ถอดบทเรียนวิชาสัมมนา:การนำไปใช้ในวิชาชีพกิจกรรมบำบัด


กิจกรรมการดำเนินชีวิตในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง


ในการดำรงชีวิตประจำวันในหนึ่งวัน คนเราจำเป็นต้องมีสมดุลในการดำเนินชีวิต โดยสมดุลนั้นประกอบด้วย การทำงาน (Work) กิจกรรมยามว่าง (Leisure) การบำรุงรักษาตนเอง (Self maintenance) และการนอนหลับ (Sleep) ในผู้ป่วย เช่น ผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง ก็มีปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้สมดุลของการดำเนินชีวิตเปลี่ยนแปลงไป เช่น การที่ต้องเปลี่ยนงานมาอยู่ที่บ้านรักษาตัว ทำให้มีเวลาเพิ่มมากขึ้น และเพื่อที่จะทำให้ผู้ป่วยไม่เบื่อหน่ายในการดำรงชีวิต โดยนักกิจกรรมบำบัดในการมองผู้ป่วยหนึ่งคนจะมีการมองเป็นองค์รวม(Holistic) โดยไม่ได้มองแค่เพียงด้านร่างกาย แต่ยังรวมไปถึงการดูสภาพจิตใจ ความสนใจ แรงจูงใจในการทำกิจกรรมและสิ่งแวดล้อมต่างๆที่ส่งผลต่อการรักษา

เมื่อบุคคลหนึ่งกลายเป็นผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ทำให้มีการสูญเสียการทำงานของร่างกายมีการอ่อนแรงในครึ่งซีกใดซีกหนึ่ง มีปัญหาด้านความรู้ความเข้าใจและขาดแรงจูงใจในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต เป็นต้น โดยปัญหาเหล่านั้นส่งผลต่อการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต เช่น การอาบน้ำ แต่งตัว ทานอาหาร รวมไปถึงการทำกิจกรรมยามว่างและการทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นในสังคมอีกด้วย

สาเหตุของโรคหลอดเลือดสมอง

ในบางคนอาจจะมีการแตก ตีบหรือตันในส่วนใดส่วนหนึ่งในสมองจะส่งผลให้สมองซีกนั้นไม่สามารถใช้งานได้

    • หากเส้นเลือดในสมองแตก ตีบ หรือตันในสมองฝั่งซ้ายปัญหาที่พบส่วนใหญ่คือการวางแผนการเคลื่อนไหว
    • หากมีเส้นเลือดในสมองแตก ตีบ หรือตันในสมองฝั่งขวาจะเกิดปัญหาในด้านความรู้ความเข้าใจ เช่นผู้ป่วยในบางรายอาจมีปัญหาแยกแยะซ้าย ขวา หน้า หลัง หรืออาจจำขั้นตอนในการทำไม่ได้เป็นต้น

ดังนั้นนักกิจกรรมบำบัดควรเลือกวิธีการในการรักษาให้เหมาะสมกับประเภทของผู้รับบริการ จากในงานวิจัย ที่ได้ศึกษาค้นคว้ามาได้ทำการทดลองใช้เทคนิคและวิธีการสองอย่างในการฝึกผู้ป่วยแต่งตัว(Walker M, Sunderland A) คือ

    • วิธีการแรก (Functional approach)เป็นวิธีการปกติที่นักกิจกรรมบำบัดนิยมใช้ เช่น การสอนผู้ป่วยใส่เสื้อ โดยเริ่มใส่จากแขนข้างอ่อนแรกก่อน จากนั้นจึงใส่ในข้างที่ปกติ
    • วิธีการที่สอง (Neuropsychological approach)คือ การฝึกในด้านการรับรู้และความรู้ความเข้าใจ ประกอบกับการดัดแปลงเสื้อโดยมีสัญลักษณ์ให้ผู้รับบริการรับรู้ว่าด้านไหนคือด้านหน้าหรือด้านหลังของเสื้อ

โดย ผลสรุปก็คือในผู้ป่วยที่มีปัญหาในสมองฝั่งขวาถ้าหากได้รับการฝึกแบบวิธีการที่สองจะทำให้ผู้ป่วยอาการดีขึ้นมากกว่าการใช้วิธีการแรก

เมื่อสามารถทำกิจวัตรประจำวันขั้นพื้นฐานได้แล้วอีกสิ่งหนึ่งที่นักกิจกรรมบำบัดควรคำนึงถึงคือการทำกิจกรรมยามว่างของผู้ป่วยในผู้ป่วยหลอดเลือดสมองหรือสิ่งที่ผู้ป่วยต้องการที่จะทำ ก็มีปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้สมดุลของการดำเนินชีวิตเปลี่ยนแปลงไป เช่น การที่ต้องเปลี่ยนงานมาอยู่ที่บ้านรักษาตัว ทำให้มีเวลาเพิ่มมากขึ้น และเพื่อที่จะทำให้ผู้ป่วยไม่เบื่อหน่ายในการดำรงชีวิต

ในงานวิจัยที่ได้ศึกษาเป็นการทำการวิจัยเกี่ยวกับการทำ กิจกรรมยามว่าง(leisure) : กิจกรรมยามว่างในผู้ป่วยก่อนที่จะเป็นโรคหลอดเลือดสมอง ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นกิจกรรมที่ออกไปทำด้านนอกบ้าน และกิจกรรมที่มีส่วนร่วมกับสังคมเป็นส่วนในใหญ่ ตัวอย่างเช่น การเดินในสวนสาธารณะ การวิ่ง การทำสวน การขับรถ การไปเที่ยวต่างจังหวัด การเล่นกีฬา ออกดูหนังในโรงภาพยนตร์ เป็นต้น แต่หลังจากนั้นเมื่อเป็นโรคหลอดเลือดสมอง ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะเปลี่ยนเป็นกิจกรรมยามว่าง เป็นกิจกรรมที่ไม่ต้องได้ขยับเคลื่อนไหวร่างกายมากๆ แทนกิจกรรมเดิม เช่น การอ่านหนังสือ การดูโทรทัศน์ การฟังวิทยุ การคุยโทรศัพท์ การแชทกับเพื่อน การเล่นเกมหมากฮอต เป็นต้น(Clare O'Sullivan and Gill Chard)

เมื่อผู้ป่วยไม่สามารถทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตตามเดิมได้โดยนักกิจกรรมบำบัดก็จะมีหน้าที่ในการจัดการเกี่ยวกับกิจกรรมยามว่าง เช่น การวิเคราะห์กิจกรรม การให้ผู้ป่วยทำแบบประเมินความสนใจในกิจกรรมยามว่างเพื่อค้นหากิจกรรมที่ชอบ การปรับขั้นตอนในการทำกิจกรรมให้ง่ายหรือให้ยากขึ้น การให้คำปรึกษาแก่ญาติและผู้ป่วย รวมถึงการปรับสิ่งแวดล้อมในการทำกิจกรรม เป็นต้น

และเทคนิคอีกหนึ่งอย่างที่นักกิจกรรมบำบัดใช้ก็คือ เทคนิคการสงวนพลังงาน

เทคนิคสงวนพลังงานคือ การใช้พลังให้มีประสิทธิภาพ หรือการปรับกิจกรรมโดยการระบุหรือการพัฒนาของการปรับกิจกรรมผ่านการสังเคราะห์อย่างเป็นระบบของกิจกรรมที่ทำในชีวิตประจำวันที่สัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม โดยวิธีการที่ใช้เทคนิคดังกล่าว เช่นการปรับตำแหน่งของเครื่องมือ เฟอร์นิเจอร์ที่บ้านหรือที่ทำงาน การปรับท่าทางของร่างกาย หรือการมีช่วงเวลาพักระหว่างการทำกิจกรรมเป็นต้น เพื่อให้ผู้รับบริการสามารถทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตดังกล่าวได้

ยกตัวอย่างเช่น หากผู้รับบริการมีความทนทานในการทำกิจกรรมต่ำหรือทำกิจกรรมหนึ่งได้ไม่นานหรือล้าง่าย แต่มีอาชีพเป็นช่างไม้ วิธีการที่นำเทคนิคสงวนพลังงานมาใช้ เช่น

    • การตอกตะปูสามารถปรับมาใช้เครื่องมือไฟฟ้าแทนการตอกตะปูด้วยฆ้อน
    • การปรับตำแหน่งของเครื่องมืออุปกรณ์จากตำแหน่งสูงๆมาวางในระดับที่สามารถเอื้อมถึง
    • ทำกิจกรรมที่ต้องใช้แรงมากๆในเวลาตอนเช้า ส่วนงานที่ใช้แรงน้อยนำมาทำในตอนบ่าย
    • การทาสีอาจปรับมาเช่นเป็นอุปกรณ์สีพ่นแทนการทาสีด้วยตนเอง
    • มีช่วงพักในเวลางานก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ส่งเสริมให้ผู้รับบริการสามารถทำสิ่งที่ตอนเองต้องการได้สำเร็จ

เทคนิคดังกล่าวนี้สามารถใช้ได้กับผู้รับบริการทุกประเภท แต่ขึ้นอยู่กับพฤตินิสัยของผู้รับบริการดังกล่าวด้วยว่าเข้าใจหรือให้ความร่วมมือด้วยหรือไม่ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากรอยโรคก็ขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงก็ต้องนำมาพิจารณาอีกด้วย การสนับสนุนจากครอบครัวและสังคมก็เป็นสิ่งจำเป็นต่อการปรับกิจกรรมเพื่อให้สามารถใช้พลังงานของร่างกายของผู้รับบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตเพื่อให้ผู้ป่วยมีความสุขและมีคุณภาพชีวิตที่ดี

References

•Walker M, Sunderland A, Fletcher-Smith J, Drummond A, Logan P, Edmans J,The DRESS trial: a feasibility randomized controlled trial of a neuropsychological approach to dressing therapy for stroke inpatients,Clinical Rehabilitation.2011; 26(8):675–685

•Nicol A. Korner-Bitensky, Susan Sofer, Isabelle Gelinas, Barbara L. Mazer Evaluating Driving Potential in Persons With Stroke: A Survey of Occupational Therapy Practices. The American Journal of Occupational Therapy. 1998;10:52

•Clare O'Sullivan and Gill Chard. An exploration of participation in leisure activities post-stroke. Australian Occupational Therapy Journal 2010; 57: 159–166.

•Kathleen Matuska, Virgil Mathiowetz, Marcia Finlayson. Use and Perceived Effectiveness of Energy Conservation Strategies for Managing Multiple Sclerosis Fatigue. The American Journal of Occupational Therapy. 2007;61(1):62-8.

•Hanson, C. S., Nabavi, D., & Yuen, H. K. (2001). The effect of
sports on level of community integration as reported by persons with
spinal cord injury. American Journal of Occupational Therapy, 55, 332–338.


หมายเลขบันทึก: 584442เขียนเมื่อ 24 มกราคม 2015 12:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มกราคม 2015 12:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท