การบริหารการเปลี่ยนแปลง


การเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่จำเป็นในระบบการนำองค์กร เป็นการมุ่งสู่สิ่งที่ดีกว่า เพื่อที่เราจะได้นำผลลัพธ์ที่ดีที่สุดเพื่อบุคลากรและผู้ป่วย

การบริหารการเปลี่ยนแปลง

Overcoming Résistance to Change

พันเอก มารวย ส่งทานินทร์

[email protected]

27 มกราคม 2558

บทความเรื่อง การบริหารการเปลี่ยนแปลง (Overcoming Résistance to Change) นำมาจากสรุปการบรรยายของ Quint Studer, BA., MS., ผู้ก่อตั้ง Studer Group เป็นตอนที่ 2 จากทั้งหมด 6 ตอน ของชุด Leadership Series

ผู้ที่สนใจเอกสารแบบ PowerPoint (PDF file) สามารถ Download ได้ที่ http://www.slideshare.net/maruay/leadership-series-2-of-6-overcoming-resistance-to-change

สิ่งแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

  • เรามีชีวิตและทำงานอยู่ในห้วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมที่รวดเร็วทั้งจากภายในและภายนอก
  • ในการปรับปรุงพัฒนางานด้านกระบวนการดูแลรักษาผู้ป่วยให้ดีที่สุด จำเป็นต้องพึ่งพาอาศัยเครื่องมือ และเทคโนโลยีที่ทันสมัย
  • ทำให้บุคลากรสายแพทย์ต้องมีการปรับตัวให้เข้ากับวิธีการใหม่ ๆ ในการให้บริการกับผู้ป่วย

การเป็นผู้นำในด้านการให้บริการทางสุขภาพเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายนัก

  • บุคลากรส่วนมากไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง การต่อต้านการเปลี่ยนแปลงจึงเป็นเรื่องปกติในองค์กร ดังนั้น หน้าที่ของผู้นำคือ การช่วยบุคลากรให้สามารถปรับตัวต่อสภาวการณ์ที่ยากลำบาก ("unsettled" feeling ) เหล่านั้น
  • ในขั้นแรก ผู้นำควรทำความเข้าใจเรื่องความสามารถในการปรับตัว ให้เข้ากับการดำรงชีวิต หรือการทำงานของบุคคลที่มี 4 ขั้นตอน

ระยะของการเปลี่ยนแปลง

  • ระยะแรก ไม่รู้เรื่องและไม่ชำนาญ Phase one: Unconsciously unskilled (incompetent) – เนื่องจากยังใหม่ต่อหน้าที่หรือกระบวนการ
  • ระยะที่สอง รู้เรื่องแต่ยังไม่ชำนาญ Phase two: Consciously unskilled (incompetent) – เริ่มเข้าใจว่าจะต้องปฏิบัติอย่างไรจึงจะทำได้สำเร็จ
  • ระยะที่สาม รู้เรื่องและชำนาญแต่ยังไม่แน่ใจ Phase three: Consciously skilled (competent) – ปฏิบัติเป็นแต่ต้องคอยตรวจสอบเป็นระยะ
  • ระยะที่สี่ รู้เรื่องและทำได้ชำนาญจนเป็นปกติวิสัย Phase four: Unconsciously skilled (competent) – ทำเป็นกิจวัตร

หน้าที่ของผู้นำที่มีต่อบุคลากร

  • เมื่อมีการเปลี่ยนแปลง ต้องมีการปรับตัวทั้งผู้นำและบุคลากร
  • ผู้นำจึงมีหน้าที่ส่งเสริมการเปลี่ยนแปลง
  • ความสำเร็จในการปฏิบัติหน้าที่ของผู้นำ คือ นำการเปลี่ยนแปลงมาสู่องค์กรเป็นระยะ ๆ

การเอาชนะต่อแรงต้านการเปลี่ยนแปลง

  • การเปลี่ยนแปลงอาจนำไปสู่ความไม่สะดวกในระยะแรกของการปรับตัว
  • เช่น การที่จะให้แพทย์ที่มีผลงานดี เปลี่ยนวิธีจากการจดบันทึกผลการรักษา มาเป็นใช้วิธีบันทึกการแพทย์แบบอิเล็คโทรนิค (electronic medical records) อาจจะได้รับปฏิกิริยาตอบสนองในทางปฏิเสธ ไม่ใช่เพราะแพทย์ต่อต้าน แต่เป็นเพราะเขายังไม่เห็นประโยชน์ และคุณขอให้เขาเปลี่ยนแปลงในสิ่งที่เขาทำได้ดีอยู่แล้วนั่นเอง

การเปลี่ยนแปลงนำมาสู่สิ่งที่ดีกว่า

  • เมื่อดูจากระยะการเปลี่ยนผ่าน 4 ขั้นตอน จะเห็นได้ว่าคุณกำลังขอร้องให้แพทย์เปลี่ยนจากสิ่งที่เขาทำเป็นกิจวัตร มาเป็นสิ่งใหม่ที่เขายังไม่รู้เรื่องและยังไม่ชำนาญ
  • วิธีลดความวิตกกังวลคือ ให้อธิบายว่า ผลลัพธ์ของการปรับเปลี่ยนนั้นจะดีกว่าเดิมอย่างไร
  • ซึ่งเป็นเหตุผลว่า เพราะเหตุใด บุคลากรจึงจะยินยอมปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลง

การเปลี่ยนแปลงต้องอาศัยเวลา

  • โปรดระลึกไว้ว่า ต้องทำบ่อย ๆ เป็นนิจศีลจึงจะบังเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล
  • การเปลี่ยนแปลงต้องใช้เวลา หกเดือนแรกเป็นช่วงที่ลำบากที่สุด เพราะมีแรงต้านมาก หกเดือนถัดมาจึงจะค่อยทุเลาขึ้นแต่ยังมีแรงต้านบ้าง
  • เมื่อผ่านไปถึงปีที่สอง ทุกคนจะไม่รู้สึกว่าเกิดการเปลี่ยนแปลง แต่นี่คือวิถีที่เราปฏิบัติ

สรุป

  • การเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่จำเป็นในระบบการนำองค์กร เป็นการมุ่งสู่สิ่งที่ดีกว่า เพื่อที่เราจะได้นำผลลัพธ์ที่ดีที่สุดเพื่อบุคลากรและผู้ป่วย

***********************

หมายเลขบันทึก: 584632เขียนเมื่อ 27 มกราคม 2015 13:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 มกราคม 2015 13:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท