลื่อนไหวในระยะแรกที่รอการซ่อมแซมของกระดูก Sugar tong splint ช่วยในการจำกัดการเคลื่อนไหวของ Proximal radius fracture ซึ่งในการศึกษาเรื่อง Effectiveness of Splinting for the Treatment of Trigger Finger ของ Julie Colbourn และคณะ ได้เรียนรู้ในเรื่องการใช้ Splint ในการรักษา คนไข้ Trigger Finger ซึ่งใน Journal จะเป็นการศึกษาการใช้ Splint ที่ใช้ custom thermoplastic splinting เพื่อจำกัดการเคลื่อนไหวของ MCP joint โดยการวัดผลโดยใช้ Stage of Stenosing Tenosynovitis (SST) ซึ่งผลจากการศึกษาพบว่าผู้ป่วยที่สวมใส่ Splint และออกกำลังกายด้วย ทำให้ลดระดับความรุนแรงของโรคลง และนอกจากนั้น Pain scale ก็ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญด้วย

-การใช้ tactile stimulation มาเป็นการรักษาก่อนในผู้ป่วยที่มีปัญหา loss sensation เนื่องจากการให้ tactile stimulation เป็นกระบวนการเกี่ยวกับ somatosensory plasticity ซึ่งจะทำให้สมองของผู้ป่วยเกิดการ re-organization เกี่ยวกับการรับความรู้สึกแบบสัมผัส และแรงกดได้ และอาจจะรวมถึงการรับรู้ขนาด รูปร่าง และผิวสัมผัสของอุปกรณ์ต่างๆที่นำมาใช้ในการรักษาได้ ซึ่งถ้าผู้ป่วยขาดการกระบวนการรับความรู้สึกเหล่านี้ไป จะทำให้เกิดความยากลำบากในการทำกิจวัตรประจำวัตร หรือกิจกรรมต่างๆได้

-รู้บทบาทหน้าที่ใหม่ เดิมOT มักจะเน้นฝึกHand หรือฝึกในส่วนของ Upper Ex. แต่ในบทความนี้ทำให้เห็นบทบาทนักOT ในผู้ป่่วย Hip fracture ซึ่งส่วนใหญ่มักมีเพียงนักกายภาพบำบัดเท่านั้นที่เป็นผู้บำบัด และยังเปรียบเทียบให้เห็นข้อแตกต่างของการฝึกของ PT และ OT ว่าให้ผลที่แตกต่างกันอย่างไรในระยะเวลาที่เท่ากัน นอกจากนี้ยังชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นของการประคับประคองจิตใจ (Phycho-support ) จากผู้ดูแลและผู้บำบัดด้วยว่า มีส่วนช่วยให้คนไข้สามารถกลับมาทำกิจกรรมต่างๆได้อย่างอิสระได้เร็วขึ้น

Reference :

Birgit Hagsten1, Olle Svensson3 and Ann Gardulf4. Early individualized postoperative occupational therapy training in 100 patients improves ADL after hip fracture A randomized trial. Acta Orthop Scand. 2004;75(2):177-83.

Cheng, A. S.-K. (2000). Use of Early tactile stimulation in Rehabilitation of digital Nerve Injuries. 159-164

Colbourn Julie HN, Manary Sherry and Pacifico Denette. Effectiveness of Splinting for the Treatment of Trigger Finger.journal of hand therapy. 2008;Scientific/clinical acticle:336-43.

หมายเลขบันทึก: 584808เขียนเมื่อ 30 มกราคม 2015 12:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 มกราคม 2015 12:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท