รู้เรา รู้เขา ใจเขา ใจเรา


การคิดถึงใจเขา เอามาใส่ใจเรา เป็นเรียนหนึ่งที่มีความสำคัญในการทำงาน และสอดคล้องกับคำว่า... การดูแล ดุจญาติมิตร.....

สวัสดีครับ

วันนี้ขอนำเสนอเรื่องที่เกิดในที่ทำงานของผมเอง

เมื่อไม่นานมานี้ทางภาควิชาได้ติดตั้งเครื่องเอกซเรย์ฟันทั้งปากและกะโหลกศีรษะระบบดิจิทัล มาใช้ในที่ทำงาน

เมื่อติดตั้งมีช่างมาสอนการทำงานของเครื่อง

สอนเฉพาะวิธีการใช้งานตามลำดับ 1,2,3... จนเสร็จสิ้นขบวนการ

แล้วช่างก็จากไป... (ไปทำงานของเค้าต่อ ที่อื่น)


ต่อมา

เมื่อมีผู้ป่วย เจ้าหน้าทีทำใช้งานตามขั้นตอนที่ช่าง สอน

ผู้ป่วยรายที่ 1 ... ทำการถ่ายภาพรังสี ได้ดี ไม่มีปัญหาอะไร

1 สัปดาห์ผ่านไป ยังไม่มีผู้ป่วย

เข้าสัปดาห์ที่ 2 มีผู้ป่วยมา 1 ราย

เปิดเครื่อง ตามขั้นตอนที่ช่าง แนะนำ ลำดับ 1,2... แต่ 3 เริ่มมีปัญหา

โทรสอบถามช่าง ว่าทำไม่ได้ในขั้นตอนที่ 3

ช่างแนะนำ ว่าต้องแก้ไข คือ .....

เราก็ทำตามที่ช่าง แนะนำ จนสามารถถ่ายภาพรังสีผู้ป่วยได้สำเร็จ


ข้อคิด

รู้เรา : ต้องรู้จักเครื่องมือใช้งานของเรา(ของหน่วยงาน) เรียนรู้แนวทางแก้ไข จดบันทึกไว้ แล้วควรมีการนำไปแลกเปลี่ยนร่วมกัน บอกเล่า บอกต่อ เพื่อให้ทีมงานคนอื่นๆได้เรียนรู้ซ้ำได้

โอกาสพัฒนา

จัดทำคู่มือ ขั้นตอนการใช้งาน

แฟ้มประวัติ การดูแลรักษา


รู้เขา : รู้ว่าเขา(ช่างและเครื่องมือ) เป็นอย่างไร

อะไรทำได้ อะไรทำไม่ได้

อะไรน่าบอก อะไรควรบอก อะไรต้องบอก

เมื่อมีอาการบกพร่อง ต้องแก้ไข 1,2,3... อย่างไร

ช่างมักจะสอนแต่... การใช้งาน

สำหรับ อาการบกพร่อง อาการชำรุด ข้อผิดพลาดของเครื่องในการทำงาน

มักไม่ค่อยกล่าวถึง (ควรขอหมายเลขที่ติดต่อ กรณีมีปัญหา ไว้ด้วย)


โอกาสพัฒนา

จัดทำคู่มือ แนวทางการแก้ไข ตามอาการต่างๆที่พบ


ผู้ป่วยรายที่ 3 ... เป็นผู้ป่วยสูงอายุ

โดยส่วนใหญ่การถ่ายภาพรังสีแบบนี้

มักจะให้ผู้ป่วยยืนถ่ายเอกซเรย์

เจ้าหน้าที่ ก็ทำการถ่ายภาพ

ปรากฏว่า....

ภาพไม่ชัดเจน มีบางส่วนของอวัยวะไม่ชัดเจน

เนื่องจากผู้ป่วย มีการขยับศีรษะและร่างกาย ระหว่างการถ่ายภาพ


ผมก็ ถามเจ้าหน้าที่ว่า...

ให้ผู้ป่วยนั่ง แล้วถ่ายภาพได้ คือไม่

ได้รับคำตอบว่า.... ช่าง สอนให้ถ่ายภาพแบบยืน



ผม งง?

จากนั้น ผม ก็ไปลากเก้าอี้เลื่อนมา

แล้วไปที่เครื่องเอกซเรย์

ปรับให้เครื่องเอกซเรย์เลื่อนต่ำลง



แล้ว... เชิญผู้ป่วยมานั่ง

เสนอแนะให้ เจ้าหน้าที่ ถ่ายภาพแบบนั่ง แทนการยืน

ผลปรากฏว่า...

คุณภาพของภาพที่ถ่ายแบบให้ผู้ป่วยนั่ง ดีกว่า การถ่ายภาพแบบที่ผู้ป่วยยืน


ใจเขา ใจเรา :

อย่า... ทำตามนั้นตอนเพียงอย่างเดียว ควรต้องรู้จักการประยุกต์ ศาสตร์+ศิลปะ

รู้เขา รู้ใจเขา รู้ธรรมชาติของผู้ป่วยสูงวัย

คิดว่าเค้าอาจจะไม่สะดวก ไม่สบาย ระหว่างการถ่ายภาพรังสี ยืนนานๆ ไม่ได้ และต้องสวมเสื้อตะกั่วป้องกันรังสี ต้องแบกรับน้ำหนัก เพิ่มขึ้นอีก (เค้าคงลำบาก คงเหนื่อย คงไม่สุขสบาย นะ) เฮอ...

การได้นั่ง มีอุปกรณ์ช่วยค้ำ ช่วยรองรับ ช่วยพยุง ช่วยให้สบาย เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยทำให้งานดีขึ้น


สรุป

การเรียนรู้ การทำความเข้าใจกับเครื่องมืือ เครื่องใช้ในการทำงานเป็นเรื่องสำคัญ

การซักถาม การฝึกทักษะ ในการใช้ครื่องมือมีความสำคัญ

การประยุกต์ศาสตร์+ศิลปะในการทำงาน เป็นเรื่องที่ต้องฝึกฝน เรียนรู้ สร้างเสริมประสบการณ์ให้บ่อยๆ

การคิดถึงใจเขา เอามาใส่ใจเรา เป็นเรียนหนึ่งที่มีความสำคัญในการทำงาน และสอดคล้องกับคำว่า... การดูแล ดุจญาติมิตร


หมายเลขบันทึก: 584538เขียนเมื่อ 26 มกราคม 2015 11:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 มกราคม 2015 11:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ต้องปรับให้เหมาะสมกับสภาพงานและคน

แต่ขำที่ได้รับการสอนมาแต่แบบยืนครับ

55555

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท